กระดูกสะโพกหัก พบบ่อยในอุบัติเหตุผู้สูงอายุหกล้ม โดยจะแสดงอาการปวดบริเวณสะโพก จนไม่สามารถลงน้ำหนักได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีรอยช้ำที่บริเวณต้นขา และปลายขาผิดรูป เช่น ขาสั้นลง และปลายเท้าหมุนออกด้านนอก ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม
วิธีการรักษากระดูกสะโพกหัก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งกระดูกหัก และการเคลื่อนของกระดูกที่หัก
- กระดูกคอสะโพกหัก (Femoral neck fracture)
- หากกระดูกไม่เคลื่อนที่ สามารถให้การรักษาด้วยการใส่สกรูเพื่อยึดกระดูก
- หากกระดูกมีการเคลื่อนจากตำแหน่งทั้งหมด จะทำการรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อเทียม (Joint replacement)
- กระดูกข้อสะโพกส่วนบนหัก (Intertrochanteric fracture) ตำแหน่งนี้ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกภายใน
การรักษากระดูกสะโพกหักนั้น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว หากต้องผ่าตัด (ผู้ป่วยที่ไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด) ควรทำการผ่าตัดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการทำกายภาพบำบัดการฝึกเดินและทรงตัว เพื่อฟื้นสภาพร่างกายให้ได้มากและเร็วที่สุด