โรคภัยไข้เจ็บสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากโรคประจำตัวทั่วๆ ไป อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้ว ภาวะปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบ ยังเป็นภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู หากไม่มีการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกวิธีอาจร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อในการะแสเลือด เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด
โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งมักเรียกง่ายๆ ว่า “ปอดบวม”
ขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรค อาจใช้เวลา 1-3 วัน ผู้สูงอายุมักมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด ไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หากเป็นนานกว่า 2-3 วัน โดยไข้ไม่ลด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา
ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เมื่อปีพ.ศ. 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากถึง 131,247 ราย เสียชีวิต 96 ราย โดยกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด
โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ
มักพบเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อปอดอักเสบสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยระดับความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี มีความต้านทานโรคต่ำ จึงมีความเสี่ยงเกิดความรุนแรงของโรคถึงขั้นเสียชีวิตมากที่สุด
ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อแต่ละชนิด ส่งผลให้ระยะเกิดโรคแตกต่างกัน เชื้อบางชนิดอาจเกิดภายในเวลาสั้นๆเพียง 1-3 วัน หรือบางชนิดอาจใช้เวลาฟักตัวนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากเริ่มป่วยเป็นไข้หวัด
หากพบว่าผู้ป่วย
โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยสูงอายุเริ่มมีอาการสับสนหรือซึมลง ทั้งๆ ที่ไข้ลดลง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อในปอด
แพทย์วินิจฉัยจากอาการและการตรวจร่างกาย โดยเริ่มต้นจากการซักประวัติ ตรวจชีพจร ตรวจออกซิเจนในเลือด และการหายใจ เนื่องจากปอดอักเสบจะมีการหายใจเร็วกว่าปกติ จากนั้นจึงส่งตรวจเอกซเรย์เพิ่มเติม เพื่อดูความผิดปกติในปอด ทั้งนี้อาจมีการเจาะเลือดร่วมด้วย
โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาได้ด้วยยาฆ่าเชื้อทั้งแบบรับประทานและการฉีดยา ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน สำหรับปอดที่ติดเชื้อไวรัสมักมีความรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาจึงพิจารณาตามอาการ โดยผู้ป่วยดูแลตัวเองให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และพักผ่อนอย่างพอเหมาะ หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวแพทย์อาจพิจารณาให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายสนิท เพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรง พร้อมกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ รวมถึงป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงวัย
สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว อาจติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าคนปกติ ดังนั้นหากพบว่าคนในครอบครัวเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรแยกผู้สูงอายุให้ปลอดภัย เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสกระทั่งเป็นปอดอักเสบได้
นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีภูมิต้านทานต่ำจากความเสื่อมสภาพทั่วไปของร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไตวาย หัวใจ ไขมันพอกตับ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ เช่น ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรือที่อันตรายที่สุด คือการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบส่วนใหญ่ คือ เชื้อเสตรปโตคอคคัส นิวโมนิเอ (Streptococcus pneumoniae) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เชื้อนิวโมคอคคัส ซึ่งมีมากกว่า 90 สายพันธุ์ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงอื่นๆ อาทิ ภาวะติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และติดเชื้อในกระแสเลือด โดยในปัจจุบันทางการแพทย์ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโม
ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน โดยในผู้สูงอายุที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมาก่อน ควรฉีด PCV13 หนึ่งเข็มก่อน จากนั้นอีก 12 เดือนค่อยฉีด PPSV23 สำหรับผู้ที่เคยฉีดวัคซีน PPSV23 มาก่อนแล้ว สามารถฉีด PCV13 ตามภายหลังได้โดยต้องฉีดห่างกันอย่างน้อยหนึ่งปี
นอกจากนี้ยังพบว่าวัคซีนสามารถครอบคลุมสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อ โรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสรุนแรงในประเทศ ไทยได้ประมาณ 70-78 % ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงปอดติดเชื้อรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ จึงควรฉีดวัคซีนนิวโมคอคคัสเช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่