ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายประการที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินบางอย่างมากขึ้น หรือมีความแตกต่างในการดูแล ความเปลี่ยนแปลงตามระบบต่างๆ ของผู้สูงอายุ มีดังนี้
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบประสาท
ระบบผิวหนัง กระดูกและกล้ามเนื้อ
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบภูมิคุ้มกัน
ภาวะฉุกเฉินคือภาวะที่ผู้สูงอายุได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน ต้องการการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน โดยภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมีดังนี้
ภาวะหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น พบได้มากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น นับเป็นภาวะฉุกเฉินที่แท้จริง เกิดจากการทำงานผิดปกติของร่างกาย ทำให้หัวใจไม่สามารถทำงาน หรือร่างกายไม่สามารถหายใจนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยอาจเกิดจากหัวใจทำงานผิดปกติ ทางเดินหายใจอุดกั้น อุบัติเหตุ เช่น จมน้ำ ไฟดูด การได้รับสารพิษ จะมีอาการ เช่น หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจหรือหายใจเฮือก
การช่วยเหลือ เมื่อผู้สูงอายุหมดสติ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ หัวใจมีการขาดเลือด หากทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรมาทับ อาจมีปวดร้าวไปกรามหรือแขน หายใจไม่สะดวก เหงื่อแตก ใจสั่น บางคนมีอาการขณะออกแรง เมื่อพักแล้วดีขึ้น
การดูแลเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีอาการขณะออกแรง ให้นั่งพัก งดการออกแรงหรือกิจกรรมต่าง ๆ ทันที หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจและแพทย์แนะนำให้ยาอมใต้ลิ้นเมื่อมีอาการ ให้อมยาอมใต้ลิ้น และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
การพลัดตกหกล้ม เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ อาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ความแข็งแรงของผู้สูงอายุ การมองเห็นที่ผิดปกติ การทรงตัวไม่ดี วูบ หน้ามืดจากความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปัจจัยภายนอก เช่น การวางของระเกะระกะ พื้นลื่น ไม่มีราวจับ แสงไฟที่ไม่สว่างเพียงพอ เป็นต้น
การดูแลเบื้องต้น ระวังอย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเองหากไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือไม่ ให้โทรขอความช่วยเหลือ และรอรถพยาบาลไปรับ หากไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง แต่สงสัยว่ามีกระดูกหักหรือเคลื่อน ให้ดามบริเวณที่ปวดและนำส่งโรงพยาบาล หากมีแผลให้ล้างแผลหรือใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้ก่อนนำส่งโรงพยาบาล
คือภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยที่มีภาวะถ่ายเหลวท้องเสียและไม่สามารถรับประทานอาหารได้ จะมีอาการมือสั่น ตัวสั่น ใจสั่น มึนงง เวียนศีรษะ หน้ามืด หากเป็นรุนแรงจะหมดสติ ซึม
การดูแลเบื้องต้น หากผู้ป่วยยังสามารถรับประทานได้ ให้ดื่มน้ำหวานหรืออาหารที่มีรสหวาน หากผู้ป่วยเริ่มซึม ห้ามให้รับประทานสิ่งใด เพราะอาจสำลักได้ ให้เรียกรถพยาบาลหรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถเกิดภาวะท้องเสียและอาหารเป็นพิษได้ง่าย โดยเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อโรค โดยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ในบางรายอาจมีมูกหรือเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อาจมีไข้ ปวดท้อง
การดูแลเบื้องต้น หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง ให้จิบน้ำและน้ำเกลือแร่และรับประทานอาหารอ่อนจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่ควรรับประทานยาหยุดถ่ายยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หากมีอาการรุนแรง เช่น เหนื่อยเพลียมาก กินไม่ได้ ซึมลง มีไข้สูง คลื่นไส้อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ควรนำส่งโรงพยาบาล
หากเกิดเหตุฉุกเฉินในผู้สูงอายุ โทร 1669 หรือ โทร 02-378-9191 ศูนย์ฉุกเฉินและภาวะวิกฤตผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่