แม้ว่าการออกกำลังกายส่วนใหญ่จะดีสำหรับร่างกาย แต่ไม่ใช่ว่าการออกกำลังกายทุกประเภทจะดีต่อกระดูก การออกกำลังกายที่ดีต่อกระดูกจะต้องเป็นการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลกและสร้างแรงกดที่เหมาะสมต่อกระดูก จึงจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกาย เช่น การเดินหรือการว่ายน้ำอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพปอดและหัวใจ แต่ไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรงเสมอไป
ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ หรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหากระดูกสันหลัง และเลือกการออกกำลังกายที่ความหนักระดับกลาง แทนกายออกกำลังกายระดับหนักมาก
1. ยืนย่ำเท้า
2. งอศอก
ท่านี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นแขน ขณะงอศอกให้ถือน้ำหนักเท่าที่ไหวประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม หรือใช้แรงต้านจากยางยืด สามารถออกกำลังกายในท่านั่งหรือยืน ตามสะดวก
3. ยกแขนสูงระดับไหล่
ท่านี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบไหล่ให้ถือน้ำหนักหรือใช้แรงต้านจากยางยืดเท่าที่ทำไหว สามารถออกกำลังกายในท่านั่งหรือยืน ตามที่สะดวก
4.ยืนพับขาไปด้านหลัง
ท่านี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ทำในท่ายืน หากยืนไม่มั่นคง ต้องหาเก้าอี้ที่มั่นคงและหนักมาจับ หากแข็งแรงขึ้น ให้ใช้น้ำหนัก หรือยางยืดเป็นแรงต้านเท่าที่ไหว
5.ยืนกางขา
การออกกำลังกายท่านี้นอกจากเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกแล้วยังฝึกเรื่องการทรงตัวไปด้วย เริ่มแรกที่ฝึกอาจต้องยืนจับเก้าอี้ หรือราวจับที่มั่นคงก่อน
6.ยืนย่อเข่า
ท่านี้เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก ให้ยืนย่อเข่าลงเท่าที่ไหว ไม่จำเป็นต้องย่อต่ำมาก
7. นั่งทรงตัวบนลูกบอลหรือวัสดุที่นิ่ม (หรือหมอนนิ่ม)
การออกกำลังกายในท่านี้เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัวลูกบอลควรแข็งแรงและลูกใหญ่ หรืออาจใช้หมอนนิ่ม หรือหมอนยางพาราแทนได้ ท่านี้อาจต้องมีคนช่วยอยู่ใกล้ๆ เพื่อคอยช่วยเหลือระวังล้ม
8. ยืนขาเดียว
เป็นท่าที่ฝึกการทรงตัวได้ดีที่สุด
การออกกำลังกายมีประโยชน์ แต่การออกกำลังกายบางอย่างก็ไม่เหมาะสมกับร่างกายของเรา เช่น การปีนเขา การกระโดดเชือก การปีนป่าย หรือการวิ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายที่เพิ่มความหนักทันที หรือรวดเร็วจะมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มได้ แต่อาจจะทำเป็นครั้งคราวได้ ไม่ควรทำต่อเนื่องหรือสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายที่ต้องก้มตัวไปข้างหน้า บิดหมุนตัวเร็วๆ เช่น การลุกจากท่านอนเร็ว (sit ups) การตีกอล์ฟ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังหัก หากมีภาวะกระดูกพรุน
ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและท่าออกกำลังกายด้วยตนเอง
การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังอาจเกิดขึ้นได้ ขณะที่เราทำท่าก้มตัวไปข้างหน้า หรือบิดตัวอย่างรวดเร็วและเกิดจากการทำซ้ำๆ หรือเกิดจากการบิดตัวอย่างรวดเร็วขณะยกของหนัก เช่น ก้มตัวไปใส่รองเท้าอย่างรวดเร็วจากท่ายืน การอุ้มหลาน
วิธีการที่ถูกต้อง:
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่