ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) เกิดขึ้นเมื่อเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง ส่งผลให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งกร้าน ขาดความชุ่มชื้น จนอาจทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ สาเหตุหลักมาจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนบริเวณเนื้อเยื่อช่องคลอดลดลงเนื่องจากเข้าสู่ภาวะวัยทอง แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกวัยที่อยู่ในภาวะขาดเอสโตรเจน
ผู้มีภาวะช่องคลอดแห้งอาจเกิดอาการตลอดเวลา หรือบางรายอาจมีอาการเป็นระยะหรือเฉพาะในขณะมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น โดยอาการที่พบคือ ระคายเคือง คัน รวมถึงแสบร้อนบริเวณช่องคลอด แสบขัดขณะปัสสาวะ อาจมีปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ด หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ช่องคลอดอักเสบ มีปัญหาตกขาวบ่อยๆ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ บางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลง หรือถึงจุดสุดยอดได้ยากขึ้น
แม้ช่องคลอดแห้งมักไม่ค่อยพบอาการแทรกซ้อนร้ายแรง แต่เนื่องจากขาดเมือกหล่อลื่น ทำให้ผนังช่องคลอดระคายเคืองและเกิดแผลบ่อย จึงทำให้มีความเสี่ยงติดแบคทีเรียหรือเชื้อราในบริเวณช่องคลอดง่ายขึ้น รวมถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกด้วย
นอกจากนี้ภาวะช่องคลอดแห้งทำให้รู้สึกเจ็บแสบเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครอง และต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
วิธีดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันหรือลดปัญหาช่องคลอดแห้ง มีหลายวิธี คือ ควรรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ออกฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด ใช้เจลหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการใช้สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดช่องคลอด ควรล้างช่องคลอดให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดา ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ไม่สวนล้างช่องคลอด ต้องดูแลความสะอาดของกางเกงใน หากใช้แผ่นอนามัยควรเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ปล่อยให้หมักหมมหรืออับชื้น หากพบผื่นหรือสิ่งผิดปกติบริเวณช่องคลอด ควรปรึกษาแพทย์ อย่าอายหรือปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรัง
การเพิ่มกิจกรรมทางเพศด้วยความรักและภาษากาย กระตุ้นให้มีน้ำหล่อลื่นออกมาให้ช่องคลอดชุ่มชื้นขึ้น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดปัญหาได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารโนน็อกซินอล 9 (Nonoxynol-9) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะช่องคลอดแห้ง
สุดท้าย การตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ การตรวจภายในเพื่อดูความผิดปกติของผนังช่องคลอด รวมถึงการตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน จะช่วยป้องกันภาวะพร่องฮอร์โมนได้
ทำได้หลายวิธีคือ
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง นอกจากปัญหาทางใจทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้หญิงหลายคนหงุดหงิดหรือเก็บกด ซึมเศร้าแล้ว วัยทองยังมีผลกับร่างกายหลายอย่าง ภาวะช่องคลอดแห้งก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนวัยทอง การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้ความเข้าใจใน การปรึกษาแพทย์ หรือตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงตรวจภายในจะช่วยลดผลกระทบทั้งของตัวเองและชีวิตคู่ได้เป็นอย่างดี
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่