ศูนย์แก้ไขการกลืนและสำลัก ให้บริการดูแลเรื่องอาการกลืนลำบาก ตั้งแต่การวินิจฉัย ไปจนถึงการฝึกกลืน เพื่อป้องกันการสำลักที่อาจเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ
อาการกลืนลำบากเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และอาจร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีโรคทางระบบประสาท หรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อการกลืน จึงต้องมีการประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตรวจประเมินด้วยเครื่องมือพิเศษ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบุความผิดปกติในการกลืนที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆ รวมถึงระบุความเสี่ยงของการสำลักโดยเฉพาะการสำลักเงียบ สามารถให้ข้อมูลคำแนะนำและช่วยในการวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ มีการตรวจพิเศษสำหรับการกลืน 2 แบบคือ
เป็นการตรวจเพื่อดูการทำงาน และโครงสร้างรวมถึงการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ใช้ในการกลืน และสาเหตุของความผิดปกติของการกลืน โดยให้ผู้เข้ารับบริการตรวจโดยการกลืนแป้งซึ่งเป็นสารทึบรังสี เช่น แบเรียมซัลเฟต (Barium Sulfate) ร่วมกับการเอกซเรย์ (X-Ray) เพื่อดูความผิดปกติของการกลืนในระยะช่องปาก ระยะคอหอย และระยะหลอดอาหาร การตรวจจะในห้อง X-ray โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด นักรังสีเทคนิค โดยป้อนอาหารและน้ำดื่มผสมแบเรียม ที่มีปริมาณ ความหนืด ลักษณะเนื้ออาหาร แตกต่างกัน เพื่อประเมินการกลืน ความผิดปกติทางสรีรวิทยา รวมไปถึงการหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละวัย นอกจากนี้ยังการปรับใช้เทคนิคพิเศษสำหรับการกลืน รวมถึงการปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยในขณะตรวจประเมินได้อีกด้วย ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถประเมินเสมหะ หรือ สารคัดหลั่งในช่องคอหอยก่อนทำการประเมิณกลืนได้
คำแนะนำหลังการตรวจ
การตรวจการกลืนด้วยวิธีส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น สามารถทำการตรวจได้ทั้งภายในห้องตรวจแพทย์และในห้องพักผู้ป่วย กรณีที่ผู้รับการตรวจเป็นผู้ป่วยใน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้กล้องเอ็นโดสโคปที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก มีเลนส์และแสงไฟที่ปลายท่อ สอดเข้าทางจมูกไปยังช่องคอหอย ซึ่งตัวท่อจะมีความยืดหยุ่นสามารถควบคุมปรับให้โค้งงอไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ภาพที่กล้องจะถูกขยายมาปรากฏขึ้นบนจอ ทำให้มองเห็นความผิดปกติของหน้าที่การกลืน และโครงสร้างเนื้อเยื่อในส่วนคอหอยและกล่องเสียง โดยผู้ป่วยไม่ต้องรับรังสีเอกซ์เรย์ (X-ray) จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินด้วยวิธีกลืนแบเรียม การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดคือไม่สามารถตรวจประเมินการกลืนในระยะช่องปาก และระยะหลอดอาหาร
คำแนะนำหลังการตรวจ
แจ้งข้อมูลให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา/สารเคมี ยาที่รับประทานเป็นประจำ และประวัติการผ่าตัดถ้ามี นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนเข้ารับการตรวจ และอาจจะต้องงดทานยาบางชนิดก่อนเข้ารับการตรวจขึ้นกับอาการของผู้ป่วยแต่ละท่าน บางรายอาจจะต้องงดน้ำและงดอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ควรไปถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดตรวจประมาณ 30 นาที เพื่อเตรียมความพร้อม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่มีโลหะ ในกรณีที่ตรวจด้วยวิธี (Videofluoroscopic Swallow Study) และสะดวกในการผลัดเปลี่ยนชุด
ข้อบ่งชี้: แพทย์จะส่งตรวจ Videofluoroscopic หรือ Videoendoscopic Swallow Study ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) หรือมีความเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
หลังจากที่แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูประเมินความผิดปกติ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม และจะทำการส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากแก่นักกิจกรรมบำบัดแล้ว นักกิจกรรมบำบัดจะต้องทำการตรวจประเมิน เพื่อวางแผนการรักษา ปรับระดับอาหาร แนะนำเทคนิครวมถึงการจัดท่าในการรับประทานอาหารแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากให้กลืนได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
แนวทางการรักษาภาวะกลืนลำบากเบื้องต้น