ศูนย์ฉุกเฉิน และภาวะวิกฤตผู้สูงอายุ

ชั้น 1 เปิด 24 ชั่วโมง 02-378-9191 info@samitivej.co.th

ศูนย์ฉุกเฉิน และภาวะวิกฤตผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุป่วยวิกฤติกว่า 14,510 ราย ได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย
(ข้อมูล ปี 2019-2023)

  • ได้รับการรับรองมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุในห้องฉุกเฉิน  Geriatrics Emergency Department Accreditation (GEDA) เป็นโรงพยาบาลแรกในโลก นอกประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดาในระดับ Silver  มาตรฐาน American College of Emergency Physicians 
  • กว่า 300,000 รายของผู้สูงวัยอายุ มากกว่า 60 ปี ได้เข้ารับการดูแล รักษาที่ Age-friendly Hospital (ปี 2546-2565)
  • มีประกาศรหัสอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (Trauma code) – เป็นการกำหนดขึ้นเพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพสูงสุดในเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่บาดเจ็บ
  • รถพยาบาลฉุกเฉินสามารถออกจากปฏิบัติการได้ภายใน 2 นาที ตลอด 24 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยบาดเจ็บจะได้รับการประเมินจากแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ภายใน 1 นาทีเมื่อถึงแผนกฉุกเฉิน

ผลลัพธ์ทางการแพทย์

  • มากกว่า 95% ของคนที่ผ่าตัดส่องกล้อง ไหล่ ศอก เข่า สามารถกลับบ้านได้ ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  • ผ่าตัดสะโพกได้ภายใน 24  ชั่วโมง 
  • รักษาสะโพกร้าวสำเร็จ  85 % เริ่มเดินได้ ภายใน 2 วัน  

เพราะผู้สูงอายุเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ แม้ในยามฉุกเฉิน  เพื่อลดความกังวลใจ และเพิ่มความปลอดภัย ทางโรงพยาบาลได้มีบริการการดูแลผู้สูงวัยภาวะวิกฤติและฉุกเฉิน  

ทีมแพทย์และบุคลากร  

มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุผู้สูงอายุ ให้ปลอดภัย มีทีมแพทย์ฉุกเฉิน  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง  พยาบาลชำนาญการ  และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชียวชาญสำหรับการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  24 ชั่วโมง  สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้ทันที ณ จุดเกิดเหตุ มั่นใจในขั้นตอนการทำงานการวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที ตั้งแต่วินาทีแรกที่มารักษา  ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและทุพพลภาพของผู้ป่วย

มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ สาขาต่างๆ  อาจารย์และคณะศัลยแพทย์ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการระดับนานาชาติที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ทีมของเราประกอบด้วย

ศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูกวิทยา ศัลยกรรมหลอดเลือดหัวใจวิทยาศัลยกรรมตกแต่งใบหน้า ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ศัลยกรรมระบบทางเดินอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี และ ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
พยาบาลที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษในการช่วยชีวิตขั้นสูงและการช่วยเหลือผู้ป่วยบาดเจ็บอุบัติเหตุฉุกเฉิน พร้อมทั้งประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยวิกฤติ
บุคลากรในระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (EMT) ที่มีการรับรองตามมาตรฐานสากลเพื่อการรักษาและการลำเลียงผู้ป่วย
ทีมป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ที่ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลและสถิติเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยภายในชุมชน

เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัย การรักษา และการช่วยชีวิต

  • ห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐานสูงพร้อมด้วยที่ทันสมัย  พร้อมผ่าตัด24 ชม.
  • เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีสูงในการวินิจฉัยโรคทางด้านกระดูกและข้อ เช่น เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องอัลตร้าซาวน์ เครื่องตรวจด้วยระบบแม่เหล็ก (MRI) 
  • เครื่อง ECMO (Extra Corporeal Membrane Oxygenator) อุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนหัวใจและปอดเทียม ใช้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติในกรณีที่หัวใจและปอดไม่สามารถทำงานได้เองตามปกติ ทำหน้าที่ปั๊มเลือดทดแทนการบีบตัวของหัวใจร่วมกับทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนทดแทนปอด ช่วยประคับประคองในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติต่างๆ ในกรณีอาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หัวใจล้มเหลว หรือภาวะการหายใจล้มเหลว
  • เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง   
  • Burn Unit สามารถดูแลผู้ป่วย
    ผู้ป่วยที่มีบาดแผล 2nd degree burn ≥ 10%ในเด็กและ ≥ 20 % ในผู้ใหญ่ของ total body surface area
  • ผู้ป่วยที่มีบาดแผล 2nd และ 3rd degree บริเวณใบหน้า ตา หู มือ เท้า บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
  • ห้อง positive pressure เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ห้องสวนหัวใจที่ได้มาตรฐาน 
  • รถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ครบครันเทียบเท่ากับ ICU หรือ CCU พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นสูง
  • ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด   พร้อมสระธาราบำบัด (Hydrotherapy) พร้อมชุดอุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ตามมาตรฐานสากล

ทางห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์  มีความพร้อมในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน สามารถออกปฎิบัติการ ได้ภายใน2 นาที และดูแล รักษา เคลื่อนย้ายด้วยความปลอดภัย

  • ได้การรับรองมาตรฐาน The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems (CAMTS) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับในด้านความปลอดภัยของกระบวนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤติทั้งทางบก (Ground Ambulance) และทางอากาศ (Air Ambulance) โดยแบ่งเป็นมาตรฐานของอเมริกา “The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems : CAMTS” และยุโรป “The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems Europe : CAMTS EU”  
  • มีเครือข่ายศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และศูนย์สั่งการไปยัง  13 โรงพยาบาลในเครือ ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ประกอบด้วย  รถพยาบาลฉุกเฉิน Ambulance รถมอเตอร์ไซค์การแพทย์ฉุกเฉิน Motorlance เครื่องบินลำเลียงผู้ป่วย Fix wings เฮลิคอปเตอร์ฉุกเฉิน Sky ICU (Rotor wings) พร้อมด้วยทีมแพทย์พยาบาลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤตทางอากาศ (Medical Escorts)
  • มีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วย Air ambulance มากกว่า 150 ครั้ง ต่อปี  ทั่วโลก  ครอบคลุม 30 สนามบิน ทั่วโลก 
  • ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกอายุ ไปจนถึงผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 
  • มีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมากกว่า 90 ท่าน