ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ได้ในอนาคต ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
ไขมันในเลือดสูง พบได้จากหลายปัจจัย เช่น
ปัจจัยภายนอก
- ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
- รับประทานอาหารที่มีไขมันคอเลสเตอรอลสูง
ปัจจัยภายใน
- พันธุกรรม
- โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคไต หรือการใช้ยาบางชนิด
ไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
(Familial Hypercholesterolemia) หรือย่อว่า FH
เป็นชนิดที่พบได้บ่อย สาเหตุหลักเกิดจากการสร้างยีนผิดปกติ หรือมีการกลายพันธุ์ของยีน LDL-R , ApoB, PCSK-9 ทำให้เกิดภาวะคอเลสเทอรอลในเลือดสูงตลอดเวลา ซึ่ง LDL-C (ไขมันชนิดไม่ดี) ที่คั่งอยู่ในเลือดสามารถเกาะหลอดเลือดหัวใจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจวายเฉียบพลัน และหลอดเลือดสมองตีบได้
นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง คือ คอเลสเตอรอลจะไปสะสมที่เอ็นหรือข้อ ใต้ผิวหนัง เป็นก้อนนูนออกมา เรียกว่า xanthomas
สาเหตุของความผิดปกตินี้เกิดจากการกลายพันธุ์ มี 2 รูปแบบคือ
- แบบยีนเดียว (Heterozygous FH) ถ่ายทอดโดยได้ยีนไขมันสูงจากพ่อหรือแม่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มักพบระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมที่ 350-500 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- แบบสองยีน (Homozygous FH) โดยการได้รับยีนไขมันสูงจากทั้งพ่อและแม่ทำให้อาการรุนแรงกว่าแบบยีนเดียวมาก มักพบระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมที่ 500-1,000 มิลลิกรัม/เดซิลิตรทำให้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดโรคหัวใจเฉียบพลันและเสียชีวิตที่อายุน้อย
อาการของโรค
อาการรุนแรงที่สุดคือหัวใจวายเสียชีวิตเฉียบพลัน แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยยาลดไขมันในปัจจุบัน ทำให้อัตราการเกิดหัวใจวายในผู้ที่เป็นโรคนี้ลดลงมาก
การตรวจและการรักษา
หากสงสัยในเรื่องของความเสี่ยง ประกอบกับมีระดับคอเลสเตอรอสในเลือดสูงผิดปกติ ทานยาลดไขมันในเลือดแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็สามารถทำการตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงได้ว่ามีการถ่ายทอดมาจากครอบครัวหรือไม่ ก่อนที่จะให้ยารักษาที่เจาะจงต่อไป และถ้าทานยาสม่ำเสมอ ปฏิบัติตัวและทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันและหลอดเลือดสมองตีบได้ในอนาคต
Reference Heart