โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยเกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน จึงทำให้โรคหัวใจแต่ละชนิด มีอาการแตกต่างกัน
โรคหัวใจมีหลายประเภท และแต่ละประเภทมีอาการและวิธีรักษาที่แตกต่างกัน สำหรับบางคน การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ หรือการดำเนินชีวิตและการใช้ยา ก็สามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น แต่ในบางคนอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อให้หัวใจกลับมาทำงานอีกครั้ง
เมื่อพูดถึงโรคหัวใจ หลายคนมักคิดถึง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจ และเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต โรคหัวใจแบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่มโรค ดังนี้
1. โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD)
โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease (CAD) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2 โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia)
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) อัตราการเต้นของหัวใจสำหรับคนปกติอยู่ที่ 60 - 100 ครั้งต่อวินาที กรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบ่งความผิดปกติออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน สาเหตุสำคัญของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ คือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด และหลอดเลือดหัวใจตีบ ทั้งนี้ยังเกิดจากสุขภาพร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โดยมีอาการใจสั่นรวมทั้งหน้ามืดเป็นลม ซึ่งควรเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
3. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
4. โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease)
โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
สาเหตุความผิดปกติของลิ้นหัวใจ แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
ความผิดปกติของการพัฒนาโครงสร้างหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมีความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยง รวมถึงมารดาได้รับยาบางอย่างในช่วงก่อนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติด ก็มีส่วนทำให้ทารกเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ โดยทารกตรวจพบอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ดื่มนมน้อย โตช้า เล็บสีม่วงคล้ำ อ่อนเพลีย และเหงื่อออกมาก
โรคหัวใจแต่ละชนิดมีสาเหตุต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงที่คล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน แบ่งได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้
สามารถสังเกตสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ดังนี้
แม้โรคหัวใจบางประเภทจะสามารถควบคุมรักษาให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตได้ตามปกติ แต่โรคหัวใจบางประเภทอาจส่งผลถึงชีวิต ดังนั้นการดูแลสุขภาพหัวใจจึงมีความจำเป็น นอกจากการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง การตรวจหัวใจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี ที่จะ
ช่วยประเมินสุขภาพความแข็งแรงของหัวใจ รวมถึงตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคหัวใจมักมีอาการหรือสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ในบางคนอาจไม่มีสัญญาณเตือนใดๆ เกิดขึ้นเลย ดังนั้นการเข้ารับการตรวจโรคหัวใจจะช่วยคัดกรองความเสี่ยง ก่อนเกิดโรค
หากพบว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคหัวใจให้เร็วที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่ามีปัญหาโรคหัวใจหรือไม่ และวางแผนการรักษาต่อไป
การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้นเริ่มจากการซักประวัติ และตรวจร่างกายโดยละเอียด นอกจากนี้แพทย์อาจให้ตรวจเพิ่มเติม รวมถึงทดสอบสมรรถภาพของหัวใจด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
การรักษาโรคหัวใจเป็นไปตามสาเหตุและอาการที่ตรวจพบ ดังนี้
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ดังนั้นหากพบอาการหรือสัญญาณเตือนไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุและประเภทของโรคหัวใจ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ผู้มีความเสี่ยงสามารถเข้าตรวจคัดกรองแม้ไม่มีอาการหรือสัญญาณเตือนใดๆ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่