เช็กความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน

เช็กความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน

อวัยวะภายในร่างกายหากเราไม่หมั่นตรวจ จะรู้ได้อย่างไรว่าทุกอย่างปกติดี โดยเฉพาะกับกระดูกและข้อ ถ้าไม่ตรวจก็ไม่มีทางรู้เลยว่ากระดูกเราพรุนมากน้อยแค่ไหน เสี่ยงต่อการเปราะ หัก ง่ายหรือไม่ เมื่อไม่รู้สาเหตุก็ไม่รู้วิธีป้องกันเช่นกัน

ในร่างกายของเรามีกระดูกอยู่หลากหลายชนิด มีทั้งกระดูกที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ เช่น กระดูกแขน ขา กระดูกที่เป็นชิ้นเหลี่ยม เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกตามข้อมือ ข้อเท้า หรือกระดูกที่มีส่วนประกอบที่หนา หรือที่เรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น คือ กระดูกทึบ (Cortical Bone) และกระดูกที่มีลักษณะคล้ายรังผึ้ง (Cancellous Bone) ซึ่งผู้หญิงเสี่ยงต่อกระดูกหักมากกว่า ผู้ชายถึง 3 เท่า เพราะกระดูกบางและพรุนมากกว่า

สารที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก มีแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็กและอื่นๆ เช่น อิเล็กโตรไลท์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียมจะจับกับกระดูกต้องอยู่ในเส้นเลือด ซึ่งได้จากการรับประทานอาหารประเภทแคลเซียมโดยตรง แล้วจะถูกดูดซึมเข้าไป

เมื่อเราอยู่ในท้องแม่ กระดูกเราจะเป็นกระดูกอ่อนก่อน แล้วแคลเซียมจะจับมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนไปถึงวัยรุ่น อายุ 16-17 ปี เมื่อพ้นวัย 25 ปีแล้วปริมาณแคลเซียมที่จะไปจับกับกระดูกจะลดลง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกบางหรือพรุน

ในร่างกายของเรามีกระดูกอยู่หลากหลายชนิด มีทั้งกระดูกที่มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆ เช่น กระดูกแขน ขา กระดูกที่เป็นชิ้นเหลี่ยม เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกตามข้อมือ ข้อเท้า หรือกระดูกที่มีส่วนประกอบที่หนา หรือที่เรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น คือ กระดูกทึบ (Cortical Bone) และกระดูกที่มีลักษณะคล้ายรังผึ้ง (Cancellous Bone) ซึ่งเพศหญิงเสี่ยงต่อกระดูกหักมากเป็น 3 เท่าของเพศชาย เพราะกระดูกบางและพรุนมากกว่า ในกระดูกก็ประกอบไปด้วย

  • ฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิง การหมดประจำเดือนเร็ว หรือวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ซึ่งจะทำให้กระดูกบางหรือพรุนได้ และมีโอกาสเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวจนหลังโก่ง
  • พันธุกรรมและเพศ เพศหญิงรูปร่างบาง น้ำหนักตัวน้อยเกินไป
  • เชื้อชาติ ชาติที่ไม่ค่อยเป็นโรคกระดูกพรุนคือชาวนิโกร
  • อายุ ร่างกายมีมวลเนื้อกระดูกสูงสุดเมื่ออายุ 25 ปี และความหนาแน่นของกระดูกจะคงที่ไปถึงอายุ 40 ปี
  • อาหาร รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย และอาหารที่มีปริมาณไขมัน
  • ชีวิตประจำวัน  แสงแดดช่วงเวลา 10.00-14.00 น. เป็นช่วงแสงแดดจัด หากโดนแดดนานอาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ควรโดนแดดก่อนเที่ยง หรือหลังจาก 15.00 น.
  • แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ชะลอการดูดซึมของแคลเซียม
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ทำให้กระดูกบาง พรุน หรือกล้ามเนื้อลีบได้

ภาวะกระดูกพรุน

  • ภาวะกระดูกพรุนเกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงร่วมกับความเสื่อมของโครงสร้างภายในกระดูก นอกจากความแข็งแรงของกระดูกจะลดลงแล้ว ยังทำให้กระดูกเปราะ หักง่าย

    การรับประทานแคลเซียมจำนวนมากก็อาจดูดซึมได้ไม่ดีกว่าเดิม เนื่องจากขาดฮอร์โมน และวิตามินดีที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการดูดซึมแคลเซียมไปจับที่กระดูก

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

เราจะทราบมวลหนาแน่นของกระดูกได้จากการตรวจวัดจากแพทย์ โดยทั่วไปมักนิยมตรวจกระดูกที่มีโอกาสหักได้ง่าย 3 ตำแหน่ง ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) กระดูกข้อสะโพก (Hip) และกระดูกปลายแขน หรือข้อมือ (Wrist) ถ้าค่าน้อยกว่า -2.5 แปลว่ากระดูกพรุนแล้ว ส่วนใหญ่จะวัดจากส่วนกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง เพราะเป็นตัวที่ให้ดัชนีชี้บ่งค่อนข้างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน จะเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกบาง

เช็คค่าความหนาแน่นมวลกระดูก

20% ของผู้หญิงไทยวัย 40-80 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งระยะแรกไม่มีอาการใดๆ แต่ทราบได้จากการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก

ค่าความหนาแน่นมวลกระดูกจะคำนวณเป็นค่าที่เรียกว่า T- score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าวินิจฉัยภาวะความหนาแน่นมวลกระดูก เช็คผลได้ดังนี้

  • ค่า T score ที่มากกว่า –1 ถือว่าความหนาแน่นกระดูกปกติ
  • ค่า T score ที่อยู่ระหว่าง –1 ถึง –5 คือ กระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T score ที่น้อยกว่า –5 คือ กระดูกพรุน (Osteoporosis)

วิธีรักษา

  • กรณีที่กระดูกไม่หัก จะให้ทานแคลเซียม ตรวจร่างกายและรักษาตามอาการ
  • กรณีที่กระดูกเคลื่อนที่ไม่มากและไม่ต้องการผ่าตัด จะทำการเข้าเฝือกให้ผู้ป่วย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 2-3 เดือน หรือมากกว่านั้น จนกว่าจะติดประสานกัน
  • สำหรับกระดูกเคลื่อนที่มากๆ เช่น กระดูกสะโพกหัก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าเพื่อให้กระดูกสมานกันเร็วขึ้น ไม่ต้องเข้าเฝือกนาน อาจจะนำเหล็กไปยึด โดยเหล็กสามารถอยู่ถาวรได้ หรือชั่วคราวก็ได้

ภาวะกระดูกพรุนป้องกันได้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (อย่างน้อยครั้งละ 20-30 นาที) จะช่วยให้มวลกระดูกมีความแข็งแรงและหนาแน่นมากขึ้น
  • เปลี่ยนชีวิตประจำวัน การออกไปถูกแสงแดดบ้าง
  • เลี่ยงแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเทนนินในบุหรี่
  • รับประทานอาหารกลุ่มแคลเซียม หรือวิตามินดี ให้เพียงพอ เช่น นม ปลากรอบ เนยแข็ง เห็ดหอม ถั่วเหลือง ถั่วแดง กุ้งแห้ง และผักใบเขียว เช่น ใบชะพลู ผักคะน้า ผักกระเฉด ยอดสะเดา ใบโหระพา ลดอาหารประเภทไขมันจัดที่ทำให้กระดูกบาง
  • ป้องกันการขาดฮอร์โมนเพศ ด้วยการปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจร่างกาย และรับฮอร์โมนทดแทนเป็นประจำ

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ควรออกกำลังกายหรือไม่?

ควรออกกำลังกาย ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ส่วนใหญ่ระดับความรุนแรงจะอยู่ช่วงอายุ 70 ปี ขึ้นไป และควรระมัดระวังอย่าให้เกิดการหกล้ม

ใครควรต้องเช็คภาวะเสี่ยงกระดูกพรุน

  • สตรีเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และรับประทานอาหารเค็มจัดเป็นประจำ
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • ใช้ยาสเตียรอยด์ ยารักษามะเร็ง ยากันชัก ยากันลิ่มเลือดแข็ง หรือได้รับยาฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเวลานาน
  • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน หรือหกล้มแล้วมีกระดูกหักในครอบครัว
  • หากมีภาวะเสี่ยง 3 ใน 5 ของข้อมูลข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนต่อไป

การทำให้กระดูกแข็งแรงก็เหมือนเราฝากเงินในธนาคาร ก็คือนำแคลเซียมไปฝากไว้กับกระดูกหากเราแข็งแรงและออมไว้ตั้งแต่เริ่มแรก กระดูกก็สามารถนำแคลเซียมออกมาใช้ได้ในยามจำเป็น โรคกระดูกพรุนเราป้องกันได้

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?