ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ ตรวจเจอไว ด้วยเทคนิคการแพทย์ NBI จากญี่ปุ่น

ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ ตรวจเจอไว ด้วยเทคนิคการแพทย์ NBI จากญี่ปุ่น

HIGHLIGHTS:

  • ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ (Polyp) ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ปี ก่อนจะกลายเป็นมะเร็ง หากส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ตรวจเจอและตัดทิ้ง จะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรตรวจซ้ำทุก 3-5 ปี เพราะมีโอกาสเกิดติ่งเนื้อได้อีก 
  • ญี่ปุ่น พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ติดอันดับ Top 10 ของโลก รพ.ซาโน่ ในญี่ปุ่น จึงได้คิดค้นเทคนิคการแพทย์ NBI เพื่อตรวจติ่งเนื้อที่หลบซ่อนในลำไส้ใหญ่ และตัดทิ้งทันก่อนติ่งเนื้อกลายเป็นมะเร็ง แพทย์ของสมิติเวชได้รับการถ่ายทอดเทคนิคนี้ และนำมาใช้ ป้องกันคนไข้จากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สำเร็จ 13,595 คน*  
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จะมีความแม่นยำเพิ่มขึ้นอีกขั้น เมื่อติดตั้งระบบ AI เข้ากับกล้องที่ใช้ตรวจลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยตรวจหาติ่งเนื้อผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในผนังของลำไส้ 

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) คืออะไร

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือ การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่างโดยการส่องกล้อง (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องชนิดอ่อนใส่ผ่านเข้าทางทวารหนัก สอดเข้าไปในลำไส้ใหญ่ โดยหมุนกล้องรอบทิศ 360 องศา เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ผนังของลำไส้ใหญ่ ด้วยความยาวของลำไส้ใหญ่ 160 – 180 เซนติเมตร และวิธีการตรวจแบบพิถีพิถัน ด้วยเทคนิคการแพทย์ Narrow Band Image (NBI) ของญี่ปุ่น จึงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30-45 นาที 

ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลสมิติเวช สามารถตรวจพบเนื้อร้ายได้มากถึง 55% จากค่ามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ 25% (ค่ามาตรฐาน อิงจากอัตราตรวจพบเนื้อร้าย หรือ Adenoma Detection Rate แนะนำโดย The American Society for Gastrointestinal Endoscopy (สถิติคนไข้สมิติเวชปี 2566)

สมิติเวช กับ เทคนิคการแพทย์ Narrow Band Image (NBI) จากประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ติดอันดับ Top 10 ของโลก จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และโรงพยาบาลซาโน่ ประเทศญี่ปุ่น ได้คิดค้นเทคนิคการแพทย์ Narrow Band Image (NBI) สำเร็จ และได้รับการยอมรับในด้านความเชี่ยวชาญของการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ระดับโลก จากความสำเร็จดังกล่าวจึงเกิดความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญกับแพทย์ของโรงพยาบาลสมิติเวชด้านเทคนิคนี้ และนำมาใช้เพื่อป้องกันคนไข้จากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สำเร็จ 13,595 คน* 
*ตั้งแต่ปี 2558 - ปัจจุบัน

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบเดิมนั้นจะใช้แสงสีขาว ช่วยนำทางในการส่องกล้อง แต่เทคนิคการแพทย์ NBI จะเป็นการนำแสงสีเขียวและสีฟ้ามาใช้ โดยฉายไปที่ผนังลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยให้เห็นติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้ชัดมากยิ่งขึ้น แม้แต่ติ่งเนื้อชนิดแบนราบที่ดูเหมือนกับผิวลำไส้ใหญ่ (Serrated Polyp) ยากที่จะมองเห็น ก็สามารถตรวจพบได้

นอกจากนี้การส่องกล้องด้วยวิธี NBI ยังทำให้เห็นรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้อเยื่อลำไส้ได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การแยกติ่งเนื้อว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา ติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง หรือเป็นติ่งเนื้อที่อยู่ในระยะเป็นมะเร็งแล้ว ช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ รวดเร็วมากขึ้น และตัดติ่งเนื้อเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ทันที กรณีเป็นติ่งเนื้อระยะมะเร็ง แพทย์จะเริ่มขั้นตอนวินิจฉัย เพื่อวางแผนการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ต่อไป ดังนั้นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงเป็นการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน

ตรวจพบได้แม่นยำขึ้น ด้วยการนำ AI มาใช้กับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

โรงพยาบาลสมิติเวชได้เริ่มใช้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่ติดตั้งโปรแกรม EndoBRAIN-EYE ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพในการหารอยโรคในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ทำให้เพิ่มโอกาสตรวจเจอติ่งเนื้อมากกว่าเทคนิคปกติ ถึง 1.5 เท่า จับภาพแบบเรียลไทม์ ส่งเสียงเตือนพร้อมไฟกระพริบ เมื่อพบติ่งเนื้อขนาดเล็ก หรือซ่อนอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ยาก จึงทำให้มั่นใจได้มากขึ้นอีก สำหรับการตรวจหาและตัดติ่งเนื้อในลำไส้ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และขั้นตอนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิค NBI

  1. ผู้เข้ารับการส่องกล้อง ต้องงดน้ำ งดอาหาร 6 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ
  2. เคลียร์ลำไส้ให้สะอาด โดยใช้ยาระบาย ซึ่งเป็นยาผงผสมน้ำให้ผู้เข้ารับการส่องกล้องดื่มในช่วงเย็น แล้วจึงเข้ารับการตรวจในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น
  3. แพทย์จะฉีดยานอนหลับกับผู้ที่เข้ารับการส่องกล้อง หากผู้เข้ารับการส่องกล้อง เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว อาจพิจารณาปรึกษาวิสัญญีแพทย์เพื่อดูแลเพิ่มเติม
  4. เมื่อผู้เข้ารับการส่องกล้องหลับ แพทย์จะเริ่มใส่กล้องที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร 60 เซนติเมตร เข้าไปทางทวารหนัก โดยกล้องสามารถเข้าไปถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่และตอนปลายของลำไส้เล็ก
  5. หากพบติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 2.5 – 3 เซนติเมตร แพทย์จะทำการตัดติ่งเนื้อผ่านกล้องได้ในทันที
  6. ระยะเวลาที่ใช้ในการส่องกล้อง อยู่ที่ 40-60 นาทีเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับความยากง่ายของการส่องกล้อง รวมถึงปริมาณติ่งเนื้อที่ตรวจพบ

หากเรารู้และเข้าใจว่าวิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้ด้วยการส่องกล้อง และหมั่นตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราอย่างสม่ำเสมอ เราก็สามารถที่จะห่างไกลจากการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น และจากปัจจัยการป้องกันโรคดังกล่าวทำให้เราสามารถลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากภัยเงียบนี้ได้อีกด้วย แต่หากท่านใดประสบปัญหาจากอาการผิดปกติที่ต้องสงสัยว่าเป็นความเสี่ยง โรงพยาบาลสมิติเวชพร้อมดูแลสุขภาพของท่านด้วยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่เรามี เพราะเราไม่อยากให้ใครป่วย

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?