โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี AI และเทคนิคแพทย์ญี่ปุ่น โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี AI และเทคนิคแพทย์ญี่ปุ่น

โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี AI และเทคนิคแพทย์ญี่ปุ่น

ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี AI และเทคนิคแพทย์ญี่ปุ่น

Iเทคนิค Narrow Band Image (NBI) จากโรงพยาบาลซาโน ประเทศญี่ปุ่น ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ได้อย่างไร

ญี่ปุ่นมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ติดอันดับ Top 10 ของโลก จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมการแพทย์ โรงพยาบาลซาโน่ ประเทศญี่ปุ่น ได้คิดค้นเทคนิคการแพทย์ Narrow Band Image (NBI) สำเร็จ จึงได้รับการยอมรับในด้านความเชี่ยวชาญของการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ระดับโลก แพทย์ของสมิติเวชได้รับการถ่ายทอดเทคนิคนี้ และนำมาใช้ ป้องกันคนไข้จากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สำเร็จ 13,595 คน ตั้งแต่ปี 2558 - ปัจจุบัน

การส่องกล้องแบบเดิมจะใช้แสงสีขาว ช่วยนำทางในการส่องกล้อง แต่เทคนิคการแพทย์ NBI จะเป็นการนำแสงสีเขียวและสีฟ้ามาใช้ ฉายไปที่ผนังลำไส้ใหญ่ ช่วยให้เห็นติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้ชัด แม้แต่ชนิดแบนราบที่ดูเหมือนกับผิวลำไส้ใหญ่ (Serrated Polyp) ยากที่จะมองเห็น ก็ทำให้ตรวจพบได้มากขึ้น 

เทคนิค NBI ช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ รวดเร็วมากขึ้น และตัดติ่งเนื้อเพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ทันที กรณีเป็นติ่งเนื้อระยะมะเร็ง แพทย์จะเริ่มขั้นตอนวินิจฉัย เพื่อวางแผนการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ต่อไป

ตรวจพบได้แม่นยำขึ้น ด้วยการนำ AI มาใช้กับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ สมิติเวชได้เริ่มใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ ที่ติดตั้งโปรแกรม EndoBRAIN-EYE ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ช่วยพัฒนาคุณภาพในการหารอยโรคในการส่องกล้องทางเดินอาหาร ทำให้สามารถเห็นติ่งเนื้อได้ชัดกว่าเทคนิคปกติ ถึง 1.5 เท่า จับภาพแบบเรียลไทม์ ส่งเสียงเตือนพร้อมไฟกระพริบ เมื่อพบติ่งเนื้อขนาดเล็ก หรือซ่อนอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ยาก จึงทำให้มั่นใจได้มากขึ้นอีก กับการตรวจหาและตัดนิ่งเนื้อในลำไส้ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

โปรแกรมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ด้วยเทคโนโลยี AI จากญี่ปุ่น

โปรแกรม            ราคาโปรโมชั่น
(บาท)
โปรแกรมส่องกล้องตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยี AI-assisted Colonoscopy  | ซื้อโปรแกรม 28,000
31,055

เงื่อนไข

  1. เป็นโปรแกรมส่องกล้องแบบใช้ยานอนหลับ
  2. โปรแกรมดังกล่าวรวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลฯ ผู้ป่วยนอก
  3. โปรแกรมดังกล่าวรวมค่าห้องส่องกล้องและค่าห้องพักฟื้นสังเกตอาการหลังส่องกล้อง
  4. โปรแกรมดังกล่าวรวมค่ายาระบาย แต่ไม่รวมค่าตรวจร่างกายก่อนการส่องกล้อง
  5. โปรแกรมดังกล่าวไม่รวมค่าปรึกษาแพทย์ครั้งแรกก่อนการส่องกล้อง
  6. กรณีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่มีการตัดชิ้นขนาดไม่เกิน 1 ซม. มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 1,500 บาท / ชิ้น (ไม่รวมค่าอุปกรณ์การตัดชิ้นเนื้อเพิ่ม) และกรณีที่ขนาดชิ้นเนื้อไม่เกิน 2 ซม. คิดค่าใช้จ่ายตามจริง
  7. กรณีใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพ จะต้องใช้สิทธิ์ประกันก่อนเท่านั้น
  8. ขอสงวนสิทธิ์สำหรับชาวไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
  9. ระยะเวลาตั้งแต่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
  10. สามารถรับบริการได้ที่ ศูนย์ดูแลสุขภาพลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เวลา 8.00 – 18.00 น. รพ.สมิติเวช สุขุมวิท เท่านั้น


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการส่องกล้อง

1. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) คืออะไร

การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือ การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนล่างโดยการส่องกล้อง (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องชนิดอ่อนใส่ผ่านเข้าทางทวารหนัก ค่อยๆ สอดเข้าไปในลำไส้ใหญ่ หมุนกล้องรอบทิศ 360 องศา เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ผนังของลำไส้ใหญ่ ด้วยความยาวของลำไส้ใหญ่ 160 – 180 เซนติเมตร และวิธีการตรวจแบบพิถีพิถัน ร่วมกับเทคนิคการส่องกล้องแบบ Narrow Band Image (NBI) และเทคโนโลยี AI ของญี่ปุ่น เพื่อช่วยให้การส่องกล้องและการวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ เห็นได้ชัดเจนและละเอียดมากยิ่งขึ้น

2. ประโยชน์ของการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างไร

เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มต้นจากการเกิดติ่งเนื้อขึ้นภายในลำไส้ ร่วมกับปัจจัยที่กระตุ้นให้มีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สูงขึ้นจากการใช้ชีวิตหรือประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ของครอบครัว การมาตรวจสุขภาพด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงทำให้เราสามารถพบติ่งเนื้อดังกล่าวและตัดทิ้งเพื่อป้องกันได้เร็วก่อนกลายเป็นมะเร็งได้ถึง 90%

3. ใครที่ควรส่องกล้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัว หรือ เคยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ มีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป
  • มีอาการป่วยแทรกซ้อนหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคอ้วน  ไขมันในตับ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
ผู้ที่ควรมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีอายุถึงเกณฑ์ที่แพทย์แนะนำให้ตรวจสุขภาพลำไส้ และกลุ่มบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาทิ อายุ 45 ปีขึ้นไป ประวัติครอบครัวมีผู้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น 

4. การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และขั้นตอนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิค NBI

  • ผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  • เคลียร์ลำไส้ให้สะอาด โดยใช้ยาระบาย ซึ่งเป็นยาผงผสมน้ำให้คนไข้ดื่มในช่วงเย็น แล้วจึงเข้ารับการตวรจในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น
  • แพทย์จะฉีดยานอนหลับกับผู้ที่เข้ารับการส่องกล้อง หากผู้เข้ารับการส่องกล้อง เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว อาจใช้วิธีดมยานอนหลับที่ไม่แรงและหมดฤทธิ์ได้เร็ว
  • เมื่อผู้เข้ารับการส่องกล้องหลับ แพทย์จะเริ่มสอดกล้องที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร 60 เซนติเมตร เข้าไปทางทวารหนัก โดยกล้องสามารถเข้าไปได้ลึกประมาณ 70 – 80 เซนติเมตร อาจเช็คไปถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่และตอนปลายของลำไส้เล็กบางส่วน

5. ส่องกล้องลําไส้ใหญ่ เจ็บไหม

ในขณะที่ทำการส่องกล้องนั้นผู้รับบริการจะหลับหรือชาบริเวณที่ทำหัตถการ และรู้สึกตัวอีกทีก็ต่อเมื่อหัตถการสำเร็จและยาชาหมดฤทธิ์เรียบร้อยแล้ว ด้วยระยะเวลาที่ใช้ในการส่องกล้องเพียง 20 – 30 นาที เท่านั้น โดยอาการที่มักพบเจอได้คือ มึนงงเล็กน้อยจากฤทธิ์ยาหรือมีอาการหน่วงบริเวณที่ทำหัตถการ ซึ่งใช้เวลาไม่นานจะสามารถหายได้เอง

6. หากส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แล้วตรวจเจอ เนื้องอกในลําไส้ ไม่ใช่มะเร็ง รักษาอย่างไร

หากพบเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 2.5 – 3 เซนติเมตร แพทย์ก็จะทำการตัดติ่งเนื้อผ่านกล้องได้ในทันที หากเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่กว่านั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้เช่นกัน ด้วยเทคนิค ESD หรือการผ่าตัดแบบไม่เปิดหน้าท้องสำหรับก้อนเนื้อขนาดใหญ่ เพื่อลดอาการแทรกซ้อน ปลอดภัยและฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น

7. หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีวิธีการรักษาอย่างไร

  • การผ่าตัด (Surgery) สามารถทำได้ในทุกระยะของโรค ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาการรักษาควบคู่ไปกับการฉายรังสีและยาเคมีบำบัด
  • ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) การรับประทานหรือฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าทางกระแสเลือดและออกฤทธิ์หยุดยั้งการแบ่งตัวหรือทำลายเซลล์มะเร็ง สามารถใช้ก่อนการผ่าตัดและ/หรือหลังผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีรักษาหรือไม่ก็ได้  ยาเคมีบำบัดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับเซลล์ปกติและการทำงานของอวัยวะอื่นๆ เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และผมร่วง 
  • การฉายรังสีรักษา (Radiation therapy) ด้วยคลื่นที่มีพลังงานสูง เพื่อทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงยังช่วยลดอัตราการกลับมาเป็นซํ้า โดยสามารถทำควบคู่ไปกับการให้เคมีบำบัด เพื่อให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
  • ยาเฉพาะเจาะจง (Targeted Therapy) เป็นการรักษาที่ตรงจุดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งแบบไม่ทำลายเซลล์ข้างเคียงและมีผลข้างเคียงน้อย ส่วนใหญ่มักทำการรักษาร่วมกับการให้เคมีบำบัด โดยเลือกใช้ในกลุ่มที่มีการกระจายของมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยยาเฉพาะเจาะจงสามารถยืดระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่ และช่วยให้มีระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรคนานกว่าการให้การรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว
  • ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจจับและฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในกลุ่มที่มีการกระจายของมะเร็ง และต้องมีการตรวจชิ้นเนื้อมะเร็งอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

8. ควรส่องกล้องทุกกี่ปี

แพทย์แนะนำให้ตรวจเช็คมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกๆ 5 ปี แต่ในกรณีผู้มีความเสี่ยงควรตรวจทุก 3 - 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้แต่ละราย เช่น หากมีการตรวจพบตั้งแต่แรก อาจต้องเข้ารับการตรวจถี่ขึ้นเป็นทุกๆ 2 -3 ปี หรือตามดุลยพินิจของแพทย์

I