เจาะลึก NBI เทคนิคส่องกล้องตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้แม้ในระยะเริ่มต้น

เจาะลึก NBI เทคนิคส่องกล้องตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ พบได้แม้ในระยะเริ่มต้น

HIGHLIGHTS:

  • แพทย์แนะนำให้ตรวจเช็คมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกๆ 10 ปี แต่ในกรณีผู้มีความเสี่ยงควรตรวจทุก 5- 7 ปี
  • การส่องกล้องด้วยเทคนิค NBI จากญี่ปุ่น ไม่ได้น่ากลัวหรือยุ่งยาก และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจได้มากขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับวิธีส่องกล้องทั่วไป
  • หากพบความผิดปกติของลำไส้จากการส่องกล้องด้วยเทคนิค NBI สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติได้อย่างปลอดภัยทันที โดยไม่ต้องผ่าตัดเกินความจำเป็น

ทำความรู้จักกับเทคนิค NBI

เป็นที่ทราบกันดีว่าการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ที่อาจพัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายหรือโรคมะเร็ง  ที่ผ่านมา แพทย์ใช้วิธีส่องกล้องทั่วไปโดยใช้แสงสีขาวในการส่องดูลำไส้และระบบทางเดินอาหาร ทำให้ดูติ่งเนื้อที่มีความผิดปกติไม่ชัดเจน

ปัจจุบันวงการแพทย์ได้คิดค้นจนพบนวัตกรรมอันทันสมัย Narrow Band Imaging – NBI  คือ เทคนิคในการปรับสเปคตรัมของแหล่งกำเนิดแสงให้ปล่อยแสงที่มีความยาวคลื่นในระดับที่ต้องการ โดยหลักการทำงานของเทคนิคนี้ก็คือ จะใช้ตัวกรองแสง เพื่อเลือกสีของแสงที่จะปล่อยออกไปที่ภาพ โดยจะเลือกสีในคลื่นความถี่แคบๆ จะได้เป็นแสงสีน้ำเงินเขียว ซึ่งฮีโมโกบิน (Hb) หรือสารสำคัญในเม็ดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์ จะดูดซึมแสงสีน้ำเงินเขียวนี้เอาไว้ทำให้เกิดความแตกต่างของสีระหว่างหลอดเลือดฝอยที่อยู่ระดับบนกับหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นที่ลึกลงไป นอกจากการปรับสเปคตรัมของแสงแล้วยังช่วยขยายภาพให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นรูปแบบของเส้นเลือดได้ชัดเจนและสามารถแยกแยะความลึกของมะเร็งในเนื้อเยื่อได้โดยทันที

นอกจากนี้การส่องกล้องด้วยวิธี NBI ยังทำให้เห็นรูปแบบการเรียงตัวของเซลล์เนื้อเยื่อลำไส้ได้ชัดเจนขึ้น นำไปสู่การแยกติ่งเนื้อว่าเป็นติ่งเนื้อธรรมดา ติ่งเนื้อที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง หรือเป็นติ่งเนื้อที่อยู่ในระยะเป็นมะเร็งแล้ว ช่วยทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

NBI ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำอย่างไร

เทคนิค NBI ทำให้แพทย์สามารถตรวจหามะเร็งระยะเริ่มต้นในระบบทางเดินอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้ละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยให้รู้ตำแหน่งที่มีความผิดปกติได้ทันทีโดยไม่ต้องฉีดสารเคมีเข้าร่างกายทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ซึ่งถือว่ามีความทันสมัยและประโยชน์กับผู้ป่วยมาก แต่ปัญหาของเทคนิค NBI คือ อยู่ตรงเรื่องของการอ่านและแปรผลการตรวจของ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

ดังนั้น แพทย์ที่จะนำเทคนิคนี้มาใช้จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องของอ่านค่าและแปรผลการตรวจผิวเยื่อบุมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถใช้เทคนิค NBI  ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเมื่อนำไปเทียบประกอบกับผลตรวจชิ้นเนื้อแล้วจะยิ่งทำให้การตรวจมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม แต่จำนวนแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการอ่านค่าและแปรผลการตรวจผิวเยื่อบุยังมีจำนวนไม่มาก จึงทำให้เทคนิคนี้ถูกมองข้ามไป

โรงพยาบาลสมิติเวช ได้ร่วมมือทางการแพทย์กับโรงพยาบาลซาโน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเป็นที่ยอมรับด้านความเชี่ยวชาญด้านการตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ในลำไส้ใหญ่ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะเริ่มต้นด้วยเทคนิคการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร  โดยโรงพยาบาลสมิติเวช ได้ส่งแพทย์ไทยไปเรียนรู้เทคนิคด้านการผ่าตัดส่องกล้องที่โรงพยาบาลซาโน ประเทศญี่ปุ่น จนได้รับความรู้และความชำนาญมากขึ้น สามารถอ่านค่าและแปรผลการตรวจผิวเยื่อบุได้อย่างแม่นยำ

NBI ตอบโจทย์เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างไร

จากการสำรวจพบว่าปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่  เกี่ยวข้องกับเรื่องอายุโดยตรง คนอายุน้อยมีโอกาสตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ไม่ถึง 10 % ช่วงวัยกลางคนอายุ 40 – 50 ปี โอกาสที่จะพบ เพิ่มขึ้นเป็น 20 – 30 % แต่ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไปโอกาสจะเพิ่มขึ้นไปถึง 30 – 40 % จากสถิติและตัวเลขดังกล่าวอาจสร้างความตกใจให้หลายคน แต่อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบติ่งเนื้อ (Polyp) ที่ลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะเป็นมะเร็งสามารถตัดทิ้งได้มากกว่า  90 %   หรือถ้าเป็นมะเร็งในระยะต้นๆ ยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ รพ.สมิติเวช สามารถตรวจพบเนื้อร้ายได้มากถึง 62% จากค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ 25%* (ค่ามาตรฐาน อิงจากอัตราตรวจพบเนื้อร้าย หรือ Adenoma Detection Rate แนะนำโดย The American Society for Gastrointestinal Endoscopy)

อีกสาเหตุหนึ่งของมะเร็งลำไส้ใหญ่มาจาก การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งยีนมะเร็งจากพันธุกรรมนั้นอาจจะแสดงออกหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละคน คนที่มีประวัติญาติพี่น้องสายตรงเป็นมะเร็งมากกว่า 2 คนขึ้นไป หรือ มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเพียงแค่คนเดียวในช่วงอายุน้อยกว่า 50 ปี ควรได้รับการปรึกษาแพทย์เพื่อส่องกล้องหาความผิดปกติก่อนอายุ 45 ปี  คลิกอ่านต่อที่นี่

ในสมัยก่อน หากส่องกล้องพบติ่งเนื้อขนาดเล็กมากคือประมาณ 5 มิลลิเมตร แพทย์มักมีความเห็นว่าไม่อันตราย และปล่อยไว้โดยไม่ทำอะไร เนื่องจากยังไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการตรวจวิธีการอ่านค่าที่แม่นยำแน่นอน แพทย์จึงไม่สามารถ วินิจฉัยได้ว่าติ่งเนื้อขนาดเล็กนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายต่อไปหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ติ่งเนื้อจะเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร  ก็ไม่ควรวางใจ เทคนิค NBI คือ เข้ามาตอบโจทย์ของปัญหานี้ ในบางกรณีอาจใช้วิธีการฉายแสงขาวสลับกับ NBI เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพติ่งเนื้อที่มีปัญหาได้ชัดเจน  สามารถพิจารณาความแตกต่างของผิวเยื่อบุได้ละเอียดขึ้น ส่งผลให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ง่ายและมีความมั่นใจ

ประโยชน์ของเทคนิค NBI

  • ตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรก แม้ติ่งเนื้อยังไม่นูนขึ้นมา
  • วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ จึงทำให้การรักษาแม่นยำขึ้นด้วย
  • หากพบความผิดปกติของลำไส้ สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติได้ทันที ย่นเวลาในการผ่าตัด ทำให้คนไข้ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน และไม่ต้องนอนค้างคืนที่โรงพยาบาล ไม่ต้องผ่าตัดเกินความจำเป็น

ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจด้วยเทคนิคส่องกล้อง NBI

  1. ผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหาร 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  2. เคลียร์ลำไส้ให้สะอาด โดยใช้ยาระบาย ซึ่งเป็นยาผงผสมน้ำให้คนไข้ดื่มในช่วงเย็น แล้วจึงเข้ารับการตวรจในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น
  3. แพทย์จะฉีดยานอนหลับกับผู้ที่เข้ารับการส่องกล้อง หากผู้เข้ารับการส่องกล้อง เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว อาจใช้วิธีดมยานอนหลับที่ไม่แรงและหมดฤทธิ์ได้เร็ว
  4. เมื่อผู้เข้ารับการส่องกล้องหลับ แพทย์จะเริ่มสอดกล้องที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร 60 เซนติเมตร เข้าไปทางทวารหนัก โดยกล้องสามารถเข้าไปได้ลึกประมาณ 70 – 80 เซนติเมตร อาจเช็คไปถึงส่วนต้นของลำไส้ใหญ่และตอนปลายของลำไส้เล็กบางส่วน
  5. หากพบติ่งเนื้อขนาดเล็กกว่า 2.5 – 3 เซนติเมตร แพทย์ก็จะทำการตัดติ่งเนื้อผ่านกล้องได้ในทันที
  6. ระยะเวลาที่ใช้ในการส่องกล้อง เพียง 20 – 30 นาทีเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับติ่งเนื้อที่พบว่ามีจำนวนมากหรือไม่

ผู้ที่ควรเข้ารับการส่องกล้องแบบ NBI

  • ผู้ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่มีประวัติมะเร็งในครอบครัว หรือ เคยเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังหรือมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
  • มีอาการป่วยแทรกซ้อนหลายโรค เช่น เบาหวาน โรคอ้วน  ไขมันในตับ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

แพทย์แนะนำให้ตรวจเช็คมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุกๆ 10 ปี แต่ในกรณีผู้มีความเสี่ยงควรตรวจทุก 5- 7 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้แต่ละราย เช่น หากมีการตรวจพบตั้งแต่แรก อาจต้องเข้ารับการตรวจถี่ขึ้นเป็นทุกๆ  2 -3 ปี หรือตามดุลยพินิจของแพทย์

จะเห็นได้ว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถป้องกันได้ด้วยการส่องกล้อง ซึ่งปัจจุบันมีความแม่นยำมากขึ้นด้วยการใช้เทคนิค NBI จากญี่ปุ่น โดยเพิ่มความแม่นยำได้มากขึ้นถึง 2 เท่า  และวิธีการตรวจก็ไม่ได้น่ากลัว หรือยุ่งยากแต่อย่างใด หากพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้แพทย์สามารถรักษาได้ทันท่วงที คลิกอ่านต่อที่นี่

คุณเสี่ยง...มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ?

สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณอายุ 45+ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษปรึกษาคุณหมอทางออนไลน์ ฟรี ! คลิกที่นี่


วิดีโอคอลปรึกษาหมอออนไลน์ เรื่องอะไรได้บ้าง ? คลิกอ่านเพิ่มเติม

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?