ปัจจุบันนวัตกรรมทางด้านการรักษามะเร็งวิวัฒนาการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากการศึกษาพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ทำให้เราพบว่าเซลล์มะเร็งนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งส่งผลต่อการส่งสัญญาณการแบ่งตัวภายในเซลล์ ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้เองอย่างไม่จำกัด หรือการที่เซลล์มะเร็งมีความสามารถในการสร้างหลอดเลือดมาเลี้ยงตัวเองได้ สามารถหลบหลีกการถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีความสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะต่างๆ ได้
โดยความสามารถพิเศษเหล่านี้เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิดซึ่งส่งผลต่อการทำงานของโปรตีนต่างๆ ที่ควบคุมการแบ่งตัวของมะเร็ง โดยมะเร็งแต่ละชนิดมีการกลายพันธุ์ของยีนต่างๆ ไม่เหมือนกัน และเมื่อนักวิจัยสามารถศึกษาจนค้นพบว่า กลไกใดสำคัญต่อมะเร็งชนิดใด จึงสามารถพัฒนายามายับยั้งกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์นั้นๆ ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายลงได้ในที่สุด จึงเรียกยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงเพื่อรบกวนการแบ่งตัวตามกลไกของเซลล์มะเร็งเหล่านี้ว่า ยามุ่งเป้า (Targeted therapy)
ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือการใช้ยาที่จำเพาะเจาะจงในการรักษามะเร็งอย่างตรงจุด ควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ ทำให้มีผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติน้อยกว่ายาเคมีบำบัดทั่วไป และสามารถควบคุมโรคมะเร็งได้ระยะที่ยาวนานกว่า โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ยามุ่งเป้ามากขึ้น ยามุ่งเป้ามีหลายบทบาททั้งในระยะแพร่กระจายและไม่แพร่กระจาย และมีทั้งในรูปแบบยาฉีดและยากิน
ในปัจจุบัน ยามุ่งเป้าสามารถใช้รักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้หลายชนิด อาทิ
ยามุ่งเป้าจะใช้ได้ในผู้ที่เซลล์มะเร็งมีการกลายพันธุ์ที่เข้ากับยามุ่งเป้าชนิดนั้น ๆ ได้เท่านั้น ดังนั้นขั้นตอนการตรวจก่อนเริ่มรักษาจึงมีความจำเป็น โดยจะมีการส่งชิ้นเนื้อไปตรวจสอบพันธุกรรมของเซลล์มะเร็ง ยามุ่งเป้าสามารถใช้รักษามะเร็งได้ทั้งในช่วงเริ่มต้นและแพร่กระจาย แต่เน้นการใช้ในมะเร็งระยะแพร่กระจายเป็นหลัก
การใช้ยามุ่งเป้าในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น จะมีทั้งรูปแบบยากิน (Tyrosine kinase inhibitors) และยาฉีด (monoclonal antibody) ทั้งนี้การใช้ยากับผู้ป่วยจะเป็นการใช้ยาชนิดเดียวหรือการใช้ร่วมกับยาอื่น เช่น ยาเคมีบำบัด ยาภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่แล้วยามุ่งเป้ามักจะทำการรักษามะเร็งด้วยการยับยั้งโปรตีนเฉพาะส่วนที่เป็นสาเหตุของการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งแตกต่างและตรงจุดมากกว่าการทำคีโมในการทำลายเซลล์มะเร็งที่โตและแตกตัวได้ไว จึงทำให้เห็นว่าการใช้ยามุ่งเป้านั้นจะสามารถช่วยยับยั้งและทำลายได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
ระยะเวลาในการรักษาด้วยยามุ่งเป้าขึ้นอยู่กับชนิด ระยะของเซลล์มะเร็งและปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความแข็งแรงของผู้ป่วย ความสามารถในการทนต่อผลข้างเคียง โดยแพทย์จะประเมินจำนวนครั้งที่ควรใช้ยามุ่งเป้าตามสูตรในครั้งแรก แต่ระหว่างการให้ยาแต่ละครั้งจะมีการประเมินอาการและการตอบสนองของผู้ป่วยด้วยเป็นระยะ และอาจมีการปรับเปลี่ยนสูตรตามความเหมาะสม
ผลข้างเคียงของยามุ่งเป้าจะแตกต่างไปตามชนิดของยามุ่งเป้าที่ใช้ และความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปผลข้างเคียงจะน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น
ยามุ่งเป้ามีความแตกต่างจากการให้ยาเคมีบำบัดหรือการทำคีโม โดยจะมุ่งทำลายเซลล์มะเร็งที่มีความเข้ากันได้โดยตรง จึงมักทำให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ร่างกายปกติน้อยกว่าการทำเคมีบำบัด แต่ยามุ่งเป้าใช้ได้เฉพาะมะเร็งบางชนิดและเซลล์มะเร็งนั้นต้องมียีนกลายพันธุ์ที่เข้ากันได้กับยามุ่งเป้า จึงต้องมีการตรวจสอบก่อนว่ามะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้หรือไม่ ส่วนยาเคมีบำบัดไม่จำเป็นต้องตรวจความเข้ากันได้ของเซลล์ก่อน
เมื่อไหร่ก็ตามที่มีอาการป่วยที่บ่งชี้ถึงสาเหตุของโรคร้ายอย่างมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยที่ตรงจุด ป้องกันได้อย่างทันท่วงที หรือหากพบมะเร็งในระยะเริ่มต้นประกอบกับเทคโนโลยีการรักษาด้วยยามุ่งเป้า การต่อสู้กับมะเร็งจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดและมีโอกาสหายขาดจากโรคร้ายนี้ได้ พร้อมกลับไปมีความสุขกับการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่