จัดการอาการ โรคลำไส้แปรปรวน

จัดการอาการ โรคลำไส้แปรปรวน

Highlight:

  • ภาวะลำไส้แปรปรวนหรือ Irritable bowel syndrome (IBS) เป็นภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่พบได้บ่อย โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า  
  • ความผิดปกติของลำไส้หลายอย่างแสดงอาการคล้าย ๆ กันกับโรคลำไส้แปรปรวน  (IBS) ดังนั้น จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรค ออกจากโรคที่รุนแรง เช่น มะเร็งลำไส้  และรับการรักษาที่ถูกต้อง 
  • IBS เป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ ด้วยการวางแผนการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์  

ภาวะลำไส้แปรปรวนหรือ Irritable bowel syndrome (IBS) เป็นภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่พบได้บ่อย แม้ ลำไส้แปรปรวน จะเป็นภาวะเรื้อรัง แต่ก็มีวิธีรักษา โดยการควบคุมอาการให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ

อาการของโรคลำไส้แปรปรวน

  • ปวดท้อง 
  • การถ่ายอุจจาระผิดปกติ (ถ่ายเหลวบ่อยครั้ง หรือ ท้องผูก) 
  • ท้องอืด มีแก๊ส 

ซึ่งอาการดังกล่าวจะแตกต่างจากโรคลำไส้อื่น ๆ  เนื่องจาก  IBS ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ส่วนใหญ่พบว่าโรคลำไส้แปรปรวน  (IBS) ทำให้มีอาการไม่สบายเล็กน้อย มีผู้ป่วยเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีอาการรุนแรง การปรับเปลี่ยนอาหารหรือการลดความเครียด – กังวล เป็นการจัดการกับโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) สำหรับบางคน  ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา  แต่ไม่ว่าในกรณีใดควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี  เพราะสิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังทุกข์ทรมานอยู่นั้น เป็นเพียงโรคลำไส้แปรปรวน  (IBS) ไม่ใช่อาการของโรคที่ร้ายแรงกว่า เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง 

การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

เนื่องจากความผิดปกติของลำไส้หลายอย่างแสดงอาการคล้าย ๆ กันกับโรคลำไส้แปรปรวน  (IBS) ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาจากอาการเฉพาะ  รวมถึงอาจมีการตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อแยกออกจากโรคอื่น ๆ 

อาการที่ควรรีบพบแพทย์

หากผู้ป่วยมีการดังต่อไปนี้  ควรรีบพบแพทย์

  • มีเลือดออกทางทวารหนัก
  • อาการปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • น้ำหนักลด โดยไม่มีสาเหตุ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรค IBS
  • มีความวิตกกังวลหรือความเครียดสูง 
  • เพศหญิง (ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรค IBS  มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า)
  • มีอายุต่ำกว่า 45 ปี

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

แม้สาเหตุของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน  (IBS) จะยังไม่ชัดเจน  แต่มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเป็น IBS ซึ่งมีปัจจัยหลักอยู่ที่การทำงาน (การบีบตัวของลำไส้) การขยายตัวและหดตัวขณะมีอาหารเคลื่อนผ่าน  อาจส่งผลให้มีอาการท้องอืดหรือมีแก๊ส หรืออาการท้องผูก 

ปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

IBS เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นสูงจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • การแพ้อาหาร สำหรับบางคนอาหารบางประเภทสามารถกระตุ้นการเกิดโรค IBS ได้
  • ความเครียด 
  • ฮอร์โมน ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค IBS สูงกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจึงมีแนวโน้มที่จะพบโรคลำไส้แปรปรวนได้มากกว่า

การรักษาเกิดโรคลำไส้แปรปรวน (IBS)

การรักษาโรค IBS ทำได้หลายวิธี  ดังนี้ 

  • ดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค   
  • จำกัดแลคโตส (แลคโตสส่งผลให้ภาวะ  IBS แย่ลง) 
  • เพิ่มปริมาณกากใยอาหารในการบริโภคประจำวัน  เพื่อช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น
  • จัดการความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลกระทบให้ IBS แย่ลง  แนะนำให้เข้ากลุ่มขอคำปรึกษาหรือการสนับสนุน  
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้ยา (แก้อาการท้องเสีย  ยาต้านความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า เป็นต้น) แม้ว่ายาจะไม่สามารถรักษาโรค IBS ได้ แต่ก็ช่วยให้จัดการกับภาวะลำไส้แปรปรวนได้ง่ายขึ้น  
  • การเพิ่มแบคทีเรียที่ดี (Probiotic)

สิ่งสำคัญคือ IBS เป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ ด้วยการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์  ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติ ไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อจะได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ


วิดีโอคอลปรึกษาหมอออนไลน์ เรื่องอะไรได้บ้าง ? คลิกอ่านเพิ่มเติม

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?