การลดลงของสารเซโรโทนินและโดปามีน และการเพิ่มขึ้นของสารอนุมูลอิสระภายในสมอง ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลต่อความจำในผู้สูงวัย อาจทำให้มี อาการหลงลืม ในผู้สูงอายุ แม้แต่ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
อาการหลงลืม ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หลายคนนึกถึงเมื่อพูดถึงผู้สูงวัย แต่ทราบหรือไม่ว่า อาการหลงลืมในผู้สูงอายุ นั้นมีทั้งที่เกิดจากอายุที่มากขึ้น และเกิดจากตัวโรคที่สามารถรักษาและบรรเทาได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถชะลอและจัดการอาการไม่ให้เป็นมากขึ้นได้อีกด้วย
เมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทและสมอง ดังนี้
นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีสาเหตุของการสูญเสียความจำอื่นๆ ดังนี้
การสูญเสียความจำมีได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุและส่งผลต่อการใช้ชีวิตแตกต่างกันไป
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปอาจมีผลต่อความทรงจำยะยะยาว เช่น การนึกคำที่ต้องการใช้ไม่ออก หรือต้องใช้เวลานึกเป็นเวลานาน การลืมรายละเอียดของเรื่องที่ผ่านมานานแล้ว นึกชื่อหรือสิ่งของต่าง ๆ ไม่ออก แต่มักจะนึกได้ในภายหลัง การลืมว่าวางของต่าง ๆ เช่น แว่นตาหรือรีโมทไว้ที่ใด ลืมว่าเดินมาห้องนี้ทำไม
เมื่ออายุมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงและมีความทรงจำที่แย่ลงได้ แต่หากมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคที่รุนแรง เช่น หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
หากท่านหรือคนครอบครัวมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา
โรคอัลไซเมอร์
ภาวะหลงลืมตามอายุ | โรคอัลไซเมอร์ |
ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้ แม้จะมีช่วงที่หลงลืมบ้าง | ไม่สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ ได้ เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ลืมสิ่งที่เคยทำจนเป็นกิจวัตร |
สามารถจำช่วงที่ตนเองมีอาการหลงลืมได้ | ไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่ตนหลงลืมได้ จนเป็นปัญหากับชีวิตประจำวัน |
อาจจำทางไม่ได้หรือต้องใช้เวลานึกนาน แต่จะไม่ลืมสถานที่ที่คุ้นเคย | ลืมหรือหลงทางแม้เป็นสถานที่ที่คุ้นเคย เช่น บ้านของตนเอง |
อาจนึกคำไม่ออกbแต่สามารถสนทนาได้ตามปกติ | ลืมหรือใช้คำที่ไม่สอดคล้องกับบทสนทนาสม่ำเสมอ |
สามารถตัดสินใจได้เป็นปกติ | ตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ไม่ได้ หรือแสดงออกในเรื่องต่าง ๆ ไม่เหมาะสม |
การดูแลตนเองจะช่วยป้องกันและชะลออาการหลงลืมตามอายุ และบรรเทาอาการหลงลืมจากโรคบางชนิดไม่ให้เป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็วได้ เช่น
หากสงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม หรือแค่หลงลืมจากอายุ สามารถทำแบบสอบถามได้ คลิกที่นี่ |
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่