ไม่อยากให้พ่อแม่เป็น “โรคอัลไซเมอร์” วิธีป้องกัน และการตรวจเช็กความเสี่ยง

ไม่อยากให้พ่อแม่เป็น “โรคอัลไซเมอร์” วิธีป้องกัน และการตรวจเช็กความเสี่ยง

HIGHLIGHTS:

  • อัลไซเมอร์  เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่หากคนในครอบครัวคอยสังเกตความผิดปกติของผู้สูงวัยได้เร็ว   รวมถึงการดูแลใส่ใจจะช่วยควบคุมโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรก ชะลอให้เกิดโรคช้าลง หรืออาจไม่เกิดโรคเลยได้ 
  • ผลการศึกษาพบว่าการมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์  และการนอนหลับที่ดี ช่วยปกป้องสมองจากความเสื่อม หรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 40%  
  • การตรวจโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้หลายปีก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ช่วยตรวจค้นหาก่อนที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต และชะลอการดำเนินโรคของภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้วให้ช้าลงได้  

แม้อายุที่มากขึ้นจะเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากความเสื่อมของทุกอวัยวะในร่างกาย รวมถึงสมอง แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุทุกคนจะต้องเป็น “อัลไซเมอร์”   

อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากคนในครอบครัวคอยสังเกตความผิดปกติของผู้สูงวัยในบ้านได้เร็ว ตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงการดูแลใส่ใจจากลูกหลาน จะช่วยควบคุมโรคในระยะแรก ชะลอให้เกิดโรคช้าลง หรืออาจไม่เกิดโรคเลยก็ได้

สัญญาณเตือนอัลไซเมอร์

    อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือการสูญเสียความจำระยะสั้น ซึ่งเป็นอาการใกล้เคียงกับอาการขี้หลงขี้ลืมตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วย  80-90 % จะมีอาการทางพฤติกรรมหรือทางจิตร่วมด้วย 
อาการของโรคอัลไซเมอร์จะดำเนินไปเรื่อยๆ กินเวลาหลายปี โดยจะแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง  3 ระยะ ดังนี้   

  • ระยะเริ่มต้น หลงลืม ถามซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ในเรื่องเดิม อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย แต่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
  • ระยะกลาง  ความจำแย่ลง สับสน ลืมวันเวลา  นอนไม่หลับ และที่พบบ่อยคือ หลงทาง  บางพบอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
  • ระยะท้าย เริ่มตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง  เกิดภาพหลอน  เรียกร้องความสนใจ หรือก้าวร้าวขึ้น อาการทางกาย เช่น รับประทานอาหารน้อยลง เคลื่อนไหวช้า หรือไม่สามารถเดินเองได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ด เนื่องจากกลั้นไม่อยู่ และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ภูมิคุ้มกันค่อยๆ อ่อนแอลง นำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิต

วิธีป้องกันพ่อแม่จากโรคอัลไซเมอร์

  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคและวางแผนการดูแล เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่เพียงการสูญเสียความทรงจำ แต่ยังกระทบต่ออารมณ์ ความรู้สึก การสื่อสาร อีกทั้งยังเป็นโรคที่กินระยะเวลายาวนานนับสิบปี ลูกหลานจึงต้องวางแผนการดูแลที่ครอบคลุม ทั้งด้านการเงิน ที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม โดยการศึกษาและทำความเข้าใจโรค  เพื่อค้นหาวิธีชะลอโรค รวมถึงสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุด้วยวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ผลการศึกษาพบว่าการมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีช่วยปกป้องสมองจากความเสื่อม หรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 40% ดังนี้
    1. อาหาร สนับสนุนให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น  พบมากในผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่และผักหลากสี ไขมันดี ช่วยป้องกันภาวะอัลไซเมอร์ไม่ให้เกิดขึ้นเร็วเกินไป จากน้ำมันมะกอกและโอเมก้า 3 จากปลาน้ำลึก คาร์โบไฮเดรต  เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่อุดมด้วยวิตามินบี  ช่วยบำรุงระบบประสาท รวมถึงช่วยให้ผ่อนคลาย และสารโคลิน  เพิ่มความสามารถในการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยในการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกจากตับ พบในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และถั่ว  
    2. ออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนไปยังสมอง ส่งผลดีต่อสุขภาพของเซลล์สมองมีงานวิจัยพบว่า คนอายุมากกว่า 50 ปี ที่ออกกำลังกาย ทั้งแบบแอโรบิกและแบบแรงต้าน ช่วยชะลอสมองเสื่อมได้ โดยให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างน้อย 30 นาที 2 ครั้ง/สัปดาห์    
    3. อารมณ์ มอบความรัก ความใกล้ชิด และพูดคุยกับพ่อแม่อยู่เสมอ ความเข้าใจของคนในครอบครัว รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ พูดคุยกัน ช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข กรณีไม่มีเวลา การทักทายในไลน์ครอบครัว ส่งภาพสวัสดี ช่วยให้ผู้สูงอายุฝึกสมอง จดจำวัน เวลาได้  
    4. การนอนหลับ ดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้เหมาะกับการนอนหลับที่ดี ขณะนอนหลับสนิทสมองจะมีกระบวนการกำจัดเศษชิ้นส่วนเทาและอะไมลอยด์ (ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์) สิ่งสำคัญคือต้องเป็นการหลับที่มีคุณภาพและได้ปริมาณที่เหมาะสมตามวัย
  • ชวนพ่อแม่เล่นเกม 
    การวิจัยบ่งชี้ว่าเกมฝึกสมองสามารถช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ให้เกิดช้าลง  สิ่งสำคัญคือต้องเลือกเกมที่เพิ่มความท้าทายและความหลากหลายอย่างต่อเนื่อง หากเล่นแต่เกมเดิมๆ สมองอาจไม่ถูกท้าทาย  และเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ 
  • เพิ่มงานอดิเรก ชวนผู้สูงวัยทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี หรือทำกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มการใช้สมอง
  • เข้าสังคมหรือร่วมทำกิจกรรมสันทนาการ  การได้พูดคุยหรือเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม  นอกจากจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่นแล้ว ยังช่วยให้ต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถาม ตอบข้อสงสัยและแลกเปลี่ยนความคิด  
  • ร่วมมือกันควบคุมโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด   ทั้งนี้ลูกหลานสามารถพาผู้สูงวัยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี  รวมถึงพบแพทย์ตามนัดสำหรับโรคประจำตัวอื่นๆ ดูแลการรับประทานยา เพื่อให้โรคอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ 
  • พาคุณพ่อคุณแม่เข้ารับการตรวจเพื่อทำนายโรคอัลไซเมอร์  
    การตรวจโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้หลายปี ก่อนที่ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ  ช่วยตรวจค้นหาก่อนที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมในอนาคต และชะลอการดำเนินโรคของภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้วให้ช้าลง  
    ในอดีต มีการใช้การทดสอบ PET scan หรือการเจาะตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจหาระดับโปรตีนที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนที่เรียกว่า “โปรแกรม เจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคอัลไซเมอร์แฝง P-TAU” ซึ่งช่วยให้การทดสอบในห้องปฏิบัติการสามารถวัดระดับโปรตีนก่อโรคในตัวอย่างเลือด ทำให้การทดสอบง่ายขึ้นมากและเจ็บปวดน้อยลง รู้ผลภายใน 90 วัน สามารถทำนายการเกิดโรคในอนาคต ได้ล่วงหน้า 10 ปี  และผลวิเคราะห์แม่นยำถึง 94% นอกจากนี้ยังสามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ ถึงวิธีป้องกันสุขภาพสมองจากภาวะอัลไซเมอร์ ผ่านการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลเพิ่มเติม ที่สามารถช่วยรักษาสุขภาพสมองได้

รายละเอียดการตรวจ

เชื่อว่าลูกหลานทุกคนคงไม่ต้องการเห็นคุณพ่อคุณแม่หรือผู้สูงอายุในครอบครัวต้องประสบปัญหาเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคอัลไซเมอร์เบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง หมั่นตรวจเช็กสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ควรอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ นอกจากนี้ไม่ควรขาดเรื่องการดูแลสุขภาพใจ  ไม่สร้างความเครียด ส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีจิตใจเบิกบาน และสิ่งสำคัญคือการเข้ารับการตรวจเพื่อทำนายโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงรับคำแนะนำหลักการความเป็นอยู่ที่ดี  

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?