โรคหัวใจที่เราได้ยินกันนั้นจริงๆ แล้วมีความหมายกว้างมาก เราอาจจะสามารถจัดหมวดหมู่ของโรคหัวใจอย่างคร่าวๆ เช่น โรคที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อและ/หรือลิ้นหัวใจ โรคที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โรคที่มีความผิดปกติของการนำกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือโรคที่มีความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นต้น ซึ่งโรคหัวใจบางชนิดอาจจะมีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยปัจจัยและความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจ ได้แก่
หลายๆ ครั้ง โรคหัวใจต่างๆ ก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ตามสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคหัวใจคือปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งคนที่ดูแข็งแรงดี ออกกำลังกายเป็นประจำและไม่มีอาการผิดปกตินั้น ก็อาจเป็นโรคหัวใจที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมได้เช่นกัน
โดยพบว่าโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิดพบได้สูงถึง 1 ใน 200 ของประชากรทั่วไป ซึ่งถือว่าพบได้ค่อนข้างมากทีเดียว ทำให้เกิดความสูญเสียจากโรคหัวใจได้ในผู้ป่วยที่อายุยังน้อย และสามารถถ่ายทอดทางสายเลือดต่อไปยังบุตรหลานได้
กรณีตรวจพบว่ามีโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยทั่วไปแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับตัวโรค วางแผนการรักษาโรค และนัดตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแพทย์จะแนะนำให้นำบุคคลในครอบครัวมาตรวจคัดกรองว่ามีความเสี่ยงที่จะมีโรคหัวใจชนิดเดียวกันกับผู้ป่วยหรือไม่ โดยซักถามอาการ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจยีนด้วย
การเข้ารับการตรวจยีนตั้งแต่ยังไม่มีอาการเมื่อทราบว่ามีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจและสงสัยว่าจะเป็นโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้น จะสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค และให้การดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรค หรือบรรเทาอาการรุนแรงของโรคและป้องกันความเสี่ยงการเสียชีวิตฉับพลันจากโรคหัวใจได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่