ไม่อยากให้ลูกคนที่ 2 ต้องเสี่ยง วางแผนตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์

ไม่อยากให้ลูกคนที่ 2 ต้องเสี่ยง วางแผนตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์

HIGHLIGHTS:

  • หากลูกคนแรกมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์และทำการตรวจว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ หากเกิดจากพันธุกรรมก็จะสามารถส่งต่อไปยังลูกคนที่สองได้ 
  • กรณีลูกคนแรกมีความผิดปกติจากพันธุกรรม  สามารถป้องกันการส่งต่อไปยังลูกคนที่สอง ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว ตรวจยีนเพื่อดูความผิดปกติของตัวอ่อน จากนั้นจึงใส่ตัวอ่อนกลับไปฝังในมดลูก    
  • การตรวจยีนเป็นการตรวจคัดกรองเฉพาะโรค โดยเน้นตรวจยีนหรือโรคที่พบบ่อยและมีความรุนแรง คู่แต่งงานสามารถเลือกจำนวนของโรคที่ตรวจตามความเสี่ยงได้ และความแม่นยำขึ้นอยู่กับโรคแต่ละโรค โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวชมีการตรวจยีนให้เลือกตรวจมากกว่า 400 ยีน ครอบคลุม 400 โรค  ผลวิเคราะห์แม่นยำ 99.5 %      
     

ไม่อยากให้ลูกคนที่สองต้องเสี่ยง มีวิธีป้องกันอย่างไร

หากลูกคนแรกมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์และทำการส่งตรวจว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ หากเกิดจากพันธุกรรมก็จะสามารถส่งต่อไปยังลูกคนที่สองได้ 

หลังจากตรวจแล้ว ถ้ามีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำเรื่องการเตรียมการตั้งครรภ์อย่างไร

หากความผิดปกติของลูกคนแรกเกิดจากพันธุกรรม แพทย์อาจแนะนำวิธีการป้องกันการส่งต่อไปยังลูกคนที่สอง เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว   ตรวจยีนเพื่อหาความผิดปกติก่อน หากไม่พบยีนที่ผิดปกติ จึงใส่ตัวอ่อนกลับไปฝังในมดลูก การเจาะรกหรือน้ำคร่ำ ตรวจยีนหลังตั้งครรภ์ การใช้อสุจิหรือไข่บริจาค หรือการรับบุตรบุญธรรม โดยแต่ละวิธีมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาแตกต่างกัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำปรึกษาขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและโอกาสในการเกิดโรค

การตรวจยีน มีความแม่นยำแค่ไหน ตรวจโรคอะไรได้บ้าง

การตรวจยีนจะเป็นการตรวจคัดกรองเฉพาะโรค ไม่ได้ตรวจทุกยีนของโรคนั้น ๆ โดยเน้นตรวจยีนที่พบบ่อย ตรวจโรคที่พบบ่อยและมีความรุนแรง คู่แต่งงานสามารถเลือกจำนวนของโรคที่ตรวจตามความเสี่ยงได้ และความแม่นยำขึ้นอยู่กับโรคแต่ละโรค โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวชมีการตรวจยีนให้เลือกตรวจมากกว่า 400 ยีน ครอบคลุม 400 โรค  ผลวิเคราะห์แม่นยำ 99.5 %*    

ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีสงสัยความผิดปกติในลูกคนแรก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาและพิจารณาตรวจยีนหาความผิดปกติได้ 

* ข้อมูลอัพเดต มีนาคม 2567   

ทราบได้อย่างไรว่าลูกคนแรกเป็นโรคหรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

เริ่มจากการสังเกตว่าเด็กมีความผิดปกติ มีอวัยวะพิการ หรือมีพัฒนาการช้าหรือไม่ ถ้ามี ให้พิจารณาส่งตรวจยีนหรือโครโมโซมว่า จึงจะรู้ว่าลูกมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ เพราะความผิดปกติของอวัยวะ หรือโรคบางโรคจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่ในบางโรคอาจไม่เกี่ยวข้องกัน  

ถ้าลูกคนแรกผิดปกติ ลูกคนต่อมามีความเสี่ยงแค่ไหน

ขึ้นกับผลตรวจของลูกคนแรกว่าเป็นอะไร ความผิดปกติเกิดขึ้นจากพันธุกรรมหรือเกิดขึ้นเอง ถ้าเกิดขึ้นจากพันธุกรรมเป็นแบบไหน เพราะโรคทางพันธุกรรมแต่ละชนิด มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำไม่เท่ากัน หากโรคของลูกคนแรกไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม ลูกคนต่อมาก็มักจะมีโอกาสผิดปกติน้อยมาก 

โรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติอะไรบ้างที่พบได้บ่อย

ตามสถิติทั่ว ๆ ไป โรคทางพันธุกรรมที่พบบ่อย เช่น

1. ออทิสติก (Autistic)

2. ดาวน์ซินโดรม

3. ตาบอดสี

4. ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)

5. มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย (Leukemia)

6. โรคซีสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis)

7. ฮีโมฟีเลีย

8. โรคพร่องเอนไซม์ G6PD

9. เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s syndrome)

10. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (SMA)

11. โรคฟีนิลคีโตนูเรีย

12. โรควิลสัน (Wilson disease)

13. ความผิดปกติในการสะสมไกลโคเจนชนิดที่สอง (Glycogen storage disease type 2)

14. กลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์ (Fragile X syndrome)

15. โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน

16. กาแลคโตซีเมีย

17. โรคหูหนวก (Hearing Loss)

ไม่อยากให้ลูกคนที่สองต้องเสี่ยง มีวิธีป้องกันอย่างไร

หากลูกคนแรกมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์และทำการส่งตรวจว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากพันธุกรรมหรือไม่ หากเกิดจากพันธุกรรมก็จะสามารถส่งต่อไปยังลูกคนที่สองได้ 

หลังจากตรวจแล้ว ถ้ามีความเสี่ยง แพทย์จะแนะนำเรื่องการเตรียมการตั้งครรภ์อย่างไร

หากความผิดปกติของลูกคนแรกเกิดจากพันธุกรรม แพทย์อาจนำวิธีการป้องกันการส่งต่อไปยังลูกคนที่สอง เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ตรวจความผิดปกติของยีนก่อนใส่ตัวอ่อนกลับไปฝังในมดลูก การเจาะรกหรือน้ำคร่ำ  ตรวจยีนหลังตั้งครรภ์  การใช้อสุจิหรือไข่บริจาค หรือการรับบุตรบุญธรรม โดยแต่ละวิธีมีค่าใช้จ่ายและใช้เวลาแตกต่างกัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้คำปรึกษาขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและโอกาสเกิดโรค

ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีสงสัยความผิดปกติในลูกคนแรก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาและพิจารณาตรวจยีนหาความผิดปกติได้

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?