โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการแสดงออกของยีน

โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับการแสดงออกของยีน

Highlights:

  • นิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) หรือโภชนพันธุศาสตร์ เป็นการตรวจยีน เพื่อค้นหาการตอบสนองของร่างกายต่อชนิดอาหารและสารอาหารที่แตกต่างกัน   
  • การตรวจโภชนพันธุศาสตร์ ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของตัวเรากับอาหารได้ดีขึ้น ส่งผลให้ได้รับประโยชน์ในการวางแผนสัดส่วนของอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน 
  • โภชนพันธุศาสตร์ สามารถช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่พบบ่อย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงปัญหาการขาดวิตามิน

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการถอดรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ เพื่อทำความเข้าใจร่างกายแต่ละบุคคลที่มียีนแตกต่างกัน ส่งผลให้แนวทางการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงได้ผลดีที่สุด

ทางด้านโภชนาการก็มีการตื่นตัว โดยนำความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมเพื่อศึกษาการตอบสนองต่ออาหารที่บริโภคในแต่ละบุคคล

นิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) หรือโภชนพันธุศาสตร์ คืออะไร

นิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) หรือโภชนพันธุศาสตร์ คือการศึกษาหาปฏิกิริยาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างอาหาร กับการแสดงออกของยีน เป็นการตรวจยีน เพื่อศึกษาสารอาหารต่างๆ ที่มีผลต่อร่างกายของแต่ละบุคคล โดยใช้ความรู้ทางพันธุกรรมค้นหาการตอบสนองของร่างกายต่อชนิดอาหารและสารอาหารที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังสามารถบ่งชี้ได้ว่าร่างกายของแต่ละคนต้องการสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุชนิดใดเป็นพิเศษ 

ประโยชน์จากการตรวจนิวทริจีโนมิกส์

การตรวจยีนเพื่อค้นหาโภชนพันธุศาสตร์ ช่วยตอบข้อสงสัยว่าทำไมบางคนรับประทานแป้งได้มากกว่าบางคน โดยไม่ทำให้น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน เนื่องจากแต่ละคนมีความไวต่ออาหารแต่ละประเภทแตกต่างกัน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง การตรวจโภชนพันธุศาสตร์ จะทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของตัวเรากับอาหารต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้รู้ว่าร่างกายของแต่ละคนสร้างเอนไซน์เหมาะกับอาหารชนิดใดมากน้อยเป็นพิเศษ ส่งผลให้ได้รับประโยชน์ในวางแผนสัดส่วนของอาหารที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เมื่อได้รับอาหารที่เหมาะสมจะส่งผลไปถึงระบบเผาผลาญ และเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างเหมาะสม ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น

โภชนพันธุศาสตร์ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีทางชีวภาพ ด้วยการตรวจยีนและประมวลผล เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพ  ดังนี้

  • ความต้องการสารอาหาร โดยการประมวลผลว่าร่างกายของผู้ได้รับการตรวจนั้น สามารถดูดซึม และนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด รวมถึงมีแนวโน้มที่ร่างกายจะต้องการสารอาหารใดเป็นพิเศษ  
  • ความไวต่ออาหาร แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความไวต่ออาหารแต่ละประเภทอย่างไร เช่น ร่างกายตอบสนองต่อคาร์โบไฮเดรตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นง่าย นอกจากนี้ยังสามารถดูเรื่องความไวต่อรสชาติอาหาร บางคนสามารถรับรู้และแยกแยะรสชาติอาหารได้ดีกว่า เป็นต้น  
  • สุขภาพองค์รวม แสดงให้เห็นถึงอัตราการเผาผลาญพลังงานของแต่ละบุคคล การตอบสนองต่อการอักเสบ รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคและความสามารถในการควบคุมความอยากอาหารที่แตกต่างกัน
  • สมรรถภาพทางร่างกาย การตรวจความสามารถและสมรรถภาพทางร่างกาย ว่าเหมาะกับการออกกำลังกายแบบใด วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องการออกกำลังกาย รวมถึงความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ ประสิทธิภาพของการนำออกซิเจนไปใช้ ความทนทานของร่างกาย และระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังออกกำลังกาย

ความเชื่อมโยงทางโภชนาการกับโรคเรื้อรัง

Ben van Ommen ผู้อำนวยการองค์การโภชนาการแห่งยุโรป และเพื่อนร่วมงานตั้งสมมติฐานว่าโรคต่างๆ สามารถลดลงได้ในกระบวนการที่ครอบคลุม 4 กระบวนการ ได้แก่ การอักเสบ กระบวนการเผาผลาญ การออกซิเดชัน และความเครียดทางจิตใจ โรคต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องทางพันธุกรรมต่อสิ่งกระตุ้นความเครียด ซึ่งโภชนพันธุศาสตร์สามารถช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่พบบ่อย รวมถึงโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับการอักเสบ รวมถึงความผิดปกติทางการรับรู้

ดังนั้นการตรวจโภชนพันธุศาตร์จะช่วยให้หาสาเหตุของโรคเรื้อรังได้อย่างชัดเจน เพื่อหาวิธิป้องกัน หรือสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โภชนศาสตร์พันธุกรรมเหมาะกับใคร

โภชนพันธุศาสตร์ หรือนิวทริจีโนมิกส์  ถูกกำหนดอย่างกว้างๆ ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหาร อาหาร และการแสดงออกของยีน โดยมีศักยภาพในการวางรากฐานของแนวทาง "โภชนาการเฉพาะบุคคล" ที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้โภชนศาสตร์พันธุกรรมยังเหมาะสำหรับใช้ประกอบการวางแผนโภชนาการ เพื่อการลดน้ำหนัก ในผู้มีปัญหาโรคอ้วน เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง  

สำหรับคนทั่วไป สามารถเข้ารับการตรวจ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกรับประทานอาหาร และปริมาณที่เหมาะสม วางแผนการออกกำลังกาย ความหนักและเวลาการออกกำลังกาย รวมถึงการกำหนดระยะการฟื้นฟูร่างกายให้เพียงพอ

การตรวจนิวทริจีโนมิกส์ (Nutrigenomics) หรือโภชนพันธุศาสตร์ ทำได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่

การตรวจโภชนศาสตร์พันธุกรรมสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป  โดยตรวจได้ 2 แบบ คือ

  • เยื่อบุกระพุ้งแก้ม 
  • การตรวจเลือด

การตรวจนูทริจีโนมิกส์ เป็นหนึ่งทางเลือกที่ตรงเป้าหมายเฉพาะบุคคล ทั้งการเลือกรับประทานอาหารและปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงการเลือกวิธีออกกำลังกายอย่างถูกต้อง   เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?