เชื่อว่าหลายคนคงเคยเป็นหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับอาการตากระตุก หรือตาเขม่นกันมาไม่มากก็น้อย บางคนก็นำไปเชื่อมต่อกับเรื่องดวงหรือโชคลางเสียด้วยซ้ำ อย่างที่เคยได้ยินประโยคที่ว่า "ขวาร้ายซ้ายดี"
ตากระตุก (Eye Twitching) คือ อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ จนทำให้เกิดความรำคาญได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มีอัตราการเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่า โดยทั่วไปอาการตากระตุกนั้นมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดและมักไม่เป็นอันตราย สามารถเกิดขึ้นและหายได้เองในเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีอาการอาจรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้ เช่น อาการตากระตุกเกร็งจนทำให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมา หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น แต่กรณีนี้พบได้น้อยมาก
อาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสัญญาณเตือนให้เรารู้ล่วงหน้า โดยมักเกิดขึ้นจากปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ดังนี้
ตาขวากระตุกอาจไม่ได้หมายถึงโชคร้าย โดยทั่วไปแล้ว อาการตากระตุกมักจะเป็นเพียงไม่กี่วันและสามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้
จะเห็นได้ว่า อาการตากระตุกนั้น แม้เป็นอาการที่ไม่อันตราย และส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นและหายไปเองอย่างรวดเร็ว แต่ก็สร้างความรำคาญให้ผู้ที่เป็นได้พอสมควร ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการตากระตุกที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จึงควรดูแลตัวเองด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยการเกิดตากระตุกแทน
โดยแนะนำให้ใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเอง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ จำกัดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟน จำกัดปริมาณการสูบบุหรี่ และปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดด้วยเช่นกัน เช่น โยคะ ออกกำลังกาย ปลูกต้นไม้ เป็นต้น เท่านี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและโอกาสการเกิดตากระตุกได้ แต่หากมีอาการต่อเนื่องยาวนาน ดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่