Work from Home ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม

Work from Home ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม

HIGHLIGHTS:

  • การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ นานเกินไป มีความเสี่ยงต่อการที่ดวงตาจะได้รับแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์เหล่านั้น ระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้
  • สาร ลูทีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่สะสมบริเวณจอดวงตา ช่วยดูดซับแสงสีฟ้าและคอยปกป้องจอประสาทตาช่วยชะลอความเสื่อมของโรคจอประสาทตาได้
  • วิธีลดความเสี่ยงโรค จอประสาทตาเสื่อม จากแสงสีฟ้าที่มาจากคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือทีวี คือ ลดความสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดฟิล์มหรือกระจกลดแสง พักสายตาทุก 20 นาที  ทานผักผลไม้สีเหลืองส้มหรือ เสริมด้วยอาหารเสริมที่มีสารลูทีนช่วยดูแลดวงตา 10-20 มิลลิกรัมต่อวัน ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ 40%

โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัวแล้ว  เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกต่อยอดและพัฒนาเป็นอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของแต่ละอาชีพ สู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์  การทำงานหรือทำธุรกิจในปัจจุบัน สามารถทำที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีอุปกรณ์สื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบาย ไม่ติดความจำเจ แต่บางครั้งถ้าไม่ได้ทันระวังหรือติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้จนไม่สนใจคนรอบข้างหรือครอบครัว อาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย เช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โรคออฟฟิศซินโดรม โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น 

ปัจจุบันเราพบว่า อุปกรณ์หลายชนิดที่เราใช้กัน เป็นแหล่งกำเนิดแสงสีฟ้า ที่อาจมีผลกระทบต่อดวงตา แสงฟ้าในชีวิตประจำวันนั้น มาจากอะไรได้บ้าง

  • ดวงอาทิตย์ มีปริมาณของแสงที่มีความเข้มมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ
  • อุปกรณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเฉพาะจากหลอด LED จอคอมพิวเตอร์ จอโน๊ตบุ๊ค จอโทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต

แสงสีฟ้า ที่ควรระวัง

แสงสีฟ้าที่เราเจอนั้นมี 2 ประเภท ได้แก่

  • แสงสีฟ้าที่ดี จะช่วยทำให้เรากระฉับกระเฉง มีความสำคัญต่อการหลับ – การตื่น ของระบบร่างกาย มีช่วงความยาวคลื่น 470 nm
  • แสงสีฟ้าที่เป็นโทษ จะอยู่ในช่วงคลื่นที่ 415-455 nm จะเป็นแสงที่ส่งผลเสียทำให้จอประสาทตาเราค่อยๆ เสื่อมลงได้ เพราะสามารถกระตุ้นการสร้าง Lipofuscin (เม็ดสีหรือของเสียจากเซลล์ที่เกิดจากการกระตุ้นจากอนุมูลอิสระ) ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)

กลไกการป้องกันแสงสีฟ้าของร่างกาย

ในธรรมชาติแม้จะมีสารแคโรทีนอยด์ มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่พบในจุดรับภาพของจอตา ทำหน้าที่ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย อีกทั้งยังช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสาร 2 ชนิดนั้น คือ ลูทีนและซีแซนทีน

อาหารที่เป็นแหล่งของลูทีนและซีแซนทีนในธรรมชาตินอกจากจะพบมากในดอกดาวเรืองและโกจิเบอร์รี่ (เก๋ากี้) แล้ว ยังพบใน ข้าวโพด ไข่ แครอท ผักคะน้า กะหล่ำ ผักโขม ถั่วลันเตา ถั่วพิสตาชิโอ บร็อคโคลี่ ผักบุ้ง ผักปวยเล้ง ผักโขม แตงกวาทั้งเปลือก  อะโวคาโด และฟักทอง เป็นต้น  ปกติแล้วสารลูทีนและซีแซนทีน เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่ไม่ถูกร่างกายเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ แบบเบต้าแคโรทีน ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที และไม่พบการสะสมภายในร่างกายหากได้รับมากเกินไป

ผลกระทบจาก แสงสีฟ้า

  • ภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) สังเกตโดย อาจมีอาการปวดตา ตาแห้ง ตาพร่า น้ำตาไหล
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD) เนื่องจากคลื่นแสงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) และกระตุ้นการสร้าง Lipofuscin (เม็ดสีหรือของเสียจากเซลล์ที่เกิดจากการกระตุ้นจากอนุมูลอิสระ) ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • รบกวนสมดุลฮอร์โมนเมลาโทนิน ทำให้ระดับฮอร์โมนเมลาโทนินลดลง 70% ซึ่งจะทำให้เรานอนหลับยากขึ้นและเสียสมดุลการนอนหลับ ดังนั้น ควรงดการเล่นโทรศัพท์หรือดูทีวีก่อนนอนในความมืดหรือห้องที่ปิดไฟ

Work from Home อย่างไรไม่ให้เสียสายตา

  • ลดความสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
  • ติดฟิล์มลดแสงหรือกรองแสงสีฟ้าที่จอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
  • งดใช้อุปกรณ์ให้แสงสีฟ้าในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น เล่นสมาร์ทโฟนในที่มืด ปิดไฟดูโทรทัศน์ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงภัยจากแสงสีฟ้าทั้งสิ้น
  • พักสายตาทุก 20 นาที
  • ทานอาหารที่เป็นแหล่งของ ลูทีน และซีแซนทีน
  • เสริมวิตามินช่วยดูแลดวงตา
  • การพักสายตาที่ดีที่สุดคือการนอน แต่ถ้าไม่สามารถนอนได้ ให้มองไปไกลๆ เพื่อลดการเพ่งของสายตา เป็นการบรรเทาความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาได้

วิตามินบำรุงสายตา หรือสารอาหารที่ช่วยบำรุงและปกป้องดวงตา

  • สารในตระกูลแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) เช่น ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ซึ่งพบในบริเวณเนื้อเยื่อตา และพบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจกและโรคจอตาเสื่อม ได้ 40%  ทั้งยังช่วยกรองแสงสีฟ้าที่อาจทำลายดวงตา
  • สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) จากบิลเบอร์รี (Bilberry) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก ช่วยป้องกันต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม ต้านการอักเสบ และเพิ่มระดับของโรดอปซิน (rhodopsin) ซึ่งจำเป็นต่อการปรับสายตาในที่แสงน้อยหรือการมองเห็นในที่มืด
  • สารไลโคปีน (Lycopene) จากผิวมะเขือเทศ เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ช่วยป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา
  • สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) พบในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่รวม (Mixed Berry Blend) เช่น บิลเบอร์รี (Bilberry) แครนเบอร์รี (Cranberry) บลูเบอร์รี (Blueberry) ราสเบอร์รี (Raspberry) โกจิเบอร์รี (Goji Berry) หรือเก๋ากี้ ต่างก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของจอประสาทตา ฟื้นฟูเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา
  • สารเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ป้องกันดวงตาจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต
  • วิตามินเอ (Vitamin A) วิตามินสำหรับดวงตา มีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานของเซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุทั่วร่างกายให้เป็นปกติ
  • วิตามินอี (Vitamin E) และวิตามินบีรวม (Vitamin B Complex) เป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ดี ป้องกันการทำลายเซลล์หรือลดความเสื่อมของตา
  • สารสกัดจากเปลือกสน (Pine Bark Extract) และสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grape Seed Extract) ต่างมีสารที่ชื่อ OPC ช่วยเสริมความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา ป้องกันโรคเบาหวานขึ้นตา นอกจากนั้นยังช่วยลดความหยาบกร้านของเซลล์ผิว ลดการเกิดกระและฝ้า ทำให้ผิวพรรณกระจ่างใส
  • สารสกัดจากมะขามป้อม (Emblica Extract) อุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยบำรุงเส้นเลือดฝอยและรักษาทำงานของเซลล์จอประสาทตา ช่วยลดอาการคันและอาการตาแห้งได้

แม้ในปัจจุบันเราอาจจะหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้าไม่ได้ แต่เราสามารถดูแลดวงตาของเราแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เรามีดวงตาที่แข็งแรงไปได้นาน คนไทยในปัจจุบันมากกว่า 50% มักเป็นโรคเกี่ยวกับดวงตา เมื่ออายุขึ้นเลข 4 ดังนั้น ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพตาทุกๆ 1-2 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคตาต่างๆ เช่น ต้อหิน ต้อกระจก ก่อนวัยอันควร

References
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?