การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด คือการมีเลือดปนออกมาทางทวารหนัก โดยเป็นได้ทั้ง ถ่ายเป็นเลือดสด (มีสีแดงสด) หรือเป็นเลือดเก่า ๆ (มีสีแดงคล้ำ น้ำตาล หรือดำ) ทั้งลักษณะเป็นหยด หรือ ปนอยู่ในก้อนอุจจาระ หรืออุจจาระลักษณะเป็นสีดำ และ มีทั้งที่มีอาการปวดหรือไม่ปวดขณะถ่ายอุจจาระ ซึ่งลักษณะที่แตกต่างกันนี้อาจบ่งบอกถึงสาเหตุและโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเป็นเลือด ควรสังเกตสี ลักษณะ อาการอื่นที่ร่วมด้วย เพื่อสามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ได้
การถ่ายเป็นเลือดสามารถเป็นอาการของโรคได้หลายโรค ไม่เฉพาะเพียงแต่ริดสีดวงทวารเท่านั้น โดยโรคที่อาจทำให้มีอาการถ่ายเป็นเลือด ได้แก่
เนื่องจากอาการของริดสีดวงทวารหนัก และเนื้องอก/มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย บางครั้งมีความคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะถ้ามีอาการดังนี้ ควรมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคให้ชัดเจนและนำไปสู่การรักษาที่เหมาะสม (เพราะในปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่มีอายุน้อยก็สามารถเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน)
ริดสีดวงทวาร คือ การที่เส้นเลือดบริเวณทวารหนักมีการโป่งพองจากการเบ่งหรือแรงดันอย่างต่อเนื่อง บางครั้งเส้นเลือดที่โป่งพองมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถยุบตัวลงไปเองได้ อาจเกิดการแตก หรือมีเลือดออกเป็นหยดหลังการถ่ายหรืออาจพบเมื่อทำความสะอาด และอาจเกิดความเจ็บปวดได้ในบางราย บางรายอาจคลำได้ก้อนบริเวณทวารหนัก มีอาการคัน หรือขับถ่ายไม่สะดวก
โดยริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
วิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของแต่ละบุคคล ได้แก่
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนักภายใน ระยะที่ 1 และ 2 คือขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งมีหลายวิธี ดังนี้
การรักษาโดยการผ่าตัดริดสีดวง
เหมาะกับริดสีดวงภายนอกอักเสบ และ ริดสีดวงภายใน ระยะที่ 3 และ 4
มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่มีการเจริญเติบโตที่บริเวณลำไส้ใหญ่ และมักสัมพันธ์กับติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โดยในบางราย อาจพบมีเลือดปนมากับอุจจาระ โดยมีลักษณะเป็นเลือดปนอยู่ในเนื้ออุจจาระ หรือเคลือบอยู่กับอุจจาระ บางรายมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายดำ ท้องผูกสลับท้องเสีย อาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือหากเป็นในระยะรุนแรงอาจมีอาการของลำไส้ใหญ่อุดตัน โดยผู้ป่วยจะมาด้วยอาการถ่ายอุจจาระผิดปกติ ปวดท้องและอุจจาระมีขนาดเล็กกว่าปกติ
การวินิจฉัยสามารถทำได้ตั้งแต่ในระยะต้น โดยปัจจุบันมีการแนะนำการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี หรือทุกช่วงอายุที่มีอาการผิดปกติและมีความเสี่ยง เช่น ประวัติโรคมะเร็ง และเนื้องอกในครอบครัวเป็นต้น
ในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่จะตรวจสอบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมักสัมพันธ์กับมะเร็งหรือไม่ หรือหากพบความผิดปกติอื่น ๆ แพทย์ก็จะตัดติ่งเนื้อนั้นผ่านกล้อง และ นำชิ้นเนื้อนั้น ๆ ออกมาตรวจพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งชนิดที่ถ้าตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาขึ้นอยู่กับระยะและชนิดของมะเร็ง
การถ่ายเป็นเลือด สามารถป้องกันได้โดยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือกากใย เช่น ผัก ผลไม้ เพื่อป้องกันท้องผูก หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาระบายหากใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่