WHO ฟันธง เนื้อแดง อาหารแปรรูป เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

WHO ฟันธง เนื้อแดง อาหารแปรรูป เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

HIGHLIGHTS:

  • องค์การอนามัยโลกออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า เนื้อแดง และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก ซาลามี่ เนื้อกระป๋อง เป็นอาหารที่ก่อให้เกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • การกินผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อเพิ่มขึ้น 50 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น 18% และ การกินเนื้อแดงเพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ขึ้นอีก 17%
  • ในเนื้อแดงมีไขมันอิ่มตัวสูง โดยเฉพาะหากนำไปปรุงสุกในอุณหภูมิสูงจะยิ่งก่อให้เกิดสารก่อ มะเร็งลำไส้ใหญ่

คงเป็นเรื่องน่าเสียใจสำหรับหลายๆ คนที่ชอบบริโภคเนื้อแดงและอาหารแปรรูป เมื่อองค์การอนามัยโลกประกาศให้เนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งหมายถึงเนื้อสัตว์ที่ได้รับการแปรรูปผ่านการบ่ม การหมัก และการรมควัน รวมถึงกระบวนการอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ หรือยืดอายุการเก็บรักษา  เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก ซาลามี่ เนื้อกระป๋อง และซอสที่ทำจากเนื้อสัตว์ รวมถึงเนื้อแดงต่างๆ (วัว หมู แพะ แกะ)  เป็นอาหารก่อมะเร็ง 

โดยคณะทำงาน ได้อ้างอิงถึงข้อแนะนำทางโภชนาการว่า การกินผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อเพิ่มขึ้น 50 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น 18% และ การกินเนื้อแดงเพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ขึ้นอีก 17%

ความสัมพันธ์ระหว่าง อาหารแปรรูป เนื้อแดง มะเร็ง

หลังจากมีการศึกษาวิเคราะห์และงานวิจัยมากมาย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกินเนื้อแดงและ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ในที่สุด WHO โดยคณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ 22 คน จาก 10 ประเทศ ได้ทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับส่วนผสม 50 อย่าง ในอาหารแปรรูปแบบตะวันตก พบว่ามีถึง 40 อย่างที่ส่งผลต่อมะเร็ง โดยจัดให้เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed meat) อยู่ในสารก่อมะเร็งกลุ่ม 1 (ระดับเดียวกับสารหนู แร่ใยหิน แอลกอฮอล์ และยาสูบ) และจัดเนื้อแดง (Red meat) ให้อยู่สารก่อมะเร็งระดับ 2A คือ เป็นระดับ “น่าจะ (probably)” ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 34,000 คนต่อปี จากทั่วโลกมีสาเหตุมาจากการบริโภคเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณมาก

สารในเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป

สารพิษที่ใส่เพื่อใช้ในการแปรรูปเนื้อสัตว์ โดยทั่วไปมักใช้โปตัสเซียมไนเตรท เพื่อช่วยคงสภาพให้เนื้อสัตว์เก็บไว้ได้นานและมีสีแดงน่ารับประทาน รวมถึงมีสารกันบูดประเภทไนไตรท์ และโซเดียมไนเตรท ที่ช่วยไม่ให้เชื้อแบคทีเรียในอาหาร เจริญเติบโต ซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็งเช่นกัน  หากร่างกายได้รับสารพิษเหล่านี้จำนวนมากเป็นเวลานาน  ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิด มะเร็งลำไส้ใหญ่

ทั้งนี้ในตัวเนื้อแดงเองมีไขมันอิ่มตัวสูง ส่งผลเชื่อมโยงต่อการก่อตัวของมะเร็งลำไส้ใหญ่  โดยเฉพาะหากนำไปปรุงสุกในอุณหภูมิสูงจะยิ่งก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งเอชซีเอ (Heterocyclic Amine – HCA) และสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH)  ซึ่งเกิดจากการปิ้ง ย่าง หากไขมันหยดลงโดนถ่านไฟก็จะทำให้เกิดเป็นควันที่มีสารพิษก่อมะเร็งอีกด้วย

บริโภคเนื้อแดงอย่างไร ให้ห่างไกลมะเร็ง

ถ้าสามารถลดการบริโภค เนื้อแดง มะเร็ง ก็จะไม่ถามหา การบริโภคเนื้อแดงแต่พอดี จะช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้น และหากเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างพอเพียง และยังช่วยในเรื่องการขับถ่าย ลดปัญหาท้องผูก ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เช่นกัน  อย่างไรก็ตาม หากต้องการบริโภคเนื้อแดง ควรปรุงสุกด้วยการต้ม นึ่ง แทนการปิ้ง หรือย่าง

นอกจากนี้การออกกำลังกาย  การพักผ่อน และมีวิถีชีวิตที่ผ่อนคลาย ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ยังช่วยให้ห่างไกลโรคมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ มีภูมิต้านทานโรค สามารถป้องกันโรคร้ายอย่างมะเร็งได้

เมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการจากองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก โดยได้ข้อสรุปจากงานวิจัยระดับนานาชาติที่เชื่อถือได้ คงไม่มีเหตุผลใดที่คนรักสุขภาพจะไม่ปฏิบัติตาม เพื่อห่างไกลจากโรคร้ายที่น่ากลัวอย่างมะเร็งลำไส้ใหญ่ และที่สำคัญอย่าละเลยการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะหากพบความผิดปกติได้เร็ว ก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที

คุณเสี่ยง...มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ?

สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณอายุ 45+ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษปรึกษาคุณหมอทางออนไลน์ ฟรี ! คลิกที่นี่


การเจ็บป่วยทั่วไป คนไข้จะมาหาคุณหมอเมื่อมีอาการผิดปกติ แต่สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ หลายกรณีพบว่าผู้ป่วยไม่พบอาการผิดปกติ

บางครั้งอาการที่พบอาจคล้ายกับอาการของโรคลำไส้และทางเดินอาหารอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นอันตราย เช่น ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ท้องเสียสลับกับท้องผูก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลียอ่อนแรง ซีดจาง บางคนมีเลือดออกปนมาในอุจจาระ ปวดท้องเรื้อรัง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อย ซึ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 2-4 แล้ว

โครงการ #เราไม่อยากให้ใครป่วย ของสมิติเวช ได้เช็คข้อมูลคนไข้ทั้งหมด พบว่า 97% ของคนไข้ ไม่รู้ตัวว่ากำลังเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ อายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่มาก่อน และ กำลังเข้าใจผิด คิดว่าต้องมีอาการก่อน จึงค่อยมาพบคุณหมอ ดังนั้นคุณหมอจึงอยากรณรงค์ให้ทุกคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มาเข้ารับการส่องกล้อง (หากมีญาติสายตรงเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน ควรต้องเข้ามาส่องกล้องเร็วขึ้นเนื่องจากมะเร็งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม)

อย่ารอให้มีอาการ เพราะมีอาการ = มะเร็งลุกลามแล้ว

สนใจเข้ารับการตรวจส่องกล้องป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ต้องทำอย่างไร ผู้รับบริการทุกคนจะต้องพบคุณหมอก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลประวัติส่วนตัว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา รวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ คุณหมอจะให้ข้อมูลการเตรียมตัวการส่องกล้อง รวมถึงตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เมื่อผู้รับบริการตกลงจะเข้ารับการส่องกล้องแล้ว พยาบาลจะขอทำนัดเพื่อส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อีกครั้ง

ต้องการทำนัดพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเรื่องการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การใช้สิทธิ์ประกัน คลิกที่นี่


วิดีโอคอลปรึกษาหมอออนไลน์ เรื่องอะไรได้บ้าง ? คลิกอ่านเพิ่มเติม

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?