5 สารพิษ ปลุกมะเร็งลำไส้ใหญ่

5 สารพิษ ปลุกมะเร็งลำไส้ใหญ่

HIGHLIGHTS:

  • นอกจากอาหารปิ้งย่างเขม่าดำแล้ว อาหารที่ใช้ความร้อนสูง สารกันเสีย อาหารปนเปื้อนยาฆ่าแมลง ก็สามารถกระตุ้นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
  • อาหารที่ทอดในน้ำมันที่ถูกใช้ปรุงอาหารเกินสองครั้งนั้นพบว่า มี สารก่อมะเร็ง ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันที่เสื่อมสภาพ หากสะสมในร่างกายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
  • การตรวจลำไส้ใหญ่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งชนิดนี้ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือชอบทานอาหารปลุกมะเร็ง

“You are what you eat”

เราทานอะไร เราจะเป็นแบบนั้น เป็นคำกล่าวที่จริงเสมอ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากจะเกิดจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถเกิดจากอาหารและสารพิษบางอย่างที่เราไม่ได้ตั้งใจอยากได้ มาดูกันว่า สารก่อมะเร็ง 5 สารพิษที่ปลุก มะเร็งลำไส้ใหญ่ให้ตื่นคืออะไร

1. สาร HCAs และ PAHs

เฮทเทอโรไซคลิก เอมีน (heterocyclic amines; HCAs) และสาร โพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs) สารพิษนี้พบได้จากการรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่างไหม้เกรียม เขม่าดำ เกิดจากความร้อนทำปฏิกิริยาโดยตรงกับไขมันในเนื้อสัตว์ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษ หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมากก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย จนเป็น สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหารได้

2. สารอะคริลาไมด์ (Acrylamide)

สารพิษนี้ พบในอาหารที่ถูกทอดหรืออบด้วยความร้อนสูง เช่น มันฝรั่งทอด ขนมปังกรอบและบิสกิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ทอดในน้ำมันที่ถูกใช้ปรุงอาหารเกินสองครั้งนั้นพบว่า มี สารก่อมะเร็ง ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันที่เสื่อมสภาพ หากสะสมในร่างกายจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร หากสูดดมไอของน้ำมันเข้าไปก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น

3. สารไนเตรต–ไนไตรต์ (Nitrate-Nitrite)

เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารกันที่ทำให้เกิดสีแดงอมชมพูในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม สารไนไตรต์จะทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอมีนในอาหาร ร่วมกับสภาวะความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น ตับอ่อน ทางเดินหายใจ กระเพาะปัสสาวะ ตับ ไต กระเพาะอาหารและลำไส้ หากหลีกเลี่ยงได้ควรทานแต่น้อย

4. สารออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate)

สารก่อมะเร็ง ชนิดนี้ มาจากยาฆ่าแมลงที่ปนเปื้อนมากับผักผลไม้ จากผลสำรวจการใช้ยาปราบศัตรูพืชของเกษตรกรพบว่า สารเคมีที่ชาวสวนใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง  คือ สารออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งท่ามกลางสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบันจะมีสักกี่ครัวเรือนที่ปรุงอาหารกินเอง และเลือกใช้ผักปลอดสารพิษหรือรู้วิธีการล้างผักผลไม้เพื่อลดสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงอย่างถูกวิธี จากงานวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศสารนี้ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน มะเร็งสมอง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

5. แอซีทาลดีไฮด์ (Acetaldehyde)

ซึ่งเป็นสารที่เกิดจาก แอลกอฮอล์  การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณสูง จะทำให้สารนี้เพิ่มมากขึ้นจนร่างกายขับออกไม่ทัน จนสามารถทำลายดีเอ็นเอในร่างกาย และกระตุ้นยีนมะเร็งต่างๆในร่างกาย

นอกจากหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งแล้ว เราก็ควรที่จะดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้เกิดความสมดุลในแบบองค์รวม ควบคู่กันไปนะคะ

อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำได้ง่าย ๆ นั่นคือการสังเกตุอุจจาระของเราเป็นประจำ โดยปกติสีและลักษณะของอุจจาระจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของอาหารที่รับประทานและปริมาณน้ำที่ดื่ม เช่นการรับประทานผักใบเขียวปริมาณมากอาจทำให้อุจจาระเป็นสีเขียว แต่หากอุจจาระมีสีดำอาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยเฉพาะหากมีสีดำเข้มเหมือนยางมะตอย ดังนั้นหลังจากถ่ายอุจจาระแล้วลองหมั่นสังเกตดูรูปร่างหน้าตาและสีสันของอุจจาระดู หากพบว่าอุจจาระมีสี กลิ่น หรือลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

คุณเสี่ยง...มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ?

สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรืออายุ 45+ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย วันนี้ – 30 เมษายน 2566 

  1. Video Call ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทางด้านโรคทางเดินอาหาร ทางออนไลน์ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 
  2. รับสิทธิ์ปรึกษา เกี่ยวกับยีนมะเร็ง การป้องกันโรคมะเร็งในครอบครัว กับที่ปรึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย 

เริ่มทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เบื้องต้น คลิกที่นี่

#มีอาการเท่ากับลุกลาม


วิดีโอคอลปรึกษาหมอออนไลน์ เรื่องอะไรได้บ้าง ?

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?