คุณทราบหรือไม่ว่า |
|
เพราะการมีลูกคือความสุขที่ช่วยเติมเต็มชีวิตครอบครัวและทุกครอบครัวก็ต้องการที่จะมีลูกที่แข็งแรง สมบูรณ์ การวางแผนครอบครัวก่อนการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะไม่ได้เป็นแค่เพียงการเตรียมความพร้อมของพ่อและแม่เท่านั้น แต่รวมถึงความสมบูรณ์ของลูกที่จะเกิดมาด้วย
การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งข้อมูลทางพันธุกรรมของคนไข้ที่ได้มาจะช่วยวางแผนเพื่อประเมินความเสี่ยงของการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมมายังลูก ยิ่งในสมัยคนรุ่นใหม่แต่งงานช้าลง ทำให้ลูกเป็นโรคทางพันธุกรรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคที่เรารู้จักกันทั่วไปก็คือ ‘ดาวน์ซินโดรม’ ที่แม่อายุ 35 ปีขึ้นไปนั้น ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 350 ราย และอีกประเด็นที่ทุกคนไม่ค่อยรู้ คือ ยิ่งพ่ออายุมากก็ยิ่งมีปัญหา ทำให้ลูกมีโอกาสที่จะมีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ ทั้งออทิสติกและโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากขึ้น ดังนั้นการที่เราสามารถป้องกันโรคเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องจำเป็น
ในปัจจุบันการตรวจสุขภาพแบบ “Precision Medicine” คือตัวช่วยสำคัญที่สามารถเจาะจงลงไปตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล ทั้งทางด้านครอบครัว พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม รูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อการดูแลที่ตรงจุดด้วยเทคโนโลยี “การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์” ที่สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยลึกระดับยีนหาความผิดปกติของยีนด้อยได้กว่า 600 ยีน ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 200 โรค และให้ความแม่นยำสูงถึง 95% หากเรารู้ว่า เรามียีนร้ายตัวไหนแฝงอยู่ เราทุกคนสามารถหยุดส่งต่อยีนร้ายนี้ให้กับลูกๆของเราได้ ไม่จำกัดเฉพาะพ่อแม่ที่มีอายุแล้วเท่านั้น เพราะยีนร้ายสามารถอยู่ในทุกคนได้
หนูน้อย Auggie จากภาพยนต์ Feel Good ชื่อว่า Wonder (ชีวิตมหัศจรรย์วันเดอร์)
หลายคนอาจจะได้เคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ตัวเอกของเรื่องคือ หนูน้อยนามว่า Auggie ที่เกิดมาพร้อมโรคเทรเชอร์ คอลลินส์ (Treacher Collins Syndrome) ซึ่งทำให้มีใบหน้าผิดปกติ จนต้องเข้ารับการผ่าตัดอยู่หลายครั้ง และทำให้หนูน้อย Auggie ต้องเริ่มปรับตัวตั้งแต่เด็กเพื่อให้คุ้นชินกับสังคมภายนอกที่จับตามองด้วยความรู้สึกแตกต่างกัน
เทรเชอร์ คอลลินส์ เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของใบหู ตา กระดูกโหนกแก้ม และคาง โดยอาจมีความรุนแรงแตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ความผิดปกติในการหายใจ การมองเห็น การได้ยิน และเพดานปากโหว่ โรคนี้พบได้ราว 1 ใน 50,000 คน โรคนี้มีแบบแผนการถ่ายทอดผ่านยีนเด่นที่มาจากโครโมโซมร่างกาย ผ่านมาจากพ่อและแม่ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเอง อ่านต่อ…
ในกรณีที่เข้ารับการปรึกษาและตรวจพบว่ามีโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่จะมาช่วยในการวางแผนเพื่อเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ที่นอกจากจะดูแลเรื่องของการคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์แล้ว ยังคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่สำคัญเพื่อทำให้การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ประสบความสำเร็จ คือ การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยวิเคราะห์ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการฝังตัวซึ่งเรียกว่า Uterine Receptivity Test ร่วมกับการตรวจ ไม-โท-คอน-เดรียน แหล่งพลังงานของเซลล์ในตัวอ่อน ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ถึง 50%
หากคุณแม่ที่อายุ 35 ตั้งครรภ์แล้ว สามารถติดต่อแพทย์สูตินรีเวช เพื่อตรวจเช็คได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ ปัจจุบันโอกาสแท้งในการเจาะน้ำคร่ำลดลงเหลือเพียง 0.2% เนื่องจากตรวจในอายุครรภ์น้อย และใช้อัลตราซาวน์นำทางตลอด การเจาะน้ำคร่ำได้ผลรวดเร็วและความแม่นยำสูงถึง 99.3% “รู้เร็ว รักษาเร็ว ตัดสินใจได้เร็ว” ทำให้ผลกระทบทางด้านจิตใจของคุณแม่น้อยลง
การป้องกันก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เมื่อก่อนเราเพียงดูว่าใครมีโอกาสเสี่ยงมากที่สุด แต่ตอนนี้เราให้ทุกคนมาตรวจดูเลยว่าใครมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคพันธุกรรม คลอดก่อนกำหนด หรือครรภ์เป็นพิษ และให้การป้องกันซึ่งเราได้พัฒนาระบบการป้องกันนี้มานานกว่า 8 ปีและให้ผลดี ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
รศ.ดร.นพ. บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดา และทารกในครรภ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ | ||
นพ. บุญแสง วุฒิพันธุ์ สูตินรีแพทย์ผุ้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ | ||
นพ. เทวินทร์ เดชเทวพร สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ | ||
พญ. บงกช นราพุฒิ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ | ||
ผศ. พญ. ปัทมา พรหมสนธิ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ | ||
พญ. อัญรินทร์ ปรีชาพรประเสริฐ สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ | ||
พญ. จันทรัศม์ สุรัตนกวีกุล สูตินรีแพทย์ เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ |
package
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่