1.ผู้ที่มีคนในครอบครัวเสียชีวิตจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
2.ผู้ที่ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วไม่พบความผิดปกติ แต่มีสัญญาณของอาการเหนื่อยเรื้อรัง น้ำหนักลด ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ท้องผูกสลับท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ปัสสาวะไม่ออกหรือมีเลือดปน มีน้ำเหลืองหรือเลือดออกทางหัวนม ต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้โต มีตุ่มหรือก้อนเนื้อสีดำลักษณะคล้ายไฝเกิดขึ้นใหม่ หรือโตมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น
3.ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง เช่น ผู้ที่อาศัยหรือทำงานใกล้กับแหล่งเกษตรกรรมที่ใช้ยาฆ่าแมลง บริเวณที่มีจราจรหนาแน่นหรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือใช้ชีวิตเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง ได้แก่ มีความเครียดเรื้อรัง สูบบุหรี่ ตากแดดจัด รับประทานอาหารปิ้ง ย่าง ที่ไหม้เกรียมบ่อย ชอบอาหารหมักดอง อาหารสุกๆดิบๆ อาหารประเภทเนื้อที่ใส่สาร เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน เป็นประจำ
ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นได้อย่างไร

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าตัวเองมีโอกาสรับยีนมะเร็งมาจากครอบครัว
- หากคุณมีพ่อแม่พี่น้อง หรือญาติสายตรง (ไม่ว่าจากทางพ่อหรือทางแม่) มากกว่า 2คน เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งหรือไม่
- บุคคลเหล่านั้น อาจเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันหรือคนละชนิดกันก็ได้
- บุคคลเหล่านั้น เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่มาก หรือต่ำกว่า 50ปี
- หนึ่งในนั้นเคยตรวจพบว่า มียีนมะเร็งที่ถ่ายทอดมาจากกรรมพันธุ์
โดยปกติแล้ว โรคมะเร็งทั่วไปมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60ปี แต่ถ้าพบได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ให้สงสัยในเรื่องการถ่ายทอดยีนมะเร็งที่มาจากกรรมพันธุ์