การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล สู่การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี

การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล สู่การตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดี

Highlights :

  • การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล (Precision Obstetrics) มุ่งเน้นดูแลครรภ์ และ  การป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ จนถึงการคลอดบุตรที่แข็งแรงสมบูรณ์   มีการกำหนดเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วยที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม 
  • การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล สามารถลดภาวะแทรกซ้อนลงได้ต่ำมาก ภาวะคลอดก่อนกำหนด เหลือเพียง 5% อัตราการคลอดก่อนกำหนดในอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ มีเพียง 0.2% เท่านั้น   
  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรม สูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้น การตรวจดาวน์ซินโดรมด้วยการเจาะเลือดตรวจ DNA ของทารกในครรภ์เป็นการตรวจที่ได้ผลสูงถึง 99.7%

การรักษาทางการแพทย์ส่วนใหญ่ออกแบบมาสำหรับ  "ผู้ป่วยทั่วไป"   ซึ่งอาจประสบความสำเร็จสำหรับผู้ป่วยบางราย แต่อาจไม่ใช่สำหรับทุกคน การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine)  หรือการรักษาแบบเฉพาะบุคคล เป็นแนวทางใหม่ในการปรับการป้องกันและรักษาโรคโดยคำนึงถึงความแตกต่างในยีน สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของผู้คน เป้าหมายของการแพทย์ที่แม่นยำคือการกำหนดเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วยที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม
 

การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) กับการวางแผนครอบครัว

ความก้าวหน้าของการแพทย์ที่แม่นยำได้นำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษา โดยปรับให้เหมาะกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น การสร้างพันธุกรรม  หรือรายละเอียดทางพันธุกรรมของเนื้องอกของแต่ละคน ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งหลายชนิดจะได้รับการทดสอบระดับโมเลกุลเป็นประจำ   ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดความเสี่ยงจากผลกระทบ ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย  เช่นเดียวกับการวางแผนครอบครัวและการฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล (Precision Obstetrics) ที่มุ่งเน้นดูแลครรภ์เฉพาะบุคคลตั้งแต่เริ่มวางแผนการตั้งครรภ์ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ จนถึงการคลอดบุตรที่แข็งแรงสมบูรณ์

การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล (Precision Obstetrics) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ด้วยลักษณะของคนแต่ละคน ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การเข้ารับการรักษาจึงควรแตกต่างกัน  โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการตั้งครรภ์ส่งผลให้สรีระวิทยาและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ดังนั้นการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องเป็นอย่างเฉพาะเจาะจงในแต่ละบุคคล เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ประโยชน์ที่ได้รับเช่นเดียวกับการตัดเสื้อผ้า ถ้ามีการวัดตัวตัดย่อมใส่ได้พอดีและเหมาะสมมากกว่าการซื้อเสื้อผ้าที่ตัดเย็บขนาดเดียวกัน การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีรูปแบบการใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อม และพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ควรได้รับการดูแลที่แตกต่างเฉพาะเป็นรายบุคคล โดยได้รับการดูแลจากแพทย์และพยาบาลทุกแผนก เนื่องจากคุณแม่ที่ฝากครรภ์ มีเรื่องของพันธุกรรม ความดันสูง เบาหวาน  หรือโรคต่างๆ  โดยมีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกเป็นแกนนำในการดูแล ส่งต่อไปยังแผนกอายุรกรรม แผนกศัลยกรรม  เป็นต้น

การฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล สามารถลดภาวะแทรกซ้อนลงได้ต่ำมาก เช่น ภาวะคลอดก่อนกำหนด ลดลงเหลือแค่ 5% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก อัตราการคลอดก่อนกำหนดในอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ มีเพียง 0.2% ซึ่งถือว่าต่ำมากเช่นเดียวกัน สำหรับภาวะความดันสูง ครรภ์เป็นพิษรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ก็ลดต่ำลงอย่างชัดเจนเช่นกัน

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล

การฝากครรภ์โดยการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการฝากครรภ์แบบเฉพาะบุคคล  สามารถทำได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ด้วยการเข้าฝากครรภ์ในโรงพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจโดยละเอียด ดังนี้ 

  • สอบถามประวัติอย่างละเอียด ทั้งสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต รวมถึงโรคทางพันธุกรรม 
  • แพทย์ทำการพูดคุย ให้คำปรึกษาถึงวิธีการตรวจและรักษาแบบเฉพาะบุคคล เรียงลำดับตามขั้นตอน เพื่อทำความเข้าใจ ไขข้อข้องใจ และลดความวิตกกังวลของครอบครัวลง  
  • ตรวจร่างกายเพื่อดูแนวโน้มและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคพันธุกรรม ภาวะคลอดก่อนกำหนด หรือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลินิกป้องกันการคลอดก่อนกำหนด คลิก 
  • การตรวจยีนเพื่อครรภ์ที่มีคุณภาพ (Preconception Gene Testing) เพื่อค้นหาโรคร้ายที่อาจหลบซ่อนในพันธุกรรมของพ่อแม่ สามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติของยีนด้อยได้กว่า 500 ยีน ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 550 โรค และมีความแม่นยำสูงถึง 95%
    อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก 
  • กรณีคุณแม่ตั้งครรภ์อายุมาก คือตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป สามารถใช้วิธีเจาะเลือดแม่ แทนการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อลดโอกาสแท้ง ซึ่งมีความแม่นยำสูง ได้ผลรวดเร็ว อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก  
  • การตรวจดาวน์ซินโดรม   คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็น ดาวน์ซินโดรม สูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้น การตรวจดาวน์ซินโดรม   ด้วยการเจาะเลือดตรวจ DNAของทารกในครรภ์ซึ่งใช้เวลา 5-7 วัน แต่ได้ผลสูงถึง 99.7%

จากอดีตที่การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคนใช้ค่าเฉลี่ยของคนกลุ่มใหญ่เพื่อทำการดูแลรักษา จวบจนปัจจุบันที่นวัตกรรมทางการแพทย์พัฒนาต่อเนื่องจนถึงการรักษาแบบแม่นยำเฉพาะบุคคล  โดยการนำพันธุกรรม  การใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ของผู้ป่วยแต่ละบุคคลมาเป็นปัจจัยประกอบเพื่อวินิจฉัย วางแผนการรักษา รวมถึงป้องกันโรค  Precision Medicine มีอยู่ในการแพทย์ทุกสาขา รวมถึง Precision Obstetrics ดูแลครรภ์โดยการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แบบเฉพาะบุคคล เพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ ลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน คลายความวิตกกังวลของครอบครัว ให้กำเนิดทารกน้อยที่มีสุขภาพดีและคุณแม่ที่แข็งแรง   

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?