การทำงานของสมองจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนและสารอาหารจากเลือด เมื่อใดก็ตามที่เส้นเลือดสมองถูกปิดกั้น ตีบ อุดตัน หรือเส้นเลือดแตก ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้สมองขาดเลือดจนเซลล์สมองได้รับความเสียหาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เนื่องจากยิ่งรักษาเร็ว จะช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่หากช้าเกินไปอาจส่งผลความเสียหายต่อเนื้อสมอง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพ และเกิดความพิการ หรือ เสียชีวิตได้
โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งที่ปรับเปลี่ยนได้และปรับเปลี่ยนไม่ได้ สืบเนื่องมาจากอายุ เพศ การดูแลสุขภาพ และการใช้ชีวิต
เนื่องจากสมองขาดเลือดจึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยจะแสดงอาการมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ดังนี้
อย่างไรก็ตามในบางกรณีอาจมีอาการเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วหายไป หรืออาจเกิดขึ้นหลายครั้งก่อนสมองจะขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ อย่าชะล่าใจ อาจเสี่ยงเป็น "โรคหลอดเลือดสมอง" ได้
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองสามารถชี้ตำแหน่งหลอดเลือดสมองผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงหาความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ก่อนเกิดอาการ โดยมีรายละเอียดการตรวจดังนี้
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีความแตกต่างระหว่างหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันและหลอดเลือดสมองแตก โดยหากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน จะทำการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ ซึ่งจะได้ผลดีในกรณีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลภายในเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง หลังเกิดอาการและอาจยืดระยะเวลาไปถึง 24 ชั่วโมง ถ้ามาใน รพ.ที่สามารถให้การรักษาด้วยการใส่สายสวนหลอดเลือดแดงเพื่อลากเอาลิ่มเลือดออก
สำหรับหลอดเลือดสมองแตก อาจต้องรีบทำการผ่าตัดในกรณีที่เลือดออกมาก เพื่อควบคุมปริมาณเลือดที่ออก และรักษาระดับความดันโลหิต ป้องกันสมองเสียหาย
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาทันท่วงทีสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ แม้บางรายจะต้องใช้เวลาก็ตาม แต่ในบางกรณีผู้ป่วยอาจไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่และต้องได้รับการดูแลและปรับตัวจากผลกระทบโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพฤกษ์หรืออัมพาต ต้องมีทีมสหสาขาในการดูแลผู้ป่วยครบทุกด้าน
ที่สำคัญที่สุดคือปฏิบัติตามแพทย์แนะนำ รวมถึงรับประทานยา และพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด การรักษาไม่สม่ำเสมอทำให้ผู้ป่วยฟื้นฟูไม่ได้ผลเต็มที่ รวมถึงอาจกลับมาเป็นซ้ำ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่