เดินแล้วล้มบ่อย มวลกล้ามเนื้อน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงวัย

เดินแล้วล้มบ่อย  มวลกล้ามเนื้อน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงวัย

HIGHLIGHTS:

  • 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ มีมวลกล้ามเนื้อน้อย แขนขาลีบ ลุกนั่งลำบาก ทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อย
  • ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อมีอาการมากขึ้นอาจแสดงอาการ เช่น ความแข็งแกร่งลดลง ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น เดินช้าลง รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อย เดินขึ้นบันไดหรือลุกจากเก้าอี้ลำบาก  กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงจนเห็นได้ชัด  
  • การป้องกัน ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำได้โดยรับประทานอาหารเน้นโปรตีน ควรรับประทานโปรตีน 1-1.3  กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เสริมวิตามินดี เวย์โปรตีน ครีเอทีน ออกกำลังกายชนิดใช้แรงต้าน  

มวลกล้ามเนื้อน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้สูงอายุคืออะไร

เมื่ออายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายระบบ ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อ  หลังจากอายุ 40 ปีกล้ามเนื้อจะมีขนาดและความแข็งแรงลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเมื่ออายุ 80 ปีจะมวลกล้ามเนื้อจะลดลงถึง 50%  รวมถึงมีการเพิ่มของไขมันที่แทรกในชั้นกล้ามเนื้อ การลดลงของเซลล์ประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ การลดลงของฮอร์โมนบางชนิด ความสามารถในการเปลี่ยนโปรตีนเป็นพลังงานลดลง ไม่สามารถรับประทานอาหารให้ได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ เกิดการอักเสบ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลถึงการทำงาน เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหวต่าง ๆ การจำกัดความสามารถในการดูแลตนเอง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงการหกล้ม เป็นต้น

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยพบได้มากน้อยแค่ไหน

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) พบได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรืออาจพบได้ในช่วงอายุที่น้อยหรือมากกว่านี้ขึ้นกับหลายปัจจัย และสามารถพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยในผู้ที่อายุ 60 ปี พบได้ประมาณ 5-13% และพบมากขึ้นเป็น 11-50% ในผู้ที่อายุ 80 ปี โดยช่วงอายุที่เริ่มมีอาการอาจมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

จะรู้ได้อย่างไรว่า เริ่มมีมวลกล้ามเนื้อน้อยลง

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่อมีอาการมากขึ้นอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ความแข็งแกร่งลดลง ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ลำบากขึ้น เดินช้าลง รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวไม่ดี หกล้มบ่อย เดินขึ้นบันไดหรือลุกจากเก้าอี้ลำบาก  กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงจนเห็นได้ชัด เป็นต้น

สาเหตุของภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

มีสาเหตุจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น โรคประจำตัวต่าง ๆ อาทิ ถุงลมโป่งพอง โรคไต มะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะพร่องอินซูลินและเบาหวาน  การอักเสบในร่างกาย ความผิดปกติของเซลล์ไมโตคอนเดรีย การลดจำนวนสารสื่อประสาทในร่างกาย ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การเคลื่อนไหวลดลง การขาดสารอาหารโดยเฉพาะประเภทโปรตีน การไม่สามารถเปลี่ยนโปรตีนไปเป็นพลังงานได้ ภาวะน้ำหนักเกิน 

การวินิจฉัยและการทดสอบ

ชุดคำถาม SARC-F เป็นแบบทดสอบเพื่อดูว่ามีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยหรือไม่ คำถามแต่ละข้อมีคะแนนเต็ม 2 คะแนน โดยคำถามมีดังนี้

คำถาม       ไม่ยาก
0 คะแนน
ยากเล็กน้อย
1 คะแนน
ยาก
2 คะแนน
1.    ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ: ท่านคิดว่าการยกและถือของที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัมยากหรือไม่      
2.    การเดิน: ท่านรู้สึกว่าการเดินภายในห้องยากหรือไม่      
3.    การลุกจากเก้าอี้: ท่านคิดว่าการเคลื่อนย้ายตนเองจากเก้าอี้ไปที่เตียงนอนยากหรือไม่      
4.    การขึ้นบันได: ท่านรู้สึกว่าการเดินขึ้นบันไดจำนวน 10 ขั้นยากหรือไม่      
5.    การหกล้ม: ท่านเคยมีประวัติหกล้มมากี่ครั้ง (ไม่เคย = 0, 1-3 ครั้ง = 1, >4 ครั้ง =2)      

หากได้คะแนนรวมมากกว่า 4 คะแนนขึ้นไปจะถือว่ามีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำได้หลายวิธี เช่น

การวัดมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ

การป้องกัน ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นที่โปรตีน ควรรับประทานโปรตีน 1-1.3  กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน  
  2. อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยป้องกันภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยได้ เช่น วิตามินดี, เวย์โปรตีน, ครีเอทีน (Creatine)
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายชนิดใช้แรงต้าน เช่น บอดี้เวท ซิทอัพ สควอท วิดพื้น แพลงก์ ซึ่งจะสามารถเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและความแข็งแรงได้
  4. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจร่างกายและประเมินสมรรถภาพทางกาย

การดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการขาอ่อนแรงหรือภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย

  • ควรป้องกันการพลัดตกหกล้ม อาจมีอุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า คอกช่วยเดิน 
  • จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยต่อการเคลื่อนไหว  
  • ช่วยดูแลให้มีการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ 
  • จัดอาหารที่มีประโยชน์และมีส่วนประกอบของโปรตีนเพียงพอที่ร่างกายต้องการต่อวัน  
  • พาไปตรวจติดตามกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • แนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เช่น การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านและเพิ่มความแข็งแรงของกลามเนื้อ การออกกำลังกายป้องกันการหกล้ม  อย่างไรก็ตาม ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการเริ่มออกกำลังกาย

แขนขาอ่อนแรงในผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่ เมื่อไหร่ที่ต้องพบแพทย์

ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อไม่มีแรงในผู้สูงอายุได้ แต่โดยส่วนใหญ่อาการมักค่อยเป็นค่อยไป หากมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างฉับพลันควรระวังภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน และควรรีบพบแพทย์อย่างเร่งด่วน

References:

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?