เตรียมตั้งครรภ์ ท้องอย่างไร ให้ลูกแข็งแรงสุขภาพดี รับปีมังกร

เตรียมตั้งครรภ์ ท้องอย่างไร ให้ลูกแข็งแรงสุขภาพดี รับปีมังกร

Highlights:

  • เตรียมตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ มีความสำคัญในการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในคู่แต่งงานที่อายุมากขึ้น เพราะนอกจากช่วยป้องกันโรคที่สามารถแพร่ไปสู่ลูก  ยังสามารถค้นหาโรคแอบแฝงที่ส่งผ่านยีนโดยพ่อแม่ไม่รู้ตัว 
  • การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์เป็นการตรวจความพร้อมของพ่อและแม่ และคัดกรองพาหะโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่มีโอกาสก่อให้เกิดความพิการและทุพพลภาพของลูก โดยสามารถตรวจ คัดกรอง พาหะโรคทางพันธุกรรม กว่า 400 ยีน ครอบคลุม 400 โรค
    ผลวิเคราะห์แม่นยำ 99.5 %  ข้อมูลอัพเดต มีนาคม 2567   
  • กรณีตรวจพบคู่สมรสเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรมและยังต้องการมีบุตร แพทย์จะทำการคัดกรองตัวอ่อนที่มียีนสมบูรณ์ไว้ จากนั้นจึงนำเอาตัวอ่อนที่แข็งแรงใส่กลับเข้าไปยังมดลูก ทั้งนี้ยังช่วยให้คู่สมรสที่มีบุตรยาก มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นอีกด้วย

ด้วยสภาพแวดล้อมปัจจุบัน  ทัศนคติเรื่องการมีลูกเมื่อพร้อม รวมถึงการรอคอยการตั้งครรภ์ในปีนักษัติที่เป็นมงคล อย่างปีมังกร ส่งผลให้บ่าวสาวชะลอการมีลูกออกไป 

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ จึงมีความสำคัญในการวางแผนครอบครัว โดยเฉพาะในคู่แต่งงานที่อายุมากขึ้น เพราะนอกจากช่วยป้องกันโรคที่สามารถแพร่ไปสู่ลูก  ยังสามารถค้นหาโรคแอบแฝงที่ส่งผ่านยีนโดยพ่อแม่ไม่รู้ตัว ซึ่งมีข้อมูลบ่งชี้ว่ามีทารกมากถึง 80%  ที่เกิดมาพร้อมกับโรคทางพันธุกรรม ทั้งๆ ที่ไม่มีประวัติครอบครัวมาก่อน   

เตรียมตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันโรคร้ายที่อาจถ่ายทอดสู่ลูก

การตรวจสุขภาพพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นพ่อและแม่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่อาจมีการตรวจเพิ่มเติมในรายละเอียดบางอย่าง ดังนี้ 

  • ตรวจเลือด
  • ตรวจกรุ๊ปเลือด เพื่อกรณีที่ต้องการเลือดฉุกเฉิน
  • ตรวจชนิดของเลือด (Rh Factor) โดยทั่วไปคนไทยจะเป็นชนิด Rh+  กรณีตรวจพบคุณแม่มีเลือด Rh-  ร่างกายแม่มีโอกาสสร้างภูมิต้านทานเลือด Rh+ ของลูก และทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก จนเสี่ยงต่อการแท้งได้  
  • ตรวจหาความผิดปกติของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เพื่อตรวจความผิดปกติของโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)  
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันและเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสายเลือด 
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน  หากติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการหรือแท้งได้
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ 
  • ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส 
  • ตรวจหาเชื้ออื่นตามความเสี่ยง เช่น เชื้อเริม เป็นต้น 

การตรวจเพิ่มเติมในผู้หญิง

  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก (HPV+Thin Prep) 
  • ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง เพื่อประเมินมดลูกและรังไข่ (TVS - Transvaginal Ultrasound)
  • ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมน ความสามารถการทำงานของรังไข่ AMH - Anti-Mullerian Hormone
  • ตรวจปีกมดลูกตามที่แพทย์เห็นสมควร

การตรวจเพิ่มเติมในผู้ชาย

  • ตรวจดูความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen Analysis)
  • ตรวจฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)
  • ตรวจค่า PSA วิเคราะห์มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer)
  • ตรวจฮอร์โมนภายในต่อมหมวกไต (DHEA-S)

เตรียมตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์

นอกจากการตรวจสุขภาพพื้นฐานก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันโรคหากตรวจพบล่วงหน้าแล้ว ยังมีกลุ่มโรคบางชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของยีนด้อยจากพ่อหรือแม่ที่ส่งผลไปยังลูก   

การทดสอบทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาความเสี่ยงในการเกิดโรคบางชนิด เช่นเดียวกับการตรวจคัดกรองและการรักษาทางการแพทย์   เป็นการตรวจความพร้อมของพ่อและแม่ และคัดกรองพาหะโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ที่มีโอกาสก่อให้เกิดความพิการและทุพพลภาพในอวัยวะต่างๆ ของลูก    โดยสามารถคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติของยีนด้อยได้มากกว่า 500 ยีน ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นเกิดโรคทางพันธุกรรมได้กว่า 500 โรค และมีความแม่นยำสูงถึง 95%   และยังพบด้วยว่าหญิงตั้งครรภ์ 1 ใน 550 คน มีความเสี่ยงที่จะมีลูกเป็นโรคทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยชนิดรุนแรง  จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองและวินิจฉัยลึกระดับยีน ซึ่งช่วยให้เด็กที่จะเกิดมามีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคลดลง

การตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจชะลอการมีบุตรออกไป หรือปรึกษาแพทย์เพื่อทำการป้องกันก่อนการตั้งครรภ์

กรณีตรวจพบคู่สมรสเป็นพาหะของโรคทางพันธุกรรม และยังต้องการมีบุตร แพทย์จะทำการคัดกรองตัวอ่อนที่มียีนสมบูรณ์ไว้ จากนั้นจึงนำเอาตัวอ่อนที่แข็งแรงใส่กลับเข้าไปยังมดลูก ทั้งนี้ยังช่วยให้คู่สมรสที่มีบุตรยาก มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นอีกด้วย 

ตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์เหมาะกับใคร

  • คู่สมรสที่ต้องการมีบุตรแข็งแรงสมบูรณ์
  • คู่สมรสที่เป็นโรคทางพันธุกรรม หรือมีครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคทางพันธุกรรม
  • คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก  

การเตรียมตัวเพื่อตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?