การตรวจพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การตรวจพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

Highlights:

  • ในปัจจุบันมีการตรวจหาปัจจัยทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง  โดยการทดสอบทางพันธุกรรม ทำความเข้าใจต่อแนวโน้มทางพันธุกรรมต่อมะเร็งของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาแผนการคัดกรอง  การป้องกัน และแนวทางการรักษา รวมถึงการวางแผนส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม    
  • ผู้ที่ควรรับคำปรึกษาด้านพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะกลุ่มญาติสายตรง มีญาติที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการมะเร็งจากพันธุกรรม และมีสมาชิกในครอบครัวที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง 
  • โรคมะเร็งทุกประเภทไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเสมอไป  สิ่งที่สำคัญ คือ ประวัติครอบครัว และการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม ที่จะช่วยวิเคราะห์แนวทางในการตรวจคัดกรอง กลยุทธ์การป้องกัน และแผนการจัดการมะเร็งเฉพาะบุคคล

การตรวจพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง เพื่อตรวจหาปัจจัยทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยมีทางเลือกในการทดสอบทางพันธุกรรมและการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงทำความเข้าใจต่อแนวโน้มทางพันธุกรรมของโรคมะเร็งของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาแผนการคัดกรอง  มาตรการป้องกันและแนวทางการรักษา รวมถึงการวางแผนส่งเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม

การตรวจพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ครอบคลุมการตรวจมะเร็งชนิดใด?

1. มะเร็งเต้านม

ผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะเกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนวัยหมดประจำเดือน) สามารถเข้ารับคำปรึกษา รวมถึงประเมินความเสี่ยงของกลุ่มมะเร็งเต้านมทางพันธุกรรม เช่น การกลายพันธุ์ของ BRCA1 และ BRCA2  

2. มะเร็งรังไข่

บุคคลที่มีประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ สามารถเข้ารับการประเมินความเสี่ยงด้วยการทดสอบการกลายพันธุ์ของ BRCA1 และ BRCA2   

3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ผู้ที่มีโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักภายในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถขอคำปรึกษาและประเมินความเสี่ยงของกลุ่มอาการลินช์และกลุ่มอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักทางพันธุกรรมอื่นๆ  

4. มะเร็งต่อมลูกหมาก

บริการพันธุศาสตร์มะเร็งสามารถช่วยเหลือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะในผู้ที่เริ่มมีอาการในระยะแรก รวมถึงญาติที่มีความกังวล สามารถเข้ารับการประเมินความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากทางพันธุกรรม รวมถึงการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม

5. มะเร็งตับอ่อน

ผู้ที่มีประวัติส่วนตัวหรือบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งตับอ่อนสามารถเข้ารับคำปรึกษาและประเมินความเสี่ยงกลุ่มมะเร็งตับอ่อนทางพันธุกรรม  เช่น การกลายพันธุ์ในยีน BRCA

6. กลุ่มอาการมะเร็งทางพันธุกรรมอื่นๆ

บริการพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง สามารถประเมินความเสี่ยงสำหรับกลุ่มอาการมะเร็งทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการ Li-Fraumeni กลุ่มอาการ Cowden syndrome กลุ่มอาการ von Hippel-Lindau และอื่นๆ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้หลายประเภท

อย่างไรก็ดี โรคมะเร็งทุกประเภทไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเสมอไป สิ่งสำคัญคือ ประวัติครอบครัว และการประเมินความเสี่ยงทางพันธุกรรม จะช่วยวิเคราะห์แนวทางในการตรวจคัดกรอง กลยุทธ์การป้องกัน และแผนการจัดการมะเร็งเฉพาะบุคคลได้อย่างเหมาะสม  

เมื่อไหร่ที่ควรขอคำปรึกษาด้านพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง

  • มีประวัติโรคประจำตัวเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะกลุ่มญาติสายตรง  
  • มีญาติที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการมะเร็งจากพันธุกรรม
  • มีสมาชิกในครอบครัวที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช Samitivej Genomic and Lifestyle Wellness Center โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และบริการตรวจความเสี่ยงมะเร็ง

ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมอย่างครอบคลุม รวมถึงบริการตรวจวิเคราะห์สำหรับบุคคลและครอบครัวที่มีประวัติโรคมะเร็ง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณวุฒิ รวมถึงแพทย์พันธุศาสตร์คลินิก นักให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ซึ่งมุ่งมั่นดูแลเฉพาะบุคคล   

ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงทีมผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์มะเร็งโดยเฉพาะ มีการนำเสนอการทดสอบทางพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจาก College of American Pathologists (CAP) Accreditation และ Clinical Laboratory Improvement Amendments (CLIA)  รับประกันความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้  ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โดยให้คำแนะนำในการตัดสินใจด้วยข้อมูลครบถ้วนเกี่ยวกับการทดสอบทางพันธุกรรม การตรวจคัดกรองและทางเลือกในการลดความเสี่ยง นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพผลการรักษาและมาตรการป้องกันการเกิดโรค

การเข้ารับบริการด้านพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ที่ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช Samitivej Genomic and Lifestyle Wellness Center

1. นัดหมายเข้ารับการตรวจ
ติดต่อศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวชฯ เพื่อซักประวัติ ประเมิน และแนะนำแนวทางการตรวจและทดสอบทางพันธุกรรม

2. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อได้รับคำปรึกษาอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ แนะนำให้รวบรวมและเตรียมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดไว้ล่วงหน้า ประวัติครอบครัวขึ้นไป 3 รุ่น โดยเฉพาะประวัติโรคมะเร็งและอายุขณะทำการวินิจฉัย นอกจากนี้ให้รวบรวมข้อมูลทางคลินิกและพยาธิวิทยาเกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงรายงานจากเวชระเบียนและรายงานพยาธิวิทยา เพราะข้อมูลจะช่วยให้นักให้คำปรึกษาด้านพันธุศาสตร์สามารถประเมินและให้คำแนะนำที่แม่นยำที่สุด 

3. เข้ารับคำปรึกษาครั้งแรก
ระหว่างการให้คำปรึกษาแพทย์พันธุศาสตร์คลินิกและผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมจะทำการตรวจสอบประวัติครอบครัวและบันทึกทางการแพทย์อย่างละเอียด รวมถึงสอบถามความกังวลและตอบทุกคำถามข้อข้องใจ  จากนั้นจึงพิจารณาการทดสอบทางพันธุกรรม กรณีที่ควรได้รับการตรวจคัดกรอง ทีมแพทย์จะแนะนำตัวเลือกการทดสอบทางพันธุกรรมพร้อมข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ ประโยชน์ และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้น

4. การตรวจยีน การฟังผล และการนัดหมายติดตาม 
เมื่อผ่านการพิจารณาว่าควรทำการทดสอบทางพันธุกรรม เจ้าหน้าที่จะแนะนำกระบวนการและขั้นตอนการทดสอบ หลังจากได้ผลลัพธ์ แพทย์ด้านพันธุศาสตร์จะอธิบายผลการทดสอบอย่างละเอียด รวมถึงให้คำแนะนำและวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลอย่างต่อเนื่อง ติดตามผล รวมถึงวางแผนลดความเสี่ยง ทั้งนี้อาจมีการปรึกษาเกี่ยวกับวางแผนครอบครัวหากจำเป็น

ผู้สนใจสามารถติดต่อเพื่อนัดเวลารับคำปรึกษาเบื้องต้นกับบริการด้านพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง ได้ที่   ศูนย์สุขภาพดีส่วนบุคคลสมิติเวช Samitivej Genomic and Lifestyle Wellness Center โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท  โทร. 02-022-22750

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?