ไขมันพอกตับ (Fatty liver) คือ ภาวะที่มีไขมันสะสมในเซลล์ตับ ซึ่งการมีไขมันในตับมากเกินไปอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้
ตับเป็นอวัยวะสำคัญ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในร่างกาย ทำหน้าที่นำสารอาหารที่ย่อยแล้วจากทางเดินอาหาร มาปรับเปลี่ยน แล้วผลิตเป็นพลังงานที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตับยังทำหน้าที่ทำลายสารพิษต่างๆ ที่เป็นอันตรายออกจากเลือด รวมถึงเป็นที่สำหรับกักเก็บพลังงานในรูปแบบของไขมันเพื่อใช้สร้างเป็นแหล่งพลังงาน แต่หากกินอาหารที่ให้พลังงานสูง หรือไขมันสูงมากจนเกินไป โดยไม่มีการใช้พลังงานออกไปอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับจำนวนมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ ถือว่าเริ่มมีภาวะไขมันพอกตับ ส่งผลให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ เมื่อเป็นเรื้อรังจะมีการสร้างพังผืดมากขึ้น จนกลายเป็นโรคตับแข็ง และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้อีกด้วย
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับ มักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ส่วนใหญ่ทราบจากการตรวจสุขภาพ หรือตรวจคัดกรองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ เมื่อมีปริมาณไขมันสะสมในตับมาก และเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง จนเริ่มเสียหน้าที่การทำงานของตับไป โดยอาการไขมันพอกตับที่พบบ่อย มีดังนี้
เนื่องจากภาวะไขมันพอกตับ มีสาเหตุจากการเผาผลาญพลังงานที่ไม่เหมาะสม มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึม จึงมักพบร่วมกับโรคต่างๆ ดังนี้
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะไขมันพอกตับ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงประวัติครอบครัว ประวัติการใช้ยาต่างๆ การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ดังนี้
จจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรง การรักษาภาวะไขมันพอกตับยังมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และดูแลสุขภาพในองค์รวม ดังนี้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมต่างๆ ควรได้รับการควบคุมที่เหมาะสม เช่น รักษาโรคเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ดี รักษาโรคไขมันในเลือดสูง โดยสามารถใช้ยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ต่อได้ด้วยความระมัดระวัง ในบางกรณี อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม Antioxidant เพื่อช่วยลดการอักเสบของตับ
ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการดูแลสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรพบแพทย์ตามนัด รับประทานยา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์
นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายชนิดสามารถทำลายตับได้เช่นกัน เพื่อปกป้องสุขภาพตับ แพทย์อาจแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี
ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับจำนวนมากมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าตับจะถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น เมื่อมีภาวะตับแข็งในระยะแรก จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ขาบวม ตัวตาเหลือง หรือจุกแน่นบริเวณท้องด้านขวาบน ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับส่วนใหญ่ ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารให้ได้พลังงานที่เหมาะสม ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับแล้ว ควรติดตามดูแลรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังการดำเนินของโรค และติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การละเลยอาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง ซึ่งการรักษาในระยะนี้อาจได้ผลไม่ดีนัก รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับในที่สุด
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่