ปัจจุบันไม่มียารักษาโรคไขมันพอกตับโดยเฉพาะ แต่มุ่งเน้นการปฏิบัติตัวปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และ ลดไขมันพอกตับได้ ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักลง 7-10% โดยให้ค่อยๆ
- ลดน้ำหนักลง เนื่องจากการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วอาจทำให้โรคไขมันพอกตับแย่ลงได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150-200 นาทีต่อสัปดาห์ทั้งแบบแอโรบิค และแบบมีแรงต้าน
- ควบคุมอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงานสูงหรือน้ำตาลสูง เช่น อาหารประเภททอด เนื้อติดมัน ผลไม้ที่มีรสหวานและน้ำผลไม้ต่างๆ ขนมต่างๆ ให้รับประมาณที่มีกากใยสูง และพลังงานต่ำ เช่น ผักต่างๆ
- หากเป็นเบาหวาน หรือ ไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดี ด้วยการรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ สมุนไพรที่นอกเหนือจากแพทย์สั่ง
- ในรายที่มีค่าการทำงานของตับผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาเพื่อทำให้ผลเลือดกลับมาปกติได้ อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลที่สามารถลดไขมันพอกตับได้ดี
ตับมีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้อย่างน่าทึ่งหากหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักและโรคประจำตัวซึ่งสามารถช่วยลดไขมันพอกตับ การอักเสบรวมถึงฟื้นฟูความเสียหายของตับในระยะเริ่มต้นได้โรคไขมันพอกตับไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่และส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การดำเนินโรคค่อนข้างช้า
การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ ซึ่งในบางรายอาจมีภาวะไขมันพอกตับมานานแล้วก็อาจตรวจพบในระยะตับแข็งไปแล้ว ดังนั้นหากพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับตั้งแต่เนิ่น ๆ และปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสการเป็นไขมันพอกตับ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากไขมันพอกตับด้วย