1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมองและระบบประสาท
2. อายุที่มักพบโรค เช่น อัลไซเมอร์ เป็นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่
3. ความรุนแรงของโรค
4. การตรวจคัดกรองโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองและระบบประสาทอื่นๆ ความถี่ในการตรวจ และช่วงอายุ
5. การรักษา
6. การป้องกัน
การตรวจยีนที่นิยมปฏิบัติมี 2 ชนิด คือ medical grade และ direct-to-consumer grade โดยทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันดังนี้
การตรวจยีนในบุคคลทั่วไป หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหรือภาวะใดก็อาจจะแนะนำการปรับปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้น และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการตรวจและแปลผลอาจแนะนำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาว่ามีภาวะหรือโรคที่มีความเสี่ยงหรือไม่ รวมถึงอาจแนะนำยาหรืออาหารเสริมที่สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ และปัจจุบัน ยังมีการค้นคว้าการรักษาทางยีนเพื่อทำการรักษาในผู้ที่มีความเสี่ยงกับโรคบางโรค เช่น อัลไซเมอร์ที่เกิดในผู้ที่มีอายุน้อย
การตรวจยีนในคู่แต่งงาน คู่สมรสจะทำการตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์และทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่มียีนที่สมบูรณ์ ไม่มีความผิดปกติไว้ และใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ นำตัวอ่อนที่แข็งแรงและสมบูรณ์กลับเข้าไปยังมดลูกเพื่อการเจริญเติบโตต่อไป
การตรวจยีนเพื่อหาความผิดปกติในปัจจุบันนั้นทำได้ไม่ยากและยังมีประโยชน์มาก ซึ่งผู้สนใจสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่