วาเลนไทน์เมื่อไหร่ เรามักเห็นใครต่อใครเดินจูงมือกันออกไปฉลองความรัก แต่ส่วนหนึ่งก็ผิดหวังจากความรัก
เชื่อหรือไม่ว่า? ความโศกเศร้าเสียใจหรือความเครียดอย่างมาก สามารถทำให้ “ใจสลาย” ได้จริงๆ
มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Stress-induced Cardiomyopathy, Takotsubo Cardiomyopathy หรือ Apical ballooning syndrome คือ ภาวะที่ความสามารถในบีบตัวของหัวใจลดลงอย่างเฉียบพลัน โดยสาเหตุของโรคยังเป็นที่ถกเถียงกัน แต่ทางการแพทย์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดจากฮอร์โมน Catecholamine ที่สูงขึ้นเฉียบพลันจากความเศร้าเสียใจหรือความเครียดอย่างมาก เช่น ความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักกระทันหันจากอุบัติเหตุ หรือเกิดจากการใช้ยาบางชนิด
โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีระดับฮอร์โมนความเครียดหลั่งออกมาสูงมากอย่างเฉียบพลัน (stress-induced catecholamine release) ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเป็นผู้หญิง และ 80% เป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่วงอายุที่พบบ่อย 58-77 ปี
อาการของหัวใจสลาย จะไม่สามารถแยกโรคออกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ จนกว่าจะได้รับการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiogram) ซึ่งในผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันนั้น มีประมาณ 1% ที่เป็น Stress-induced Cardiomyopathy
ที่พบคือ เจ็บหน้าอกรุนแรงอย่างกะทันหันคล้ายอาการของภาวะหัวใจขาดเลือด นานหลายนาทีหรือเป็นชั่วโมง หน้ามืด ความดันเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก มีภาวะน้ำท่วมปอด
หลังจากได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ และวินิจฉัยแยกโรคจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแล้ว แพทย์จะให้ยาที่ไปควบคุมการเต้นและการบีบตัวของหัวใจ รวมถึงแก้ไขปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค (ซึ่งพบได้เพียง สองในสามในผู้ป่วยทั้งหมด)
ในกรณีที่เกิดจากความเครียด เหนือสิ่งอื่นใดคือ การดูแลสุขภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วยการรับมือกับปัญหาและจัดการความเครียด โดยร่วมปรึกษาหารือกับครอบครัว และจิตแพทย์
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่