ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่การบีบตัวของหัวใจเสียไป เกิดจากการสร้างสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ ทำให้การบีบตัวของหัวใจผิดปกติไปด้วย พบได้ในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง โดยปกติพบได้ 1-2 % และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในผู้ที่อายุ 70 – 80 ปี อัตราส่วนเพิ่มขึ้นถึง 5 %
เริ่มมีภาวะใจสั่นทั้งขณะพักหรือหลังมีกิจกรรม หอบเหนื่อยง่าย หรือเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีอาการหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หมดสติได้ ในบางรายอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น เส้นเลือดสมองอุดตัน ภาวะหัวใจล้มเหลว
วินิจฉัยจากการจับชีพจร ถ้าชีพจรไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นเร็ว ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะวินิจฉัยจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จังหวะไม่สม่ำเสมอ และมีความถี่ของ P wave มากกว่า 350 ครั้งต่อนาที
กลไกการเกิด
วัตถุประสงค์ของการรักษาหลักจะรักษาอาการ และลดผลแทรกซ้อนของตัวโรค
ในปัจจุบันมีวิธีการป้องกันลิ่มเลือดนอกจากการใช้ยา โดยการใส่อุปกรณ์เข้าไปอุดบริเวณห้องหัวใจส่วนบนที่เป็นบริเวณที่เกิดลิ่มเลือดหัวใจได้บ่อยที่สุด
ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะและสัญญาณชีพไม่คงที่ เช่น ความดันตก หรือมีอาการมากโดยที่ใช้ยาคุมไม่ได้ผล ผู้ป่วยมาโดยภาวะฉุกเฉิน จะมีการใช้ไฟฟ้ารีเซ็ตสัญญาณใหม่ เรียกว่า Cardioversion
ในกรณีที่เป็นเรื้อรังทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก หรือเต้นเร็วตลอดเวลา เมื่อผ่านไประยะเวลานึง หัวใจที่บีบตัวดี จะเริ่มบีบตัวไม่ดี ทำให้เข้าสู่ภาวะหัวใจบีบตัวได้น้อย และเกิดน้ำท่วมปอดตามมาได้ ในกรณีที่เป็นมาก จะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมปอดเรื้อรัง และอาจเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายได้
การหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อพบว่ามีความผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้
คุณสามารถตรวจสอบความเสี่ยงด้วยตนเองได้ที่
Reference Heart
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่