โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ Cardiac Arrhythmia เป็นโรคที่มีมานานแล้ว โดยปกติหัวใจเราจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าออกกำลังกาย หรือ ตื่นเต้นตกใจ อาจเต้นเร็วขึ้นบ้างนิดหน่อย ถ้าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติจริงๆ แล้ว จะมีอาการใจสั่น มึนงง เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมหมดสติไปได้ ทั้งในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเเละเต้นช้า ซึ่งอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต ในกรณีหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) หรือหัวใจวายซึ่งจะอันตรายและยากต่อการรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีได้เหมือนเดิม
อาการต่างๆ เหล่านี้เกิดได้จากทั้งปัจจัยภายในเเละภายนอกร่างกาย จะขอกล่าวถึงปัจจัยภายในร่างกายของเราก่อน อาทิ
ปัจจัยภายในเหล่านี้ อาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ได้ในบางกรณี ส่วนสาเหตุภายนอกก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความร้อนของอากาศ ความเครียด ทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ นอกจากนี้ โรคบางโรคที่ไม่ใช่สาเหตุหลักเเต่เป็นเพียงทางอ้อม ที่อาจนำไปสู่โรคของระบบไฟ้ฟ้าหัวใจคือ ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้สามารถตรวจหาความผิดปกติเบื้องต้นได้จากการตรวจกราฟหัวใจ หรือ ที่เรารูจักกันดีว่า EKG หรือ ECG (Electrocardiography) ซึ่งจะบอกได้คร่าวๆ ว่า หัวใจของเราเต้นปกติไหม “ตามปกติแล้ว หมอก็แนะนำทุกคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไปให้ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่แล้ว ซึ่ง ECG ส่วนใหญ่จะเป็นหนึ่งในรายการที่ต้องตรวจ แต่ถ้าหากหัวใจไม่ได้เต้นผิดจังหวะในช่วงที่ตรวจด้วยเครื่อง ECG ก็อาจตรวจไม่พบ ดังนั้นคนที่เริ่มมีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม มึนงง หรือวิงเวียน ควรเข้ามารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ เช่น เจาะเลือด นอกจากนี้ยังมีการตรวจที่ละเอียดกว่า ECG นั่นก็คือการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) เพื่อดูความผิดปกติของกราฟหัวใจให้ชัดเจน”
เช่น ในรายที่เกิดจากไทรอยด์ฮอร์โมนตํ่า หรือเป็นพิษ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ถ้ารักษาอาการต้นเหตุนี้หายแล้ว อาจป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคนี้จากสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ถ้าไม่มีอาการรุนแรงมากนักอาจจะรักษาด้วยการรับประทานยา ซึ่งต้องมีการติดตามรักษา และปรับยาไปเรื่อยๆ คือต้องมาโรงพยาบาลเป็นประจำ อาจจะทำให้หลายคนหมดกำลังใจ
แต่ปัจจุบันมีการรักษาที่สามารถทำให้ชีวิตปกติสุขได้หลายวิธี เช่น การจี้ด้วยไฟฟ้า สำหรับคนที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ จะได้ไม่ต้องมาพบเเพทย์บ่อยๆ และรับประทานยาประจำ การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือ Radiofrequency Ablation ซึ่งเหมาะสำหรับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว “วิธีการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้านี้ จะต้องมีการตรวจที่เรียกว่า Electrophysiology Study ซึ่งเป็นการศึกษาระบบไฟฟ้าในหัวใจและต้องทำในห้อง Cath Lab เพื่อจะหาสาเหตุของการเต้นผิดปกติว่ามาจากส่วนไหนของหัวใจให้แน่ชัดก่อน แล้วจึงจะทำการจี้ไฟฟ้าที่บริเวณนั้น”
การรักษาโดยการจี้ไฟฟ้า
หรือ Radiofrequency Ablation นี้หลังจากตรวจพบว่าส่วนใดของหัวใจที่มีปัญหาแล้ว เราก็จะทำการสอดสายที่ใช้ในการจี้กระแสไฟฟ้าขึ้นไปโดยใส่ผ่านบริเวณขาหนีบข้างขวา คือพบความผิดปกติด้านใดก็สอดลวดที่เส้นเลือดแดงหรือดำข้างที่จะไปถึงส่วนที่ผิดปกติ จะเป็นการทำหัตถการแบบ Minimal Invasive Procedure ซึ่งหลังการรักษา ใช้เวลาพักฟื้นใน รพ.หนึ่งคืนเท่านั้น วิธีนี้คนไข้ก็ไม่ต้องกังวลกับการลดยาหรือเพิ่มยาอีกต่อไป
นั่นเป็นเรื่องของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็ว เเต่ในบางรายโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วเพราะดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือทานยาบางชนิด แนะนำให้ลดๆ เพลาๆ หรือเลิกไปเลยก็จะช่วยได้มากเลยทีเดียว สำหรับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้านั้นอาจมีสาเหตุจากความเสื่อมของระบบการนำกระเเสไฟฟ้าหัวใจ “การรักษาคนไข้ที่โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดช้านั้น ในปัจจุบันมีเครื่องกระตุ้นหัวใจรุ่นใหม่ๆ ที่มีขนาดเล็กลงมาก และสามารถฝังไว้ในตัวคนไข้ได้เลย จะทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม”
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร
หรือ Permanent Pacemaker นั้น เป็นการผ่าตัดแบบ minimally invasive surgery (MIS) เหมือนกัน โดยผ่าตัดเปิดเเผลที่บริเวณหน้าอกด้านซ้ายแล้วสอดเส้นลวดเข้าไปทางเส้นเลือดดำที่เข้าไปถึงหัวใจ ตัวสายนี้จะนำมาต่อเข้ากับตัวเครื่อง Permanent Pacemaker ซึ่งมีความกว้างยาวประมาณ 0.5 – 3 เซนติเมตรนั้นจะถูกฝังไว้ที่หน้าอกด้านซ้าย ดังนั้นคนไข้ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เครื่อง Permanent Pacemaker จะทำงานโดยคอยกระตุ้นให้หัวใจทำงานเป็นปกติ เครื่องทำงานโดยใช้แบตเตอรี่ซึ่งมีอายุการทำงานตั้งแต่ 5-10 ปี และถ้าแบตเตอรี่หมด ก็มาเปลี่ยนโดยผ่าออกเปลี่ยนแบตเตอรี่อย่างง่ายๆ
“สมัยนี้การผ่าตัดแบบนี้ บางครั้งเพียงแค่ฉีดยาชาเฉพาะที่ก็ทำได้แล้ว ถ้าต้องฉีดยาสลบจะเป็นแบบอ่อนให้หลับพอสบายๆ และต่อให้เป็นผู้สูงอายุที่ต้องมาผ่าตัดจะเป็นการใส่เครื่อง หรือ เปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ตาม เท่าที่ผ่านมา complication ถือว่าพบน้อยมาก ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะจะเป็นผู้สูงอายุอยู่เเล้ว”
คุณหมอยํ้ามาว่าเหล้า บุหรี่ และยาบางชนิด ตลอดจนความเครียดถือเป็นสาเหตุบั่นทอนความปกติของหัวใจเพราะฉะนั้นเลี่ยง หรือ งดไปเลยจะเป็นการป้องกันการเสื่อมของหัวใจได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่