ลิ้นหัวใจรั่วเป็นภัยเงียบและใกล้ตัว ถ้าไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด เพราะคนในปัจจุบันไม่ค่อยออกกำลังกาย โหมหนักงานจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เมื่ออายุมากขึ้นก็ส่งผลให้สุขภาพไม่ดี ต้องคอยหาหมออยู่บ่อยครั้ง ป่วยด้วยโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน หรือโรคไขมัน แต่ใครจะรู้ว่าโรคเหล่านี้จะเป็นส่งผลให้เรากลายเป็นโรคอื่นได้อีก
ลิ้นหัวใจของคนเราจะประกอบด้วยลิ้นหัวใจทั้งหมด 4 ลิ้น สำหรับลิ้นหัวใจที่พบว่าเกิดการรั่วได้บ่อยจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจไมทรัล(Mitral valve) และ ลิ้นหัวใจเอออร์ติค (Aortic valve)
วินิจฉัยด้วยการฟังเสียงหัวใจ และ X-ray เพื่อดูขนาดของเงาหัวใจ ดูภาวะน้ำท่วมปอด หลังจากนั้นจะใช้การตรวจที่เรียกว่า คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) เพื่อตรวจดูว่า พยาธิสภาพของตัวลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างไร รั่วแบบไหน และประเมินความรุนแรงของตัวโรคว่ารั่วมาก หรือรั่วน้อยและมีข้อบ่งชี้ในการรักษาต่อไปอย่างไร
ลิ้นหัวใจรั่วจะแบ่งระดับความรุนแรงตั้งแต่ รั่วน้อย รั่วปานกลาง รั่วมาก ในกรณี รั่วปานกลางร่วมกับอาการแสดง หรือรั่วมาก จะต้องพิจารณาว่าจะต้องทำการรักษา เช่น การผ่าตัด หรือการรักษาแบบอื่น
แนวทางรักษา จะต้องรักษาทั้งอาการแสดงทางคลินิค ร่วมกับ การรักษาตัวโรคโดยตรง โดยการใช้ยาควบคุมอาการและผลแทรกซ้อน ซึ่งต้องติดตามอาการและความรุนแรงของภาวะลิ้นหัวใจรั่วเป็นระยะๆ หากมีลิ้นหัวใจรั่วรุนแรงหรือไม่สามารถคุมอาการโดยใช้ยา มีแนวทางดังต่อไปนี้
ในกรณีที่ติดเชื้อลำคอ หรือติดเชื้อทางเดินหายใจ แล้วไม่หายสักที ต้องไปตรวจเช็คว่าการติดเชื้อนั้นเป็นลักษณะการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดหรือไม่ หรือว่าถ้าติดเชื้อแล้วมีอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับระบบนั้น เช่น มีเหนื่อยมากขึ้นผิดปกติ มีใจสั่น เจ็บหน้าอก ควรมาตรวจเพิ่มเติมว่าเกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่
ลิ้นหัวใจรั่วโดยส่วนใหญ่มักจะค่อยๆแสดงอาการ ดังนั้นหากมีอาการ ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เท้าบวม หรือมีโรคที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรจะพบแพทย์ตรวจเช็คร่างกายทุกปี ออกกำลังกาย หมั่นดูแลตัวเอง ทานอาหารที่เป็นประโยชน์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด และมีสุขภาพแข็งแรง คุณภาพชีวิตที่ดี
Reference Heart
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่