การดูแลและป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมเราทำได้

การดูแลและป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมเราทำได้

HIGHLIGHTS:

  • 2 ใน 3 ของคนอ้วนจะมีภาวะข้อเข่าเสื่อม!!
  • การออกกำลังที่เหมาะสมกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การเดินในน้ำหรือการว่ายน้ำ

การดูแลและป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมเราทำได้!

โรคข้อเสื่อม ปัจจุบันนี้พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง เช่น การเกิดสภาวะการเสื่อมของข้อเข่า ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดสภาะความเสื่อมของข้อเข่า นอกจากอายุและการใช้งานแล้ว สาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือ ความอ้วน ซึ่งจากข้อมูลของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) พบว่า ประมาณ 2 ใน 3ของคนอ้วนจะตรวจพบ ภาวะข้อเข่าเสื่อม

การเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันและการปรับเปลี่ยนลักษณะบ้านที่อยู่อาศัยสามารถช่วยลดอาการที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อมได้ ซึ่งเป้าหมายในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม คือ การลดอาการปวดและ การทำให้เข่าสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด

การดูแลและป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้วิธีการผ่าตัดนั้น จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 วิธีหลักๆ ได้แก่

  1. การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Lifestyle modifications)
  2. การออกกำลังกาย (Exercise)
  3. การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ (Supportive devices)
  4. วิธีอื่นๆ (Other methods)

1.Lifestyle modifications, weight control and rest

การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Lifestyle modifications) รวมไปถึง การลดน้ำหนัก การเปลี่ยนวิธีการออกกำลังจากการวิ่งและกระโดดเป็นการปั่นจักรยานและการว่ายน้ำ รวมถึงลดกิจกรรมที่ทำให้การเสื่อมของเข่าเกิดได้ง่ายขึ้น เช่น การขึ้นบันได การลดน้ำหนักในกลุ่มผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (Overweight) สามารถช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่าได้

การที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ (Overweight) หรือ อ้วน (Obese) เป็นการเพิ่มแรงกดต่อข้อต่อที่มีหน้าที่รับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่าและข้อสะโพก การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยก้อสามารถลดแรงกดต่อข้อต่อเหล่านี้และช่วยในเรื่องอาการปวดจากข้อเสื่อมได้อีกด้วย ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นควรจะใช้วิธีที่ไม่มีอันตราย โดยอาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารร่วมกับการออกกำลังกายถ้าคุณมีอาการปวดหรืออักเสบของข้อเข่า การหยุดพักการใช้งาน 12 ถึง 24 ชั่วโมง จะช่วยให้อาการปวดดีขึ้นได้

2.Exercise

การออกกำลังกายสามารถเพิ่มสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มพิกัดการเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อต่อได้ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่าทำให้ข้อเข่ามีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งประเภทการออกกำลังที่เหมาะสมกับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การเดินในน้ำหรือการว่ายน้ำ การออกกำลังกายสามารถช่วยลดอาการปวด แต่เมื่อใดก็ตามหากมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นหรืออาการปวดเป็นนานขึ้น นั่นหมายถึงอาจจะออกกำลังหนักเกินไป ซึ่งแพทย์ผู้ให้การรักษาและนักกายภาพบำบัดจะเป็นคนคอยแนะนำและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

3.Use assistive devices

การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดินสำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อมนั้น สามารถช่วยทำให้การเดินง่ายขึ้นโดยช่วยลดแรงที่มากระทำต่อข้อทั้งข้อเข่าและข้อสะโพก เช่น ไม้เท้า รองเท้าพิเศษ หรือการใช้ผ้ารัดเข่า ก็สามารถช่วยได้โดยใช้ภายใต้คำแนะนำและการควบคุมของแพทย์ เช่นควรถือไม้เท้าข้างตรงข้ามกับขาที่ปวด ซึ่งชนิดของไม้เท้าที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป การใช้ผ้ารัดเข่าก็สามารถช่วยทำให้อาการปวดของเข่าลดลง แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นต้น

4. Heat and cold to manage pain

การบรรเทาอาการปวดข้อโดยใช้ความร้อนหรือความเย็นประคบปวด สามารถทำได้โดยง่ายด้วยตัวท่านเองที่บ้าน
ความร้อนบรรเทาอาการปวดข้อได้โดยลดการติดขัดภายในข้อ ส่วนความเย็นช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เนื่องจากความเย็นช่วยลดการเกร็งตัวและการอักเสบของกล้ามเนื้อ การใช้ครีมหรือเจลลดอาการอักเสบ สามารถช่วยลดอาการปวดจากสภาวะข้อเสื่อมได้ชั่วคราว เนื่องจากครีมบางตัวทำให้เกิดการชาจากการที่ทำให้เกิดความรู้สึกร้อนหรือเย็นแทนที่อาการปวด ครีมบางตัวมีส่วนผสมของยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ ซึ่งสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ยิ่งข้อต่อที่อยู่ชิดหรือใกล้กับผิวหนัง เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ยิ่งได้ผลดี

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?