- ทำให้ลักษณะด้อย (recessive) ทั้งที่ดีและไม่ดีปรากฎออกมาได้ง่ายขึ้น เช่น ความผิดปกติของสติปัญญา โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อร่างกายหรืออายุของทายาท คล้ายโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากคู่พ่อและแม่ที่สายเลือดห่างกัน เช่น โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟิเลีย โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ภาวะตัวเตี้ยแคระ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รายละเอียดเพิ่มเติม
- ไม่ทำให้เกิดความหลากหลายของพันธุกรรม ลูกหลานออกมาก็จะมีความคล้ายคลึงพ่อแม่ ทำให้ไม่สามารถปรับตามสภาวะสิ่งแวดล้อมได้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะไม่เกิดวิวัฒนการ ตามหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection)
ถ้าถามว่าเกิดขึ้นทุกคู่หรือไม่ คำตอบคือ พบมากขึ้นมากกว่าคู่สมรสปกติ ตัวอย่าง เช่น คู่สมรสทั่วไปมีโอกาสมีลูกผิดปกติได้ 3% แต่ถ้าเป็นคู่ที่มีสายเลือดชิดใกล้ระดับลูกพี่ลูกน้อง จะเพิ่มโอกาสเป็น 2 เท่า คือ 6%
สำหรับคู่ที่ไม่ได้มีสายเลือดใกล้ชิดกัน มีโอกาสถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมไปสู่ลูกได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ หากพ่อหรือแม่มียีนโรคทางพันธุกรรมนั้นอยู่ในตัวเอง ซึ่งพ่อและแม่จะทราบได้จากการตรวจยีนกับแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มมีบุตร
ในปัจจุบันเราสามารถรู้ทันและป้องกันได้ โดยสามารถวางแผนปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านพันธุกรรมและการวางแผนครอบครัว เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเทคโนโลยีการตรวจยีนที่สมัย ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า Next Generation Sequencing (NGS) ซึ่งมีความไวในการตรวจหาการกลายพันธุ์ของ DNA สูง (high sensitivity) และแม่นยำ เพื่อชั่งน้ำหนักความเสี่ยงของลูกที่จะเกิดมาจาก รวมถึงการวางแผนการมีลูกให้ปลอดภัยมากที่สุด ไม่ว่าจะมีสายเลือดชิดใกล้หรือไม่ก็ตาม