การตั้งครรภ์ครบสมบูรณ์ตามกำหนดคลอดคือช่วงสัปดาห์ที่ 37-40 ดังนั้นหากมีการคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ เรียกว่า “ภาวะ คลอดก่อนกำหนด ” ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เป็นกังวลเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคุณแม่เองและทารกแรกเกิด
การคลอดก่อนกำหนดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ การดื่มแอลกฮอล์ รับประทานยาบางชนิด คุณแม่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำงานหนักระหว่างตั้งครรภ์ และการติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ เป็นต้น
นอกจากนี้คุณแม่ที่เคยคลอดลูกคนแรกก่อนกำหนด จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดในท้องสองมากถึง 15% และความเสี่ยงจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่เคยคลอดก่อนกำหนดมาแล้ว
แม้การที่คุณแม่เคยคลอดก่อนกำหนด ในท้องแรก ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพิ่มโอกาสการคลอดก่อนกำหนดของ ท้องสอง จนคุณแม่หลายคนไม่กล้าตั้งครรภ์อีก แต่หากคุณแม่เรียนรู้การป้องกันก็จะสามารถลดภาวะคลอดก่อนกำหนดของท้องสองได้ ด้วยวิธีการดังนี้
การตรวจคัดกรองความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดใน ท้องสอง ถือเป็นอีกวิธีป้องกันที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจได้หลายวิธี ดังนี้
การตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ เป็นการตรวจสุขภาพแบบ “Precision Medicine” ที่ช่วยเจาะจงความเสี่ยงลงลึกในระดับยีนของแต่ละบุคคล ทั้งทางด้านครอบครัว พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และรูปแบบการใช้ชีวิต ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อตรวจหาความเสี่ยงภาวะคลอดก่อนกำหนดและวางแผนการรักษา โดยเริ่มต้นตั้งแต่การซักประวัติอย่างละเอียด หากพบว่าคนไข้เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงทันที
นอกจากนี้ยังมีการตรวจคัดกรองโดยการวัดความยาวของปากมดลูกด้วย ultrasound ทางช่องคลอด หากความยาวของปากมดลูกมีขนาดสั้นกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิเมตร ก็เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ หากพบการอักเสบภายในมดลูก แพทย์สามารถให้ยาป้องกันได้และลดการอักเสบ เพื่อลดภาวะการคลอดก่อนกำหนดได้ รวมถึงการตรวจหาสาร Fetal Fibronectin ที่อยู่ระหว่างถุงน้ำคร่ำกับเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อหาแนวโน้มการคลอดก่อนกำหนดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในทางการแพทย์
กรณีตรวจพบความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด แพทย์จะทำการรักษาเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ดังนี้
เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาอวัยวะต่างๆ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการหายใจลำบาก เกิดภาวะอุณหภูมิต่ำหรือตัวเย็น เกิดภาวะตัวเหลือง และซีด มีการสำลักนม ท้องอืดง่าย ติดเชื้อโรคได้ง่าย ฯลฯ และอาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิต รวมถึงระยะยาวอาจพบปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจวายพิการแต่กำเนิด มีความผิดปกติของสมอง ชัก หูหนวก ตาบอด และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ไอคิวต่ำ เป็นต้น
ดังนั้นหากตรวจพบปัจจัยเสี่ยง คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคุณแม่ที่เคยประสบภาวะคลอดก่อนกำหนดในท้องแรกมาก่อน ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไปจนเกิดความเครียดการฝากครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้ รวมถึงการดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อน กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ ไม่เครียด และมาตรวจตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท คว้ารางวัลทรงเกียรติ “Healthcare Asia Award 2023” สาขา “Clinical Service Initiative of the Year”
ริเริ่มโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 2559
โดยมี รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล ประธานโครงการและหัวหน้าคลินิกป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เป็นตัวแทนขึ้นรับรางวัลในครั้งนี้
โรงพยาบาลสมิติเวชยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโปรแกรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยจะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในประเทศไทยและในต่างประเทศ ช่วยเพิ่มคุณภาพในการดูแลสตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่