สำหรับเรื่องของน้ำเดิน ปกติแล้วจะเกิดขึ้นได้เมื่อเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอด แต่ถ้าเกิดมีน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์คลอด อันนี้ถือว่าคุณแม่ตั้งครรภ์กำลังอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยง ปัญหาภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้บ่อย และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ ซึ่งบทความนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องปัญหาภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดกัน
ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ทางการแพทย์เรียกว่า PROM (Premature rupture of membranes) หมายถึง ภาวะที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกเองก่อนมีการเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นขณะอายุครรภ์ครบกำหนดตั้งแต่ 37 สัปดาห์ (Term PROM) หรือ ก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ (Preterm PROM) โดยภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดพบในช่วงอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 10% และก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 3% ของการคลอดบุตรทั้งหมด
ถึงแม้สาเหตุพยาธิกำเนิดของภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ โดยในรายๆ หลายอาจจะไม่พบสาเหตุที่เกี่ยวข้อง แต่พบว่ามีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่เกี่ยวข้องได้แก่
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ ตั้งครรภ์แฝด, ภาวะน้ำคร่ำมาก, เนื้องอกมดลูก, ประวัติเคยผ่าตัดปากมดลูก, ตรวจพบปากมดลูกสั้น, ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, รกเกาะต่ำ, รกลอกตัวก่อนกำหนด, โลหิตจาง และตรวจพบความพิการของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดนั้น สิ่งที่แพทย์กังวลมากที่สุดก็คือเรื่องของการติดเชื้อของคุณแม่ ซึ่งจะเกิดจากการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูก ซึ่งจะสัมพันธ์กับระยะเวลาตั้งแต่น้ำเดินจนถึงระยะคลอด โดยเฉพาะถ้าภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดเกิดก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด นอกจากทารกจะเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อที่รุนแรงและภาวะทุพพลภาพด้านพัฒนาการในระยะยาวแล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนด เช่น ภาวะหายใจยากลำบากจากปอดพัฒนาไม่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า RDS (Respiratory distress syndrome) รวมถึงทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ส่งผลให้การทำงานของหัวใจและปอดของทารกผิดปกติอีกด้วย
ก็จะเริ่มจากการซักประวัติว่าคนไข้มีอาการน้ำไหลออกจากช่องคลอดก่อนเข้าสู่ระยะคลอดบ้างหรือไม่ จากนั้นก็ตรวจร่างกายเพื่อดูน้ำที่ไหลออกจากช่องคลอด โดยแพทย์จะให้คนไข้ออกแรงไอหรือเบ่งก็จะเห็นน้ำไหลออกจากปากมดลูก ปกติแล้วแพทย์จะไม่ใช้วิธีตรวจภายในเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น จากนั้นก็จะส่งน้ำจากช่องคลอดนั้นเข้าตรวจในแล็บต่อไป หรืออาจจะใช้การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อใช้ร่วมในการประกอบการวินิจฉัย
ส่วนการรักษาถ้าแพทย์ตรวจพบแล้วว่ามีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดซึ่งเป็นภาวะครรภ์เสี่ยงแล้ว แพทย์ก็จะให้คนไข้ admit จนกว่าจะคลอด แนวทางการดูแลรักษาก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องอายุครรภ์ การติดเชื้อของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการเจ็บครรภ์ ท่าทางและการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ การเปิดของปากมดลูก โดยจะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้แล้วกำหนดแนวทางในการรักษาอีกครั้งหนึ่ง
การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรรู้ไว้ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ล้วนมีผลต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้นไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม และคงไม่มีใครที่ต้องการจะตกอยู่ในภาวะครรภ์เสี่ยง ดังนั้น เมื่อคุณรู้ว่าตั้งครรภ์ ก็ควรฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท คว้ารางวัลทรงเกียรติ “Healthcare Asia Award 2023” สาขา “Clinical Service Initiative of the Year”
ริเริ่มโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ป้องกันการคลอดก่อนกำหนด และประสบความสำเร็จตั้งแต่ปี 2559
โดยมี รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล ประธานโครงการและหัวหน้าคลินิกป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เป็นตัวแทนขึ้นรับรางวัลในครั้งนี้
โรงพยาบาลสมิติเวชยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโปรแกรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยจะทำงานร่วมกับโรงพยาบาลในประเทศไทยและในต่างประเทศ ช่วยเพิ่มคุณภาพในการดูแลสตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่