กระดูกสันหลังเป็นส่วนสำคัญมากในร่างกายของเรา มีหน้าที่รับน้ำหนักและช่วยพยุงร่างกายให้สามารถตั้งตรงได้ ในทุกวันนี้พบว่าคนไทยมีอาการกระดูกสันหลังคดมากขึ้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงขอพาทุกท่านมาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังคดกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลย
โดยปรกติแล้วกระดูกสันหลังของคนเราจะโค้งงอไปด้านหน้าและหลังในระดับนึงอยู่แล้ว ถ้าเรามองจากด้านหลังเราจะเห็นกระดูกสันหลังเป็นแนวเส้นตรง แต่ถ้าเมื่อไหร่กระดูกสันหลังโค้งงอไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวาจนผิดปกติ คือถ้ามองจากแนวเส้นตรงแล้วกระดูกสันหลังบิดหรือผิดรูปออกทางด้านข้าง นั่นหมายความ โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) ได้เข้ามาเยือนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งภาวะกระดูกสันหลังคดนี้จะส่งผลให้คนที่มีสะโพก เอว และไหล่ไม่เท่ากัน กระดูกสันหลังคดเกิดได้ในทุกอายุ พบได้ตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากมักเกิดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูกอย่างรวดเร็ว คืออายุประมาณ 10 -15 ปี พบได้เท่ากันในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงมักจะมีการคดงอของกระดูกมากกว่าผู้ชาย
กระดูกสันหลังคด หลักๆ แล้วจะเกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุ คือ
เมื่อกระดูกสันหลังคดก็จะทำให้แผ่นหลังด้านซ้ายและขวาไม่เท่ากัน ระดับของหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน สะโพกไม่เท่ากัน ตัวเอียงไปข้างหนึ่ง ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ ส่วนอาการที่จะส่งผลตามมาจากสิ่งผิดปกติทางกายก็คือ อาการปวดบริเวณ หลัง เอวและคอ ซึ่งจะปวดเรื้อรัง เนื่องจากกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนแบกรับน้ำหนักไม่เท่ากัน รวมทั้งในรายที่มีการคดบริเวณหน้าอกมาก มีอาการเหนื่อยง่าย เนื่องจากกระดูกหน้าอกไปกดทับปอดมากกว่าปกติ
การรักษากระดูกสันหลังคดนั้นแพทย์จะพิจารณาจากมุมการคด การเปลี่ยนแปลงของมุม และอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก ถ้ากระดูกสันหลังไม่คดมาก แพทย์ก็จะใช้วิธีการติดตามเฝ้าดูอาการโดยจะดูการเปลี่ยนแปลงของมุม ทุก 4-6 เดือน ถ้ามุมคดมากกว่า 25 องศา แพทย์ก็จะให้ผู้ป่วยใส่เสื้อเกราะเป็นอุปกรณ์ค้ำจุน ให้รัดกระชับ เพื่อดัดกระดูกสันหลัง ป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น โดยใส่ประมาณ 23 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้ากระดูกสันหลังคดมากกว่า 45 องศา แพทย์ก็จะพิจารณาการผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังใหม่โดยการใช้โลหะดามกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากระดูกสันหลังคดแม้จะเป็นปัญหาที่ไม่เล็ก แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกังวลมากอีกต่อไปเพราะในปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้าขึ้น จึงช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อน หากเราเข้าใจว่าโรคนี้เป็นอย่างไรและรักษาได้อย่างไร ก็จะวางใจได้มากยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่