ต่อมลูกหมากเป็นต่อมรูปวอลนัทขนาดเล็กในเพศชายที่ผลิตน้ำอสุจิและขนส่งตัวอสุจิ มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งในเพศชายที่พบได้บ่อยที่สุด และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งในเพศชายมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด
อย่างไรก็ตามมะเร็งต่อมลูกหมากที่ตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อยังคงจำกัดอยู่ที่ต่อมลูกหมาก มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งต่อมลูกหมากอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่เมื่อลุกลามมากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการแสดง เช่น
แม้ยังไม่พบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่แพทย์ทราบดีว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเริ่มต้นขึ้นเมื่อเซลล์ในต่อมลูกหมากมีการเปลี่ยนแปลงในดีเอ็นเอของเซลล์ ส่งผลให้เซลล์เติบโตและแบ่งตัวได้รวดเร็วกว่าเซลล์ปกติ เซลล์ที่ผิดปกติจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเมื่อเซลล์อื่นตาย เซลล์ผิดปกติที่สะสมอยู่ก่อตัวเป็นเนื้องอกที่สามารถเติบโตเพื่อบุกรุกเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง เมื่อเวลาผ่านไป เซลล์ที่ผิดปกติสามารถแตกออกและแพร่กระจาย ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
ปัจจัยที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่
นอกจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ยังสามารถเดินทางผ่านกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองไปยังกระดูกหรืออวัยวะอื่นๆ ส่งผลกระทบต่างๆ ดังนี้
สามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เมื่อปฏิบัติ ดังนี้
งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าการหลั่งบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะระหว่างการมีเพศสัมพันธ์หรือการช่วยตัวเอง อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยการศึกษาในปี 2016 พบว่าผู้ชายที่หลั่งออกมาอย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน ลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ประมาณ 20% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่หลั่งเพียง 4-7 ครั้งต่อเดือน
(อ้างอิงจาก https://health.clevelandclinic.org/ejaculation-and-prostate-health)
อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่ที่จุดเชื่อมต่อของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ ซึ่งช่วยกำหนดเส้นทางของสเปิร์มในการหลั่งอสุจิ โดยพุ่งออกมาในท่อปัสสาวะ
เมื่อสารก่อมะเร็งตามธรรมชาติถูกสร้างขึ้นในต่อมลูกหมาก สะสมเป็นความเสี่ยงการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้นการพุ่งออกมาของอสุจิ อาจช่วยกวาดล้างสารก่อมะเร็งที่อาจเป็นอันตรายเหล่านี้และลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยมีการยืนยันจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี 2018 ซึ่งพบความเชื่อมโยงทางชีววิทยาระหว่างการหลั่งบ่อยครั้งและการพัฒนาของเนื้องอกต่อมลูกหมาก
อย่างไรก็ตาม การหลั่งบ่อยๆ ไม่สามารถช่วยชะลอการขยายตัวของต่อมลูกหมากหรือต่อมลูกหมากโต (BPH) ที่เกิดขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นได้
นอกจากการมีเพศสัมพันธ์และการหลั่งจะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว การมีเพศสัมพันธ์ก็นับว่าเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ช่วยเผาผลาญแคลอรีได้มากกว่า 100 แคลอรี ส่งผลดีต่อร่างกายและลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ทั้งนี้ระหว่างการหลั่ง ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้สึกมีความสุขและผ่อนคลาย
การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มีระดับแอนติบอดีที่ป้องกันการเจ็บป่วยสูงขึ้น รวมถึงสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ที่ปล่อยออกมาระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทำหน้าที่เป็นยาแก้ปวดตามธรรมชาติ อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและไมเกรนได้
หากพบสัญญาณความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางดึก ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ อาจจะมีการตรวจโดยคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก และการเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) หากพบค่าพื้นฐานมีความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก อาจส่งตรวจด้วยการทำ MRI ต่อมลูกหมาก และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากนั้นทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยแต่ละราย ดังนี้
แม้ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะเริ่มต้น แต่หากใส่ใจหมั่นสังเกตร่างกาย เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีและคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในกรณีที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
นอกจากนี้การใส่ใจดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้น้ำหนักมากเกินไป รวมถึงมีกิจกรรมทางเพศหรือการช่วยตัวเอง อาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้
https://health.clevelandclinic.org/ejaculation-and-prostate-health/
https://www.hsph.harvard.edu/news/hsph-in-the-news/why-more-sex-may-lower-prostate-cancer-risk/https://www.reuters.com/article/us-health-ejaculation-prostate-cancer-idUSKCN0XJ1YC
สมรรถภาพทางเพศ นกเขาไม่ขัน หลั่งไว หรือเสร็จช้า รับมือกับอาการวัยทอง (40+) มีความต้องการทางเพศลดลง รู้สึกไม่ค่อยมีแรง ความแข็งแรงและอดทนลดลง ความสนุกสนานในชีวิตลดลง ความแข็งตัวของอวัยเพศลดลง เป็นต้น
อ่านรายละเอียด หรือทำนัดล่วงหน้า 2 วัน คลิกที่นี่
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่