การซักประวัติ แพทย์อาจซักประวัติตาม International prostate symptom score (IPSS) หรือ AUA symptom score questionnaire
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านรู้สึกปัสสาวะไม่สุด บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านต้องปัสสาวะบ่อย เช่น ปัสสาวะซ้ำภายใน 2 ชั่วโมงหลังการปัสสาวะครั้งสุดท้าย บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านมีการปัสสาวะติด ๆ ขัด ๆ บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านมีความลำบากในการกลั้นปัสสาวะ บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านมีปัสสาวะไหลเบา บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านต้องใช้แรงเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ บ่อยเพียงใด
- ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ท่านต้องตื่นกลางดึกมาปัสสาวะ บ่อยเพียงใด
และแพทย์จะนำคะแนนที่ได้มารวบรวมและแบ่งเป็น ความรุนแรงต่ำ ปานกลาง และสูง นอกจากนี้ แพทย์อาจซักประวัติอาการที่เกี่ยวข้อง และเพื่อแยกโรคอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันด้วย
- การตรวจร่างกาย โดยแพทย์อาจใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักเพื่อทำการตรวจขนาด รูปร่าง ลักษณะ รวมถึงการอักเสบของต่อมลูกหมาก
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาเม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดแดงในกระเพาะปัสสาวะ
- การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA)
- การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)
- การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy) เพื่อแยกภาวะต่อมลูกหมากโตจากมะเร็งต่อมลูกหมากและสาเหตุอื่น ๆ
- นอกจากนี้ยังอาจมีการตรวจเพื่อหาความรุนแรงหรือการตรวจติดตามการรักษา เช่น
- การตรวจการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test)
- การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้าง (Post-Void Residual Urine Test: PVR) จะตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ใกระเพาะปัสสาวะหลังปัสสาวะเสร็จ โดยอาจใช้การอัลตร้าซาวด์ หรือการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปวัดปริมาณปัสสาวะโดยตรง
- การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อาจทำได้เพื่อประเมินขนาดของต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะตรวจพบว่าต่อมลูกหมากมีขนาดโต แต่หากยังไม่มีอาการใดๆ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา