เพราะท่าทางการเดิน การวิ่งและการทำงานประสานกันที่ยังไม่พัฒนา ดังนั้น ควรกระตุ้นให้เขาเล่นหรือออกกำลังกายอย่างอื่นจะดีกว่าการวิ่ง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ คือ จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยให้เขาเข้าไปเล่น หรือร่วมกิจกรรม
เด็กๆ มีแนวโน้มที่ร่างกายจะร้อนเกินไป และเย็นอย่างรวดเร็วเกินไป มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะพวกเขายังไม่มีระบบเหงื่อที่มีประสิทธิภาพ มีอัตราส่วนของผิวหนังต่อน้ำหนักตัวที่มากกว่า หมายถึงพวกเขาสามารถรับและสูญเสียความร้อนได้เร็วมาก ต้องให้แน่ใจว่าพวกเขาฝึกโดยสวมใส่ชุดบาง รวมถึงต้องถอดออกหรือใส่กลับได้สะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญไม่ควรฝึกเด็กๆ ในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สุดของวัน อีกอย่างคือต้องแน่ใจว่าเด็กๆ ดื่มน้ำจำนวนที่มากพอ
วัยนี้หมายถึง 5 ขวบขึ้นไป เริ่มมีพัฒนาการควบคุมการเคลื่อนไหวในการวิ่งที่มากขึ้นแล้ว แต่ยังคงมีแนวโน้มตามธรรมชาติของพวกเขาคือวิ่งแบบพุ่งออกไปเร็วในระยะสั้น เด็กๆ อาจมีปัญหาในการวิ่งให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากแขนขาของพวกเขายังมีสัดส่วนไม่สมกับมวลกล้ามเนื้อของเขา การให้เด็ก ๆ ได้วิ่งในการเล่นเกมส์ และรวมถึงการฝึกทักษะด้วยลูกบอลช่วยพัฒนาการประสานงานของร่างกายได้
การเจริญเติบโตเร่งเร็วขึ้นซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาในการเจริญเติบโต และเด็กๆ ที่กระฉับกระเฉงอาจทุกข์ทรมานกับอาการที่เรียกว่าอาการจากปัญหากล้ามเนื้อและกระดูก (Osgood-Schlatter syndrome) ทำให้มีอาการปวดรุนแรงที่ใต้ลูกสะบ้า อันเป็นผลจากความเครียดของการถูกแทนที่ของชั้นกระดูกอ่อนที่เติบโตขึ้นบริเวณส่วนปลายของกระดูกขาที่อยู่ใต้เข่า แต่สภาวะดังกล่าวจะหายไปเมื่อเด็กโตเต็มที่หรืออยู่ช่วงใกล้จบชั้นประถม พวกเขาอาจสามารถเริ่มวิ่งระยะทางไกลได้ (สูงสุดถึง 1 ไมล์)
เป็นวัยที่เหมาะสม การฝึกซ้อมของพวกเขาสามารถเพ่งความสนใจได้มากขึ้น ให้เขาเริ่มแข่งขันในระยะสั้น (สูงสุดถึง 5 กิโลเมตร) และเป็นวัยที่ความสามารถพิเศษด้านการวิ่งจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ควรคำนึงเรื่องแขนขาของวัยรุ่น ที่เจริญเติบโตเร็วมากจะทำให้พวกเขาดูซุ่มซ่าม ซึ่งขณะเดียวกันนี้สมองกำลังพยายามปรับตัวตามจึงทำให้การรับรู้ช่องว่างยังไม่ดีนัก จึงควรมีการฝึกฝนทักษะโดยสอนท่าทางที่ดี (good form) แก่นักวิ่งหนุ่มสาวในวัยนี้ ทั้ง 2 เพศนี้กระดูกยังคงมีพัฒนาการและยังคงมีความเสี่ยงของการแตกร้าวจากความเครียด (stress fractures) สามารถลดความเสี่ยงลงได้ด้วยการฝึกซ้อมบนพื้นผิวที่นุ่ม เช่น สนามหญ้าหรือลู่วิ่งสนามกีฬา
เด็กๆ ที่ออกกำลังกาย ควรใส่ใจกับการกินอาหารและระดับพลังงาน ซึ่งจะบอกให้รู้ว่าเขากำลังกินอย่างเพียงพอหรือไม่ เด็กต้องได้รับโปรตีนมากพอจากอาหาร (จากการวิจัยแนะนำว่า คือปริมาณที่เหมาะสม คือ 1.1 – 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/ต่อวัน ) เพื่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซม รวมทั้งแคลเซียมสำหรับการเสริมสร้างกระดูก และวิตามินต่างๆ สำหรับช่วยในการเผาผลาญอาหาร ที่มากพอ
ส่วนวัยที่ถือว่าโตเต็มที่ (16-18 ปี) สามารถฝึกซ้อมในระยะทางมากๆ ได้ แต่ต้องเป็นระยะไม่ควรเกิน 10 กิโลเมตร เนื่องจากความทนทาน (endurance) ยังไม่พัฒนามากกว่านี้ ควรเน้นให้แข่งประเภทความเร็วมากกว่า
ดังนั้นระยะที่เรียกว่า Half หรือ Full Marathon จะเริ่มฝึกฝนได้ในช่วงอายุ 20 ปีเป็นต้นไป
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่