นับจากการเตรียมตัวตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ จนถึงหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ต่างมีความกังวลถึงความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูก ตั้งแต่วัยทารก เป็นเด็กน้อย จนกระทั่งโต ความกังวลก็ยังไม่เคยหายไป กังวลว่าลูกจะไม่สูง ดูตัวเล็กกว่าเพื่อน ผอมแห้งน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรืออาจจะอ้วน น้ำหนักเกิน ตัวโตเกินวัย
การเจริญเติบโตของเด็ก คือ การเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก และการเพิ่มขึ้นของความสูง การวินิจฉัยว่าลูกเตี้ยไป หรือสูงไป หรือเสี่ยงมีภาวะโรคอ้วนในเด็ก สามารถพิจารณาจากน้ำหนักและความสูงของเด็กเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง ที่นอกจากจะเป็นสมุดบันทึกการรับวัคซีนพื้นฐานแล้ว ยังเป็นคู่มือบันทึกสุขภาพและข้อมูลสำหรับการส่งเสริมการเจริญของเติบโตลูกน้อย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงมีข้อมูลความรู้สำหรับการดูแลลูกอีกด้วย
กรณีที่คุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลหรือเมื่อเทียบจากกราฟการเจริญเติบโตแล้ว พบว่าลูกมีความสูง / น้ำหนัก น้อยหรือเกินมาตรฐาน โดยแสดงในกราฟชัดเจน เช่น น้ำหนักเคยขึ้นประมาณ 2-3 กิโลกรัมต่อปี กลายเป็น 5 กิโลกรัมแบบก้าวกระโดด หรือเด็กปกติควรสูง 4 เซนติเมตรต่อปี แต่ลูกสูงขึ้นเพียงปีละ 2-3 เซนติเมตร ผู้ปกครองอาจลองพิจารณาพาลูกน้อยไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อประเมินการเจริญเติบโต ว่าปกติสมวัยหรือไม่
นอกจากนี้เด็กตั้งแต่อายุ 5-6 ปี ซึ่งเป็นวัยเข้าโรงเรียน ทางโรงเรียนจะมีการชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงนักเรียนเป็นประจำทุกภาคการศึกษา และประเมินการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของเด็กตามวัย หากพบเด็กมีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน หรือตัวเล็กกว่ามาตรฐาน ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และอันตรายของโรคอ้วน หรือปรึกษาเพื่อเพิ่มความสูงให้ลูกอย่างเหมาะสม
นอกจากพันธุกรรมที่ส่งผลกับความสูงของเด็กมากถึง 70-80% แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญ ที่อาจช่วยเปลี่ยนแปลงความสูงตามกรรมพันธุ์ ทำให้เด็กสูงตามวัยได้ ดังนี้
การดูแลให้เด็กๆ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ นอนเป็นเวลาและออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตตามวัย กรณีเด็กที่ได้รับการดูแลอย่างดี แต่ยังมีปัญหาด้านความสูง การพบแพทย์เป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยให้ลูกๆ สูงขึ้น โดยแพทย์จะรักษาจากสาเหตุที่วินิจฉัยพบ ดังนี้
คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะชอบและเอ็นดูที่ลูกอ้วนท้วนจ้ำม่ำ ด้วยรู้สึกว่าน่ารักน่ากอด แต่จริงๆ แล้ว ความอ้วนในเด็กมีผลเสียต่อสุขภาพหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ ภาวะตับอักเสบ ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ อาจส่งผลถึงชีวิตได้ หรือรบกวนการนอน จนเด็กๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงผลกระทบทางด้านจิตใจ ถูกบูลลีเรื่องรูปร่าง จนเกิดความเครียด
กรณีรู้สึกว่าลูกมีน้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะโรคอ้วนในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยจากกราฟน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดวัคซีน ซึ่งปกติเด็กๆ จะน้ำหนักขึ้น 2-3 กิโลกรัมต่อปี หากขึ้นมากถึง 5 กิโลกรัมต่อปี อาจกำลังเผชิญหรือมีแนวโน้มโรคอ้วน แพทย์จะทำการรักษา ดังนี้
ไม่ว่าลูกจะไซส์ S หรือ XL พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การนอนหลับที่เพียงพอ และการออกกำลังกายมีความสำคัญ ที่จะส่งผลให้ลูกเติบโตสมวัย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวล สามารถพบขอคำปรึกษาแพทย์ประเมิน ปรึกษา กับกุมารแพทย์การเจริญเติบโตและโรคต่อมไร้ท่อ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด พร้อมวางแผนการรักษาให้เด็กเติบโตสมวัยต่อไป
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่