การลดน้ำหนัก ด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon)

การลดน้ำหนัก ด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon)

Highlight

  • วิธีลดน้ำหนักโดยการใช้บอลลูนในกระเพาะอาหารชนิดปรับขนาดได้  เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) มีอัตราการประสบผลสำเร็จในการลดน้ำหนักมีมากถึง 84% น้ำหนักลดลงได้ 15%
  • การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร จะทำผ่านการส่องกล้องขนาดเล็ก โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล และสามารถกลับบ้านได้หลังจากการใส่บอลลูนประมาณ 1 ชั่วโมง
  • การลดน้ำหนักด้วยวิธีใดก็ตาม หากไม่ปรับการรับประทานอาหาร หลังลดน้ำหนัก ก็อาจทำให้น้ำหนักกลับมาเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมได้

ภาวะน้ำหนักเกินหรือ “โรคอ้วน” คือภาวะที่มีค่า BMI เกิน 25 กก./ม2 ขึ้นไป เป็นภาวะที่พบได้มากขึ้นในปัจจุบันและไม่ควรมองข้าม เพราะโรคอ้วนมักพบร่วมกับโรคอื่น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคโควิด-19 ที่ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนมักมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักจึงมีความสำคัญอย่างมาก บ่อยครั้งการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐานก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก วิธีการควบคุมน้ำหนักมีหลายวิธี แต่มักต้องอาศัยวินัย เวลา และความพยายามเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาวิธีลดน้ำหนักที่สามารถทำได้โดยไม่เหนื่อย รวดเร็วและไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นั่นคือการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารชนิดปรับขนาดได้ (Adjustable Gastric Balloon)

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร คืออะไร 

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารชนิดปรับขนาดได้  (Adjustable Gastric Balloon) คือการลดน้ำหนักแบบใหม่ โดยการส่องกล้องและนำบอลลูนปรับขนาดได้ใส่เข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ลดน้อยลง เป็นนวัตกรรมที่ได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) และจากผลการทดลองของ FDA แสดงให้เห็นว่า อัตราการประสบผลสำเร็จในการลดน้ำหนักมีมากถึง 84% น้ำหนักลดลงได้ 15% และเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

ทำไมต้องใช้บอลลูนในกระเพาะอาหารแบบปรับขนาดได้

การใช้บอลลูนในกระเพาะอาหารแบบปรับขนาดได้เป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ช่วยลดผลข้างเคียงในการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารและยังทำให้การลดน้ำหนักเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละบุคคล 
มีผู้ป่วยกว่า 10% ที่ลดน้ำหนักโดยใช้บอลลูนในกระเพาะอาหารแบบปรับขนาดไม่ได้ ต้องถอดบอลลูนออกก่อนกำหนดเนื่องจากมีความระคายเคือง ในขณะที่การใช้บอลลูนแบบปรับขนาดได้นั้น สามารถปรับขนาดบอลลูนลงเพื่อลดความระคายเคืองได้ผลกว่า 82% อีกทั้งมีผู้ป่วยกว่า 90% ที่มีประสิทธิภาพการลดน้ำหนักน้อยลงหลังใส่บอลลูนเป็นระยะเวลา 4 เดือน การปรับขนาดบอลลูนให้ขยายใหญ่ขึ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการลดน้ำหนัก ซึ่งหลังการปรับขนาดบอลลูน อัตราการลดน้ำหนักสูงขึ้น 85% การใช้ Adjustable Gastric Balloon จึงมีอัตราการลดน้ำหนักสำเร็จกว่า 80% มากกว่าบอลลูนในกระเพาะอาหารที่ไม่สามารถปรับขนาดได้ ซึ่งมักมีอัตราการการลดน้ำหนักสำเร็จต่ำกว่า 50%เท่านั้น

การลดน้ำหนัก ด้วยการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร (Gastric Balloon)

การทำบอลลูนในกระเพาะอาหาร ต้องพักฟื้นกี่วัน

     การใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร แพทย์จะทำผ่านการส่องกล้องขนาดเล็กเพื่อสอด Adjustable Gastric Balloon เข้าไปในกระเพาะอาหารและเติมน้ำเกลือเข้าไปในบอลลูน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที โดยบอลลูนจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ 1 ปี ผู้รับบริการไม่ต้องรับการผ่าตัด ทำให้ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล และสามารถกลับบ้านได้หลังจากการใส่บอลลูนประมาณ 1 ชั่วโมง หรือพักฟื้นอยู่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูอาการได้

การดูแลตนเองหลังการทำบอลลูนลดน้ำหนัก

1. แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน สามารถรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ได้
2. หลังจากใส่บอลลูน ใน 3 วันแรก ควรรับประทานอาหารเหลวแล้วค่อย ๆ ปรับเป็นอาหารอ่อน ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถรับประทานอาหารแข็งได้ (ข้อมูลในส่วนโภชนาการขณะใส่บอลลูนลดน้ำหนัก)
3. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด มีไขมันหรืออาหารย่อยยาก เช่น เนื้อแดง เพราะอาจทำให้อาหารไม่ย่อย ควรบริโภคเนื้อปลาและเนื้อไก่ ผักต้ม จะช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
4. สามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรหนักเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอาการจุกเสียด อาจปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้ในระดับใด
5. สามารถป้องกันอาการกรดไหลย้อนจากการใส่บอลลูนโดยปรับวิธีการกิน เช่น การรับประทานอาหารเพียงชิ้นเล็ก ๆ ไม่เสียดายอาหารหากรับประทานเหลือ รับประทานช้า ๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานเร็วเกินไป เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนการทำบอลลูนลดน้ำหนัก

1. แพทย์จะสอบถามประวัติทางการแพทย์และตรวจร่างกาย เพื่อพิจารณาว่าสามารถรับบริการลดน้ำหนักด้วยบอลลูนได้หรือไม่ 
2. แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับบอลลูนลดน้ำหนัก เพื่อให้ทราบถึงข้อดีและข้อเสีย
3. แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความกังวลด้านสุขภาพและเป้าหมายในการลดน้ำหนักเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
4. งดอาหารเป็นเวลา 12 ชั่วโมงและงดน้ำเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงก่อนทำการใส่บอลลูนลดน้ำหนัก

ข้อดีของการลดน้ำหนักด้วยการใส่บอลลูน Adjustable Gastric Balloon

1. ไม่ต้องผ่าตัด ช่วยลดผลข้างเคียงของขั้นตอนการผ่าตัด
2. ใช้เวลาใส่บอลลูนไม่นานเพียง 15-20 นาที ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
3. สามารถลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพเพราะบอลลูนกินพื้นที่ในกระเพาะอาหารกว่า 30% 
4. ช่วยลดปริมาณอาหารที่สามารถรับประทานได้ อีกทั้งบอลลูนยังไปขัดขวางการย่อยของอาหาร ทำให้อาหารอยู่ในท้องได้นานมากขึ้น ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
5. สามารถปรับบอลลูนให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละบุคคลได้
6. ลดผลข้างเคียงจากการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเนื่องจากบอลลูนสามารถหดเล็กลงได้
7. บอลลูนสามารถขยายได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก ช่วยแก้ปัญหาอาการดื้อการลดน้ำหนักหลังใช้ไประยะเวลาหนึ่ง
8. สามารถใส่บอลลูนไว้ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้น ช่วยให้มีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้นานขึ้นตามไปด้วย
9. การใส่บอลลูนเพื่อลดน้ำหนักอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ทำให้ปลอดภัยขณะทำการลดน้ำหนัก 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร

1. หลังจากใส่บอลลูนแล้ว 3-5 วัน อาจรู้สึกไม่สบายตัวและอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น กรดไหลย้อน คลื่นไส้ ตะคริว อาเจียน มึนหัว เวียนหัวและเสียดท้อง หากมีอาการไม่มากสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากมีอาการผิดปกติมากควรมาพบแพทย์
2. อาจเกิดแผลของท่ออาหารเนื่องจากกรดไหลย้อน (Reflux esophagitis) สามารถป้องกันได้โดยรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
3. อาจเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากอุปกรณ์ที่ใช้
4. บอลลูนอาจมีการยุบตัวหรือแตก โดยน้ำในบอลลูนจะออกมาในรูปแบบปัสสาวะและพลาสติกของบอลลูนจะออกมาในรูปแบบอุจจาระ
5. บอลลูนอาจถูกับท้องทำให้เกิดการฉีกขาด ซึ่งมักเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดกระเพาะอาหารมาก่อน (โดยปกติ ห้ามใช้บอลลูนในกระเพาะอาหารในผู้ที่เคยทำการผ่าตัดกระเพาะอาหาร) 

การลดน้ำหนักด้วยบอลลูนเหมาะกับใคร?

1. เหมาะกับผู้ที่มี BMI ขั้นต่ำคือ 27  วิธีการคำนวณ BMI ทำได้ดังนี้    

 ดัชนีมวลกาย (BMI)   =   น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2
2. ผู้ที่ไม่ต้องการลดน้ำหนักด้วยการผ่าตัด 
3. ผู้เข้ารับบริการต้องไม่เคยผ่าตัดกระเพาะมาก่อน ไม่มีแผลเปิดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
4. ผู้รับบริการต้องไม่เป็นโรค ดังต่อไปนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับทางเดินอาหารก่อนการผ่าตัด
  • การอักเสบเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
  • อาการกรดไหลย้อนที่รุนแรงหรือรักษาไม่ได้
  • มีความผิดปกติทางโครงสร้างในหลอดอาหารหรือคอหอย เช่น การตีบตัน 
  • มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารที่รุนแรง ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระหว่างการถอดอุปกรณ์
  • มีภาวะเลือดออกง่ายหรือเลือดแข็งตัว
  • มีภาวะเบาหวาน
  • อาการท้องผูกที่รักษายาก
  • มีภาวะเกี่ยวกับตับ เช่น ตับวาย โรคตับแข็ง
  • ความเจ็บป่วยหรือความผิดปกติทางจิตเวชที่ร้ายแรงหรือการควบคุมไม่ได้ เพราะผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจหรือไม่สามารถปฏิบัติตามแพทย์สั่งได้
  • โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติด
  • โรคเซโรโทนิน และกำลังใช้ยาที่ทราบว่ามีผลต่อระดับเซโรโทนินในร่างกาย 
  • มีภาวะอาการหัวใจล้มเหลว มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ไม่เสถียร โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรง
  • โรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคปอดบวม 
  • มะเร็ง ที่กำลังได้รับการฉายแสง 
  • การวินิจฉัยความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
  • ความผิดปกติของการกิน เช่น กลุ่มอาการการกินตอนกลางคืน (NES) โรคบูลิเมีย โรคการกินมากเกินไป หรือการกินมากเกินไปโดยบีบบังคับ
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) 
  • ตรวจพบเชื้อ Helicobacter Pylori (H. Pylori) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

5. ต้องไม่รับยา ดังต่อไปนี้ ยาแอสไพรินมากกว่า 100 มก. ยาแก้อักเสบ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากันชัก ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (ยาแก้อักเสบชนิดหนึ่ง) ยากดภูมิคุ้มกัน (ยาลดความสามารถของร่างกายในการปฏิเสธอวัยวะที่ปลูกถ่าย) หรือสารระคายเคืองในกระเพาะอาหารอื่น ๆ มากกว่า 100 มก. 
6. ไม่มีอาการแพ้ต่อวัสดุในการใส่บอลลูน
7. ไม่ตั้งครรภ์ขณะฝังบอลลูน เนื่องจากการตั้งครรภ์จะทำให้บอลลูนต้องถูกถอดออกก่อนกำหนด ควรใช้การคุมกำเนิดในขณะมีบอลลูนในร่างกาย นอกจากนี้ สตรียังไม่ควรตั้งครรภ์ภายในสามเดือนหลังจากถอดบอลลูนออก เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะขาดสารอาหารในระหว่างช่วงลดน้ำหนัก

การดูแลตนเองหลังการทำบอลลูนลดน้ำหนัก

1. แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน สามารถรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ได้
2. หลังจากใส่บอลลูน ใน 3 วันแรก ควรรับประทานอาหารเหลวแล้วค่อย ๆ ปรับเป็นอาหารอ่อน ในระยะเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถรับประทานอาหารแข็งได้ (ข้อมูลในส่วนโภชนาการขณะใส่บอลลูนลดน้ำหนัก)
3. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด มีไขมันหรืออาหารย่อยยาก เช่น เนื้อแดง เพราะอาจทำให้อาหารไม่ย่อย ควรบริโภคเนื้อปลาและเนื้อไก่ ผักต้ม จะช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
4. สามารถออกกำลังกายได้ แต่ไม่ควรหนักเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดอาการจุกเสียด อาจปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้ในระดับใด
5. สามารถป้องกันอาการกรดไหลย้อนจากการใส่บอลลูนโดยปรับวิธีการกิน เช่น การรับประทานอาหารเพียงชิ้นเล็ก ๆ ไม่เสียดายอาหารหากรับประทานเหลือ รับประทานช้า ๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่รับประทานเร็วเกินไป เป็นต้น

น้ำหนักจะกลับมาอีกหลังจากถอดบอลลูนออกหรือไม่?

การลดน้ำหนักด้วยวิธีใดก็ตาม หากไม่ปรับการรับประทานอาหาร หลังลดน้ำหนักก็อาจทำให้น้ำหนักกลับมาเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิมได้ โดยปกติน้ำหนักที่ลดลงไปจะกลับคืนมา 10-20% (เช่น ประมาณ 2-4 กก. หลังจากน้ำหนักลดลง 20 กก.) และมีผู้รับบริการจำนวนมากสามารถรักษาน้ำหนักที่ลดไว้ได้นานถึง 5 ปี หากพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่ดีกลับคืนมา 
ดังนั้น สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น คือ การดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และกลับมาพบแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามอาการและรับคำแนะนำให้น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นและคงที่ตามที่ต้องการ

การดูแลภาวะโภชนาการขณะใส่บอลลูนลดน้ำหนัก (คลิกอ่านเพิ่มเติม)

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?