‘อาการไอ’ ถือเป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายในการขับสิ่งแปลกปลอมออกจากระบบทางเดินหายใจ เช่น มูก เสมหะ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ การไอจึงเป็นการช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในร่างกายของผู้ป่วย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการกระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นด้วยเช่นกัน
เมื่ออาการไอเป็นหนึ่งในอาการของโรคโควิด- 19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน นอกจากภาวะไข้สูงและอาการร่วมอื่นๆ จึงสร้างความวิตกกังวลให้ผู้ที่มีอาการไอติดต่อกันหลายวัน หรือไอเรื้อรัง เป็นอย่างมาก
ไอ (Cough) เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป สามารถแบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ ดังนี้
โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกรดจากกระเพาะอาหาร เคลื่อนตัวขึ้นไปยังหลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อและนำไปสู่อาการจุกเสียด เรอ คลื่นไส้ และแสบร้อนกลางอก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและย่อยยาก รวมถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลายหย่อน
ทั้งนี้อาการจุกเสียดและแสบร้อนหน้าอกมักเกิดขึ้นมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดแผลและความเสียหายถาวรโดยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร
อย่างไรก็ตาม แม้อาการจุกเสียด แสบร้อนกลางอกและเรอเปรี้ยว จะเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของ โรคกรดไหลย้อน แต่อาการไอเรื้อรังก็เป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยเช่นกัน โดยงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าโรคกรดไหลย้อนมีความเกี่ยวข้องกับอาการไอเรื้อรังอย่างน้อย 25 % รวมถึงผู้ป่วยไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หากตรวจอย่างละเอียดจะพบว่ามีปัจจัยมาจากโรคกรดไหลย้อนมากถึง 40%โดยผู้ป่วยไม่มีอาการของกรดไหลย้อน เช่น เรอเปรี้ยว หรือแน่นหน้าอกก็เป็นได้ (ข้อมูลอ้างอิง)
อาการไอเรื้อรังจากภาวะ กรดไหลย้อน เกิดขึ้นจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง บางกรณีอาจเสี่ยงกับอาการหอบหืด หรืออาจเกิดจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไประคายเคืองเส้นประสาทบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการไอขึ้น นอกจากนี้ หากพบอาการไอหลังรับประทานอาหารมักเกิดจากความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น จนกรดไหลลงไปในหลอดลม ส่วนภาวะไอในขณะนอนหลับ จนสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกมีสาเหตุมาจากกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มมากขึ้นและไปรบกวนระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมหดตัวหรือเกิดการอักเสบ
สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจะช่วยให้อาการดีขึ้น โดยการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด เน้นอาหารมีประโยชน์ ไขมันต่ำ ย่อยง่ายและมีกากไย นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักมากเกินไปด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดชากาแฟ และไม่สูบบุหรี่ รวมถึงการลดความดันในกระเพาะอาหารด้วยการสวมเสื้อผ้าหลวมๆ และที่สำคัญคือไม่นอนราบหลังหรือระหว่างมื้ออาหาร ควรรอประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
อย่างไรก็ตามหากพบอาการไอเรื้อรัง นานกว่า 3–8 สัปดาห์ โดยไม่ได้รับประทานยาที่กระตุ้นให้ไอมากขึ้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ป่วยเป็นภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หรือโรคหอบหืด รวมถึงการเอ็กซเรย์พบว่าปอดปกติ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการไอที่หาสาเหตุไม่พบ การรักษากรดไหลย้อนอาจช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถพบแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหารเพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ก่อนเกิดอาการนอยด์ กังวลอาจคิดว่าติดโรคโควิด-19
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่